รวมข่าวรายวัน เตือนภัย, ข่าวปลอม, ข้อมูลเท็จ, จับโกง : เดือนมิถุนายน

ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 30 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : หลอกว่าสลากออมสินซื้อผ่านเพจหวยออนไลน์ได้แล้ว

จากกรณีที่มีโฆษณาเชิญชวนให้ซื้อสลากออนสิน ผ่านเพจหวยออนไลน์ของมิจฉาชีพ 

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลเท็จ ทางธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ธนาคารออมสินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเพจหรือสื่อออนไลน์ดังกล่าวแอบอ้างนำข้อความ “สลากออมสิน” และตราสัญลักษณ์ของธนาคารออมสินไปใช้สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนหลงเชื่อ จึงแนะนำให้ประชาชนระมัดระวังอย่าหลงกลมิจฉาชีพ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3yxf3ca

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : ผลิตภัณฑ์ ALL EZY Cannabis Seed Oil Refreshing Mouth Spray พ่นคอยับยั้งไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโรคต่าง ๆ

จากกรณีโฆษณาชวนเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ ALL EZY Cannabis Seed Oil Refreshing Mouth Spray พ่นคอยับยั้งไวรัสแบคทีเรีย และเชื้อโรคต่าง ๆ ได้นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (อย.) แจ้งว่าเป็นข้อมูลเท็จ โอ้อวดเกินจริง

อย.ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจดแจ้งว่าใช้ฉีดพ่นภายในช่องปากเพื่อระงับกลิ่นปาก ดังนั้น การกล่าวอ้างว่าใช้พ่นคอ ยับยั้งไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโรคต่าง ๆ จึงไม่เป็นความจริง เป็นการอวดอ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3NptyTp

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : หากเครียดติดต่อกัน 5 วัน เซลล์ในร่างกายจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ทันที

จากที่มีการบอกต่อ ๆ กันว่า หากมีความเครียดติดต่อกัน 5 วัน เซลล์ในร่างกายจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ทันที

ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ความเครียดอาจเกี่ยวข้องกับการขยายขนาดและแพร่กระจายของมะเร็งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันแน่ชัด แต่ความเครียดอาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Actun9

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ช่วยเหลือผู้พิการ แจกเงินคนละ 2,000 บาท

จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ความช่วยเหลือผู้พิการ ด้วยการแจกเงินคนละ 2,000 บาท นั้น

ทางกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) จะจ่ายเงินให้กับคนพิการ เป็นเงินตามมาตรการเยียวยาสำหรับคนพิการในช่วงภาวะโควิด-19 จำนวน 1,000 บาท ซึ่งจ่ายครั้งเดียวเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/39YcqX9

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 29 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : พบยาไม่ได้รับอนุญาต ในผลิตภัณฑ์อาหาร Nafzo Brand Dietary Supplement Product

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจพบยาแผนปัจจุบันไม่ได้รับอนุญาตในผลิตภัณฑ์อาหาร Nafzo Brand Dietary Supplement Product ฉลากไม่แสดงเลขสารอาหาร ขอเตือนประชาชนระมัดระวังในการซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว เข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เตือนภัย : มุกหลอกลวงของแก๊งหลอกให้รักแล้วโอน (โรแมนซ์สแกม)

ตำรวจไซเบอร์ (PCT Police) แนะผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวงด้วยการรู้เท่าทันมุกมิจฉาชีพ ดังนี้

1. หลอกว่าจะส่งทรัพย์สินมาให้ แต่ต้องจ่ายค่าภาษีก่อนเพื่อที่จะได้รับ

2. หลอกว่าตัวเองหรือญาติป่วย แต่ประกันยังเบิกจ่ายไม่ได้ ให้โอนเงินไปให้เพื่อรักษา

3. หลอกว่าได้รับมรดกเป็นเงินมหาศาลแต่ต้องชำระภาษีก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับเงินมรดก

4. หลอกว่าส่งสิ่งของราคาแพงมาให้ แต่ติดอยู่ที่ด่านต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน

5. หลอกว่าเป็นนักธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยและต้องการให้ร่วมทุนด้วย ซึ่งผลตอบแทนดีมาก

👉ใครที่กำลังพบรักบนโลกออนไลน์แล้วเจอลักษณะนี้ อาจจะเป็นกลลวงก็ได้

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 28 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม : เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง เช็กสิทธิรับเงินเยียวยากลุ่มเปราะบางได้

จากกรณีมีกระแสข่าวอ้างว่า เว็บไซต์จากกรมบัญชีกลาง สามารถใช้เช็กสิทธิลงทะเบียนรับเงินเยียวยากลุ่มเปราะบางได้นั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลเท็จ ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การตรวจสอบสิทธิในระบบ e – Social Welfare ของกรมบัญชีกลางเป็นการตรวจสอบสิทธิของผู้มีสิทธิรับเงินสวัสดิการที่จ่ายประจำให้เป็นรายเดือนเท่านั้น จึงไม่สามารถยืนยันหรือตรวจสอบสิทธิการได้รับเงินตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามที่กล่าวอ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3u70PvM

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนฆ่าเชื้อโควิด -19 ได้

จากกรณีที่มีคำแนะนำด้านสุขภาพ อ้างว่าดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นการเล่าแบ่งปันประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 แต่การปฏิบัติดังกล่าวอาจเป็นเพียงการคาดเดาที่เกิดขึ้นกับคนเพียง 1 คนเท่านั้น ซึ่งในทางการแพทย์ การรักษาต่าง ๆ ที่ใช้กันต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มข้นหลายครั้งจนแน่ใจว่าได้ผลจริง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3uxMNUr

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 27 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : ธนาคารออมสิน ปล่อยกู้สินเชื่อผ่านเฟซบุ๊ก

ตามที่มีกระแสข่าวบนโลกออนไลน์แชร์กันอย่างแพร่หลายว่า ธนาคารออมสินใจป้ำ ปล่อยกู้สินเชื่อ 30,000 บาท ผ่อนเดือนละ 1,500 บาท ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Gthtfjfh เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามไปยังธนาคารออมสิน ระบุว่า ธนาคารออมสินไม่มีนโยบายปล่อยกู้สินเชื่อผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแต่อย่างใด

ธนาคารออมสิน ย้ำ โปรดระวังมิจฉาชีพ หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อที่เฟซบุ๊ก ธนาคารออมสิน GSB Society หรือ โทร 1115

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/i792V

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : นมวัวมีสารอันตรายทำให้เป็นมะเร็ง

ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์จำนวนมากแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็น นมวัวมีสารไดออกซิน ทำให้เกิดโรคมะเร็งนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า นมวัวในปัจจุบันไม่พบว่ามีสารไดออกซินปนเปื้อน ที่สำคัญไดออกซินเป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ โดยอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดไดออกซิน เช่น เตาเผาขยะอันตราย/ขยะติดเชื้อ ไม่ได้กำเนิดหรืออยู่ที่นมวัวอยากที่แชร์กัน

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/i792V

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 26 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม : ประโยชน์กะปิ 10 ข้อ

ตามที่มีกระแสข่าวข้อมูลบนโลกออนไลน์มากมายอ้างว่า โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ บอกการกินกะปิมีประโยชน์ 10 ข้อ อย่าง 1. บำรุงกระดูก 2. บำรุงเลือด 3. ช่วยให้ฟันไม่ผุ 4. มีโอเมก้า 3 5. มีจุลินทรีย์ เสริมภูมิต้านทาน 6. บำรุงสายตา 7. มีวิตามินช่วยทำให้ผ่อนคลาย 8. ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี 9. บำรุงสมอง 10. บำรุงหัวใจ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบข้อเท็จจริงกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ปฏิเสธข้อมูลนั้น กล่าวว่า กะปิไม่สามารถให้ข้อมูลสรรพคุณได้ชัดเจน แต่กลับมีโซเดียมและการปนเปื้อนสูง ควรบริโภคแต่พอดี

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/uYtrN

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ผู้บริโภคต้องรู้ ธนบัตรชำรุด สามารถแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรใหม่ได้

ผู้บริโภคหลายคนอาจเคยพบกับปัญหาธนบัตรชำรุด ธนบัตรขาด แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี วันนี้สภาองค์กรของผู้บริโภค จะบอกวิธีการแก้ไขปัญหาธนบัตรชำรุดง่าย ๆ ผ่านการแลกธนบัตรใหม่ในสถานที่ใกล้ตัวท่าน ดังนี้

1. ธนาคารออมสินทั่วประเทศ (ให้บริการในเวลาทำการทุกวัน)

2. ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ (ให้บริการเฉพาะวันพุธ ยกเว้นสาขาย่อยและสาขาในห้างสรรพสินค้า)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 25 มิถุนายน 2565

ร้องเรียนดารุมะ ซูชิ ได้ที่ไหน

คนรักอาหารญี่ปุ่นคนไหนตกเป็นเหยื่อคดี ดารุมะ ซูชิ ใครที่ยังไม่ได้ร้องเรียนสามารถแจ้งความได้ทั้ง 4 ช่องทาง ดังนี้

1.ระบบแจ้งความออนไลน์ https://www.thaipoliceonline.com/

2. สถานีตำรวจทั่วประเทศ

3. กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค ชั้น 12 อาคารกองบัญชาการสอบสวนกลาง แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 โทร 065-965-1135

4. สภาองค์กรของผู้บริโภค : https://crm.tcc.or.th/portal/inform.php  ร้องเรียนออนไลน์ : https://crm.tcc.or.th/?entryPoint=Portal&action=complain อีเมล [email protected] โทรศัพท์ 02 239 1839

ข่าวปลอม ดอกแคบ้าน สามารถแก้ไขโรคเกาต์

ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์ชาวเน็ตแชร์ข้อมูลน่าสนใจประเด็นร้อน ดอกแคบ้านกินแก้ไตรกลีเซอไรด์สูง ไขมันพอกตับ และช่วยแก้โรคเกาต์ พบเป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกระบุว่า ดอกแคบ้านมีสรรพคุณบรรเทาอาการไข้เปลี่ยนฤดู ช่วยระบายท้อง ส่วนสรรพคุณการลดไขมันในเลือด ไขมันพอกตับ และแก้โรคเกาต์ ไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันข้อมูลได้อย่างชัดเจน

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/ehJQW

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 24 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม : เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ คนละ 100 บาท ให้ทุกคนไปรายงานตัวที่เขต

ตามที่มีข้อความแจ้งในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุคนละ 100 บาท ให้ทุกคนไปรายงานตัวที่เขต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีข้อความที่ระบุว่าปรับเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นคนละ 100 บาท โดยให้ผู้มีสิทธิทุกคนไปรายงานตัวที่เขตด่วนนั้น ทางกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเท่าเดิม ตามแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 และในปัจจุบันจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันไดตามช่วงอายุ คือ

– อายุ 60 – 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพเดือนละ 600 บาท

– อายุ 70 – 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพเดือนละ 700 บาท

– อายุ 80 – 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพเดือนละ 800 บาท

– และอายุ 90 ปี ขึ้นไปได้รับเบี้ยยังชีพเดือนละ 1,000 บาท

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3bf6IjT

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ผู้บริโภคควรรู้ 4 ความเสี่ยงที่มักถูกหลอกบนโลกออนไลน์

1. รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต

2. สินค้าราคาถูก

3. นัดเจอกันทางอินเทอร์เน็ต

4. เฟซบุ๊กปลอม

ตำรวจภูธรภาค 1 ย้ำตรวจสอบก่อน อย่าหลงเชื่อทางอินเทอร์เน็ต

ที่มา : ตำรวจภูธรภาค 1

ข้อมูลเท็จ : รับประทานผลสะตอช่วยรักษาโรคซึมเศร้า

ตามที่มีการแชร์ข้อมูลน่าสนใจบนสังคมออนไลน์ในประเด็น รับประทานสะตอสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้เห็นผลชัดเจนนั้น พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามข้อเท็จจริงกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุว่า การกินสะตอไม่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ แต่สรรพคุณที่แท้จริงของสะตอ คือ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ ที่สำคัญสะตอมีฤทธิ์สามารถต้านมาลาเรีย ลดความดันโลหิต

กรมการแพทย์แผนไทยฯ ย้ำ รักษาอาการซึมเศร้า ควรพบแพทย์แผนปัจจุบัน

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/C159G

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 23 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม: กินถั่วลิสงวันละ 1 กำมือ ช่วยรักษาอาการวัยทอง

ตามที่มีการแนะนำในประเด็นเรื่องกินถั่วลิสงวันละ 1 กำมือ ช่วยรักษาอาการวัยทอง อารมณ์แปรปรวน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีข้อความแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพของการรักษาอาการวัยทอง เช่น อาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปวน ซึ่งได้ระบุว่าให้กินถั่วลิสงวันละ 1 กำมือ จะช่วยได้นั้น ทางสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ยังไม่มีงานวิจัยใดรองรับว่าการรับประทานถั่วลิสง วันละ 1 กำมือ ทุกวัน ช่วยบำบัด และรักษาอาการวัยทองได้ สำหรับกลุ่มอาการวัยทอง ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีความหลากหลาย และมีปริมาณที่เหมาะสม กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน และกินอาหารจำพวกพืชที่มีสารไฟโตเอสโตเจน (Phytoestrogen) เพื่อรักษาสมดุลฮอร์โมนเพศ

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน ได้รับเงินเยียวยา 15,000 บาท

ตามที่มีการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้านได้รับเงินเยียวยา 15,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ถึงมาตรการเยียวยารอบใหม่ระบุว่า ใครเป็นเจ้าบ้านรับเงิน 15,000 บาท เริ่มจ่ายวันพรุ่งนี้ รีบดูก่อนเสียสิทธินั้น ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ข้อมูลข้างต้นไม่เป็นความจริง ขณะนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่มีการอนุมัติเงินเยียวยาสำหรับใครที่เป็นเจ้าบ้าน ว่าจะได้รับเงิน 15,000 บาท ตามที่แชร์แต่อย่างใด (ข้อมูลวันที่ 3 ธันวาคม 2564)

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 22 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม : ยาสลบแบบป้าย

ตามที่มีการแชร์ข้อมูลน่าสนใจบนโลกออนไลน์ ให้ระวังยาสลบแบบป้ายจากพวกมิจฉาชีพ เพื่อตกทรัพย์ของผู้บริโภคนั้น พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ยาสลบมีหลายหลากประเภท ทั้งแบบฉีด แบบสูดดม แต่ในปัจจุบันไม่พบยาสลบแบบป้าย ตามที่กล่าวอ้างบนโลกออนไลน์

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

รู้ไว้ก่อนติดคุก แก้ไขใบรับรองแพทย์ผิดกฎหมาย

ผู้บริโภคทุกคนต้องเคยป่วย ไม่สบาย ต้องขอใบรับรองแพทย์ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคควรรู้ คือ โทษของการปลอมแปลง หรือแก้ไขเอกสารใบรับรองแพทย์ เพราะถือเป็นความผิดอาญา ด้านการปลอมแปลงเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่สำคัญต้องรู้ นายจ้างสามารถเลิกจ้างพนักงานที่กระทำผิดในการปลอมแปลง หรือแก้ไขเอกสารใบรับรองแพทย์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะถือเป็นการทุจริตต่อองค์กร

ที่มา : กระทรวงยุติธรรม

ผู้บริโภคต้องรู้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมยามีผลข้างเคียง

ผู้บริโภคหลายคนอาจจะสงสัยกันใช่ไหมว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมยาจะมีผลอันตรายหรือข้างเคียงอย่างไร เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงบอกข้อเท็จจริง ดังนี้

1. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมยากลุ่มฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือกลุ่มยาลดน้ำตาลในเลือด จะส่งผลกระทบข้างเคียง เช่น หน้าแดง ปวดหัว อาเจียน มึนงง

2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมยากลุ่มยาแก้แพ้ จะส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

3. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมยากลุ่มพาราเซตามอล จะส่งผลกระทบต่อตับ

อย. ย้ำ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมยาทุกกลุ่ม

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 21 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : โจรปลอมเป็นเพื่อน หลอกโอนเงิน รับมืออย่างไร

ตำรวจไซเบอร์แจ้งเตือนภัย มิจฉาชีพหลอกเป็นเพื่อน ให้โอนเงิน พร้อมแนะวิธีรับมือ

มิจฉาชีพจะเลือกเหยื่อเป็นคนใกล้ชิดของบัญชีไลน์ที่ถูกแฮกหรือแอบปลอมเป็นคน ๆ นั้น หลังจากนั้นจะปลอมตัวส่งข้อความเพื่อให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนอื่น เพราะว่าบัญชีของตัวเองโอนไม่ได้ มีปัญหา ถ้าเผลอโอน ก็เสร็จโจรแน่นอน

📌 วิธีป้องกันแบบง่าย ๆ เลย คือ โทรเช็กว่าใช่คนรู้จักเราจริงไหม ต้องการยืมเงินเราจริงหรือเปล่า หากเช็กแล้วไม่ใช่ ให้แจ้งว่าบัญชีไลน์โดนแฮก และให้ตรวจสอบช่องทาง Social Media อื่น ๆ ด้วยว่าโดนแฮกด้วยหรือเปล่า แล้วให้รีบแก้ไขกู้คืนมา

👉 แต่ถ้าใครพลาดท่าเสียที โอนเงินไปแล้ว แนะนำให้ไปแจ้งความหลังถูกหลอกโอนเงินไปแล้ว เบื้องต้นให้โทรไปยัง Call Center ของธนาคารปลายทางที่เราโอนเงินไป หลังจากนั้นไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตพื้นที่ที่เกิดเหตุ หรือโทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000 หรือแจ้งความออนไลน์ ได้ที่ https://www.thaipoliceonline.com/

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)

ข่าวปลอม : เล่นมือถือในที่มืด ทำให้เป็นโรคมะเร็งตา

ตามที่มีกระแสแชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์จำนวนมากในเรื่องที่เกี่ยวกับการเล่นมือถือในที่มืด จะทำให้เกิดโรคมะเร็งตา และทำให้ตาปลอมถาวรนั้น พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามข้อเท็จจริงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การเล่นโทรศัพท์ส่วนตัว หรือมือถือในที่มืด หรือมีแสงน้อย ไม่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งตา หรือตาปลอมถาวรได้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันแน่ชัด

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/WwSpa

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ยาบิซาโคดิล ยาถ่าย กับการใช้ยาในทางที่ผิด

ยาบิซาโคดิล (Bisacodyl) เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก โดยยาจะไปออกฤทธิ์กระตุ้นผนังลำไส้ให้บีบตัวเป็นจังหวะ ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัว แล้วเกิดการขับถ่าย

ปัจจุบัน มีการนำยาระบายไปลักลอบใส่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วอ้างว่าช่วยลดความอ้วนได้ ซึ่งความจริงแล้วการกินยาระบาย ไม่ได้มีส่วนช่วยให้ลดความอ้วน แถมการกินยาระบายจะยิ่งทำให้สมดุลเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล เช่น แคลเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม ซึ่งการไม่สมดุลของเกลือแร่เหล่านี้อาจทำให้ระบบการทำงานในร่างกายผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ อ่อนเพลีย สับสน และชักกระตุกได้ ถ้ายิ่งถ่ายมาก ร่างกายอาจเสี่ยงเกิดการขาดน้ำ และช็อคได้อีกด้วย

ที่จริงแล้ว ยาระบายทุก ๆ ตัว ไม่ใช่แค่เฉพาะตัวบิซาโคดิล ควรใช้แค่เป็นครั้งคราวที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น ไม่ควรใช้ต่อเนื่องระยะยาว เพราะจะทำให้ดื้อยาได้ โดยการดื้อยานั้น จะส่งผลเสียให้ลำไส้เคยชินกับการที่ต้องมียาระบายมากระตุ้น ถึงจะขับถ่าย เมื่อหยุดยาระบาย อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

คราวนี้ ถ้าเห็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตัวใดอ้างว่าลดน้ำหนัก กินแล้วถ่ายมากผิดปกติ ไม่สบายท้อง ปวดเกร็งท้อง ให้สงสัยว่ามีการใส่ยาถ่ายลงไปในผลิตภัณฑ์ ควรหยุดใช้ และร้องเรียนทางสายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: [email protected] หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียน ผ่าน Oryor Smart Application หรือ Line @Fdathai หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)


 

ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 20 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม : ใช้นิ้วนวดบริเวณรอบดวงตา ช่วยทำให้สายตาดีขึ้น


ตามที่มีการส่งต่อคำแนะนำในประเด็นเรื่องใช้นิ้วนวดบริเวณรอบดวงตา ช่วยทำให้สายตาดีขึ้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการส่งต่อคำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพว่า วิธีการทำให้สายตาดีขึ้น ด้วยการใช้นิ้วกดจุด และนวดบริเวณคิ้ว รอบดวงตา สันจมูก ขมับ ใบหู ติ่งหูนั้น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า 6 วิธีการที่แชร์ ยังไม่มีรายงานทางวิชาการที่สามารถวัดผลได้จริง หรือช่วยให้การรักษาดีขึ้น และหากนวดบริเวณรอบดวงตาไม่ถูกวิธี อาจมีผลทำให้เส้นเลือดฝอยใต้เยื่อบุตาแตกได้ หรืออาจมีผลร้ายแรงถึงขั้นตาบอด จากที่เส้นเลือดที่จอประสาทตาอุดตันหรือแตกได้

โดยภาวะสายตายาวเป็นความบกพร่องของสายตา ที่ไม่สามารถเพ่งหรือมองวัตถุได้ชัดเจนในระยะใกล้ ๆ ซึ่งตามปกติแล้วสายตายาวเกิดขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และการรักษา คือ การสวมแว่นตาตามที่แพทย์สั่ง โดยการตรวจวัดค่าสายตาจากแพทย์

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่ www.dms.go.th หรือโทร. 02 590 6000

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวปลอม : กระเทียมโทน สรรพคุณวิเศษสามารถรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร

ตามที่มีการแชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์กันว่า กระเทียนโทน มีสรรพคุณวิเศษสามารถรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้นั้น พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคมะเร็ง ระบุว่า กระเทียมโทนไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งกระเพาะได้ตามที่มีการแชร์กันบนโลกออนไลน์ แต่ที่แท้จริงแล้วกระเทียมโทน มีสรรพคุณ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/WwSpa

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม: ผลิตภัณฑ์ดีท็อกซ์เท้า ใช้ได้จริงหรือ ?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แจ้งการตรวจพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สำหรับดีท็อกซ์เท้า ที่อ้างว่า ช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิต กระตุ้นการทำงานของอวัยวะภายใน ระบบภูมิต้านทาน และช่วยให้หลับสนิทมากขึ้นช่วงเวลากลางคืน ด้วยวิธีการปิดที่บริเวณฝ่าเท้าก่อนนอนนั้น 

ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มีการขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตโฆษณาจากทาง อย. ตามที่อวดอ้าง และอย.เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ส่งตรวจวิเคราะห์ว่ามีการใส่สารต้องห้ามที่เป็นอันตรายในผลิตภัณฑ์หรือไม่ พร้อมกับดำเนินการระงับการโฆษณา และดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตามกฎหมายต่อไป

จึงเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อมาใช้ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

ที่มา :   ข่าวประชาสัมพันธ์ กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 19 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : รัฐบาลสนับสนุนเงินช่วยเหลือปลูกกระท่อม

หลักงานมีการเปิด กัญชาเสรี ไม่นานมานี้ มิจฉาชีพมีกลโกงในการหลอกเกษตรกรแบบใหม่ว่า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเงินจำนวน 3,500 – 5,000 บาท/ไร่ สำหรับเกษตรกรที่สนใจปลูกใบกระท่อม และเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ สภาองค์กรของผู้บริโภค มีวิธีสังเกตกลโกงมิจฉาชีพในการขอเอกสารสำคัญ ดังนี้

1. มิจฉาชีพจะขอสำเนาบัตรประชาชน

2. มิจฉาชีพจะขอสำเนาทะเบียนบ้าน

3. มิจฉาชีพจะขอสำเนาทะเบียนเกษตรกร

4. มิจฉาชีพจะขอสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร ธกส.

5. มิจฉาชีพจะขอเอกสารที่ดิน

6. มิจฉาชีพจะขอหนังสือยินยอม หรือสำนาการเช่าที่ดิน

7. มิจฉาชีพจะขอรูปถ่ายแปลงที่ดิน

ทั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้มีนโยบายในการสนับสนุนการปลูกกระท่อม

หากผู้บริโภคพบเห็นการกระทำผิดในรูปแบบดังกล่าวสามารถแจ้งเบาะแส เตือนภัยผู้บริโภค ได้ที่ สภาองค์กรของผู้บริโภค : https://crm.tcc.or.th/portal/inform.php 

ร้องเรียนออนไลน์ : https://crm.tcc.or.th/?entryPoint=Portal&action=complain   

อีเมล [email protected]   

โทรศัพท์ 02 239 1839

เฟซบุ๊กอินบ็อกซ์ สภาองค์กรของผู้บริโภค ไลน์ออฟฟิศเชียล (Line Official) @tccthailand ลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U

ข่าวปลอม : ใบข่อยดำ รักษามะเร็งได้

ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์ว่า ใบข่อยดำ มีสรรพคุณวิเศษสามารถรักษามะเร็งหายขาดได้นั้น พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคมะเร็ง ระบุว่า จากการที่มีการแชร์สรรพคุณของใบข่อยดำ สามารถรักษาโรคมะเร็งนั้นไม่เป็นความจริง

สถาบันโรคมะเร็ง ย้ำ ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3tJH7WZ

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : น้ำมันเถื่อน ราคาถูก แต่ไม่มีคุณภาพ

ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับปัญหาวิกฤตการณ์น้ำมันแพง ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทุกคน แต่ในช่วงน้ำมันแพงได้เกิดมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ในการหลอกขายน้ำมันเถื่อน ราคาถูกกว่าราคาตลาด แต่ไม่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจน้ำมันเถื่อนได้ดีขึ้น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงบอกเล่าเกี่ยวกับน้ำมันเถื่อน ดังนี้

1. น้ำมันเถื่อน มักบรรจุในรูปแบบขวดจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าตลาด

2. น้ำมันเถื่อน หากนำมาใช้อาจส่งผลเสียกับระบบเครื่องยนต์ เนื่องจากน้ำมันปลอม มีการปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอม เช่น ก้อนหินขนาดเล็ก ทราย

เพื่อความปลอดภัย ผู้บริโภคควรเลือกใช้น้ำมันที่ได้มาตรฐานสากล

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 18 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม: ฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่เกิน 1 เดือน ห้ามฉีดยาชา

ตามที่ได้มีการแนะนำข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่เกิน 1 เดือน ห้ามฉีดยาชา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงกรณีการเผยแพร่ข้อมูลถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาชาในการรักษาทางทันตกรรม หลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ว่าจะทำให้เสียชีวิตได้นั้น ข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อประชาชน โดยการรักษาทางทันตกรรมที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาชาร่วมด้วยสามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังการรับวัคซีนโควิด-19

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ ณ สถาบันทันตกรรมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ยาชาที่ใช้ในการรักษาทางทันตกรรม ประกอบด้วย ตัวยาชา ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ส่วนของสารป้องกันการเสื่อมสลายของยาทั้ง 2 ชนิด และส่วนของตัวทำละลาย โดยยาชาที่ใช้ทางทันตกรรมมี 2 รูปแบบ คือ ยาชาชนิดฉีด และชนิดเจล ใช้เพื่อระงับความรู้สึกในบริเวณที่ต้องการทำการรักษา และบรรเทาอาการปวดภายหลังการรักษา ซึ่งไม่มีผลต่อภูมิคุ้มกัน ทั้งก่อนและหลังการรับวัคซีนโควิด-19 ในปริมาณยาชาที่เหมาะสมและถูกต้อง

ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมสามารถฉีดยาชา เพื่อทำหัตถการทางทันตกรรมได้อย่างปลอดภัย แต่ทั้งนี้ในหัตถการที่ไม่เร่งด่วน ควรเข้ารับการรักษาก่อนรับวัคซีนหรือภายหลังรับวัคซีนโควิด 2-3 วัน แต่ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยแยกโรค

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3tJH7WZ

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : หากรับประทานโยเกิร์ต น้ำผึ้ง และมะนาวต่อเนื่องทุกวัน จะช่วยทำให้นิ่วในถุงน้ำดีหลุดออกมาเองได้

กรณีที่มีการโพสต์โดยระบุว่า หากรับประทานโยเกิร์ต น้ำผึ้ง และมะนาวต่อเนื่องทุกวัน จะช่วยทำให้นิ่วในถุงน้ำดีหลุดออกมาเองได้นั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าเป็นข่าวปลอม โดยทางโรงพยาบาลชี้แจงว่า โยเกิร์ตเป็นอาหารประเภทไขมันต่ำ มีไฟเบอร์สูง มีผลลดการเกิดนิ่ว ถือเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในภาพรวม แต่ไม่มีผลต่อการหลุดของนิ่วแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3xXtd5T

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 17 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม : รักษาโรคมะเร็ง ด้วยการกินหัวใต้ดินของว่านสบู่เลือดดองเหล้า

จากที่มีการแนะนำในสื่อออนไลน์ให้นำหัวใต้ดินของว่านสบู่เลือดมาดองเหล้าแล้วรับประทานจะช่วยรักษาโรคมะเร็ง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามไปยังสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และพบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยสถาบันมะเร็งชี้แจงว่า ยังไม่มีข้อสรุปงานวิจัยทางคลินิกที่ชัดเจนว่า การกินว่านสบู่เลือดมีฤทธิ์ต้านมะเร็งในมนุษย์ ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงการศึกษาระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น แม้ว่านสบู่เลือดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางการแพทย์สามารถนำหัว ก้าน ต้น ใบ ดอก และเถามาใช้เป็นส่วนประกอบในตำหรับยาไทยหลายชนิด แต่การเลือกใช้สมุนไพรควรศึกษารายละเอียดของสรรพคุณฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3zMTXaK

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวบิดเบือน: แท็กซี่ที่จดทะเบียนใน กทม. วิ่งนอกเขต 7 จังหวัด ไม่ต้องกดมิเตอร์ ให้คิดราคาเหมา ตามที่ตกลงกับผู้โดยสาร

จากกรณีที่มีข่าวว่า แท็กซี่ที่จดทะเบียนใน กทม. วิ่งนอกเขต กทม. คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร และนครปฐม ไม่ต้องกดมิเตอร์ ให้คิดราคาเหมาตามที่ตกลงกับผู้โดยสารนั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งชี้แจงว่ารถแท็กซี่จดทะเบียนในเขตกทม. ที่ให้บริการรับส่งผู้โดยสารนอกเขต กทม. ผู้โดยสารและคนขับสามารถตกลงกันว่าจะใช้ราคาค่าโดยสารแบบเหมา หรือกดมิเตอร์ก็ได้ แต่รถแท็กซี่ที่ทำการรับจ้างระหว่าง กทม. และปริมณฑล ให้คิดค่าโดยสารด้วยวิธีการกดมิเตอร์เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3QngLUp

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 16 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : อย่าซื้อสลากดิจิทัลจากผู้อื่น

แม้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้เสนอขาย สลากดิจิตัล ที่สามารถซื้อได้ในระบบออนไลน์ในราคา 80 บาท ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาสลากแพงนั้น ขณะนี้มีการเสนอขายสลากดังกล่าวออนไลน์ผ่านผู้ซื้อมือแรก เพื่อเก็งกำไร

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแจ้งเตือนว่า ให้หลีกเลี่ยงการซื้อต่ออย่างเด็ดขาด เพราะในระบบการจำหน่ายสลากดิจิทัล ผ่านแอปฯ เป๋าตัง จะบันทึกชื่อผู้ซื้อไว้อย่างชัดเจน และให้สิทธิการเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของบัญชีแอปฯ เป๋าตังเท่านั้น ดังนั้น เมื่อถูกรางวัล เงินรางวัลจะโอนเข้าบัญชีผู้ซื้อ ไม่สามารถโอนสิทธิ์เปลี่ยนมือการขึ้นรางวัลไปให้บุคคลอื่นได้ หรือกรณีหากจะมารับสลากฯ ที่สำนักงานฯ ก็จะต้องใช้ชื่อผู้ซื้อยืนยันตัวตนในการมารับสลากเช่นกัน

ที่มา : สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ผู้บริโภค ต้องรู้ทันแอปฯ เงินกู้เถื่อน

ท่ามการเศรษฐกิจซบเซาจากปัญหาเงินเฟ้อ น้ำมันแพง ไฟฟ้าแพง ข้าวของเครื่องใช้แพงไปหมด ทำให้ผู้บริโภคหลายคนหมุนเงินไม่ทัน จึงต้องหาทางเลือกคือ การกู้เงิน ที่สะดวกสบายผ่านแอปพลิเคชันเงินกู้

เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแอปพลิเคชันขอกู้เงินเถื่อน กองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีวิธีง่าย ๆ ในการสังเกต แอปฯ กู้เงินเถื่อน ดังนี้

1. สร้างแอปพลิเคชันกู้เงินให้ดูน่าเชื่อถือ

2. มีค่าค้ำประกัน หรือมัดจำในการยื่นขอกู้

3. ดอกเบี้ยสูงชำระไม่เกิน 2 – 3 สัปดาห์ที่ขอกู้

4. มีการใช้ถ้อยคำที่ไม่ดี หากไม่ทำตามเงื่อนไข

5. ให้วงเงินในการขอกู้สูงกว่าที่ขอ เช่น ขอกู้ 10,000 บาท แอปฯอนุมัติ 20,000 บาท

6. หักค่าบริการค่าธรรมเนียมจากเงินที่ขอกู้สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์

7. ส่งข้อความไปข่มขู่หากผิดนัดชำระเงิน


ที่มา : กองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เตือนภัย : “กัญชา” อันตรายกว่าที่คิด

เมื่อไม่นาน ประเทศไทยประกาศให้ กัญชา สามารถซื้อ-ขาย-ปลูกได้อย่างเสรี แน่นอนสิ่งที่ผู้บริโภคควรรู้คือโทษของกัญชาที่อาจทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในอันตราย

สภาองค์กรของผู้บริโภค ขอเป็นตัวกลางบอกข้อเสียของกัญชา ให้ผู้บริโภคทราบ 5 ข้อ ดังนี้

1. ทำลายสมรรถภาพทางกาย

2. ทำลายสมอง

3. ทำร้ายทารกในครรภ์

4. ทำให้เกิดมะเร็งปอด

5. ทำร้ายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ดังนั้น ผู้บริโภคต้องตระหนักถึงประโยชน์และโทษของกัญชา ก่อนจะบริโภค อุปโภค เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคเอง

สำเนาถูกต้องบัตรประชาชนอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

ผู้บริโภค อาจกังวลกับการใช้สำเนาบัตรประชาชนว่าจะโดนไปใช้ในทางไม่ดีหรือเปล่า ? เพราะกู้เงินก็ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน ออกรถก็ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน สมัครงานก็ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีวิธีแนะนำการลงนามสำเนาบัตรประชาชนปลอดภัย ดังนี้

1. เขียนรายละเอียดกำกับไว้เสมอบนสำเนาบัตรประชาชน เช่น เพื่อทำเปิดกู้สินเชื่อ เอ กับธนาคารเอ

2. ควรระบุ วัน/เดือน/ปี ที่ใช้เอกสารอย่างชัดเจน

3. ขีดเส้นขนาดคร่อมบนตัวสำเนา

4. ใช้ปากกาสีดำเขียนข้อความ

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 15 มิถุนายน 2565

How to รับมือสายคอลเซ็นเตอร์ ด้วยตัวเอง

ทำอย่างไรเมื่อได้รับข้อความเอสเอ็มเอส หรือข้อความจากแอปฯ เงินกู้เถื่อนแอบอ้างชื่อธนาคาร หรือหน่วยงานราชการ หลอกลวงขอข้อมูล หลอกโอนเงิน หรือข่มขู่เหตุฟ้องร้อง สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอวิธีการรับมือ ดังนี้

1. หากได้ข้อความ หรือเอกสารอ้างอิงหน่วยงานราชการ หรือธนาคารให้สงสัยไว้ก่อนว่า อาจจะเป็นมิจฉาชีพ เพราะหน่วยราชการ ธนาคารจะไม่ติดต่อขอข้อมูล หรือให้โอนเงิน หรือข่มขู่ว่ามีการกระทำที่ผิดกฏหมายทางโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบข้อความเอสเอ็มเอส หรือสายเรียกเข้าจากคอลเซ็นเตอร์

2. ตั้งสติ อย่าตกใจกับคำข่มขู่แอบอ้าง “อย่า” ทำคำขอของมิจฉาชีพที่ให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินจากบัญชีออนไลน์ หรือทางตู้เอทีเอ็ม  

3. อย่าหลงกลให้ข้อมูลส่วนตัว เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร ยอดเงินในธนาคาร ชื่อที่ใช้บริการ (Username) หรือ รหัสส่วนตัว (password) โดยเฉพาะอย่างยิ่งรหัส โอทีพี (OTP) ซึ่งเป็นรหัสรักษาความปลอดภัยที่ห้ามให้ผู้อื่นรู้โดยเด็ดขาด

4. วางสาย ยุติการสนทนา

5. ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับหน่วยงาน หรือสถาบันการเงินที่ถูกอ้างถึงหรือใช้บริการ โดยติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า (Call Center) จากเลขหมายทางการที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ของสถาบันหรือหน่วยงานนั้น ๆ

สิ่งที่ควรทำเมื่อตกเป็นเหยื่อ

1. รวบรวมหลักฐานและข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง

2. ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของสถาบันการเงินเพื่อระงับการโอนและการถอนเงิน หรือติดต่อศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.)  สายด่วน 1441 เพื่อระงับการโอนเงินเข้าบัญชีอาชญากร โดยควรดำเนินการภายใน 3 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ อาจมีโอกาสได้เงินคืน

3. หากไม่สามารถระงับการโอนเงินได้ ให้รวบรวมหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมทั้งลงบันทึกประจำวัน ณ ท้องที่เกิดเหตุ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนไป

4. แจ้งระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนไปกับสถาบันการเงินที่ใช้บริการ โดยสถาบันการเงินจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน จึงจะสามารถคืนเงินได้

5. แจ้งเบาะแสไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ที่ ศปอส. 1441

แจ้งเบาะแส เตือนภัยผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค : https://crm.tcc.or.th/portal/inform.php 

ร้องเรียนออนไลน์ : https://crm.tcc.or.th/?entryPoint=Portal&action=complain   

อีเมล : [email protected]   

โทรศัพท์ : 02 239 1839

เฟซบุ๊กอินบ็อกซ์ สภาองค์กรของผู้บริโภค ไลน์ออฟฟิศเชียล (Line Official) @tccthailand ลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U

กลลวงหลอกพาทัวร์ต่างประเทศทิพย์

หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ช่วงที่ผ่านมาเริ่มอ่อนตัวลง หลายประเทศเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเพื่อเข้าฟื้นฟูเศรษฐกิจท่องเที่ยว แน่นอนเพื่อให้ผู้บริโภคไม่โดนบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศปลอมหลอกลวงให้เสียเงินไปฟรี ๆ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีวิธีสังเกต 4 วิธี ดังนี้

1. ตรวจสอบเลขที่ใบอนุญาตประเภทนำเที่ยวจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

2. ตรวจสอบรายการนำเที่ยวต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน

3. เลขบัญชีโอนเงินควรตรงกับบัญชีของบริษัทนำเที่ยว

4. สอบถามบริษัทที่เคยถูกร้องเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

เตือนภัย: หลอกว่าลงทุนกับองค์กร มีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รับรอง

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลบนเพจเฟซบุ๊ก ชวนลงทุนให้ผลตอบแทนสูง และให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้สนใจหรือโพสต์คอมเมนต์ว่าได้รับการควบคุม รับรอง โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสำนักงาน ก.ล.ต. พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์โดยระบุข้อความเชิญชวนลงทุนหลักพัน ได้กำไรหลักพัน หรือรับปันผลหลักหมื่นต่อเดือน และโพสต์คอมเมนต์ว่าได้รับใบรับรองจาก สำนักงาน ก.ล.ต. หรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อยู่ภายใต้ความควบคุมของสำนักงาน ก.ล.ต. ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวมีการแอบอ้างที่อาจทำให้ผู้พบเห็นหรือได้รับข้อความดังกล่าวหลงเชื่อว่าสำนักงาน ก.ล.ต. ให้การรับรอง/ควบคุมและอาจเกิดความเสียหายได้

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ควรตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน

วิธีการสังเกตรูปแบบการชักชวนลงทุนที่เข้าข่ายหลอกลวงอาจมีลักษณะ ดังนี้

– เสนออัตราผลตอบแทนการลงทุนที่จูงใจและสูงเกินจริง หรือที่มาของผลตอบแทนไม่ชัดเจน

– ให้ผลตอบแทนจากการชักชวนคนอื่นมาลงทุน

– รับประกันผลตอบแทนการลงทุน อ้างว่าไม่มีความเสี่ยง

– แอบอ้างชื่อ ภาพ โลโก้หน่วยงาน บริษัท หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือในการโฆษณาชวนเชื่อ

– ชักชวนให้ลงทุนในหลักทรัพย์และสินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงให้ตรวจสอบได้

– ให้ฝากหรือโอนเงินลงทุนเข้าบัญชีส่วนตัวของบุคคลธรรมดา ไม่มีการรายงานหรือแจ้งยืนยันการลงทุน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3QmJV5O

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเท็จ : ธนาคารกรุงไทย เปิดให้กู้สินเชื่ออเนกประสงค์ วงเงิน 100,000 บาท ผ่อนต่ำแค่ 1,190 บาท นาน 7 ปี

ขณะนี้มีการแชร์ข้อมูล ว่าธนาคารกรุงไทยเปิดให้กู้สินเชื่ออเนกประสงค์ 100,000 บาท ผ่อนต่ำแค่เดือนละ 1,190 บาท นาน 84 เดือน หรือ 7 ปี นั้น ขอแจ้งว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับทางธนาคารกรุงไทย พบว่าเป็นข่าวที่มิจฉาชีพแอบอ้างชื่อธนาคาร และใช้โลโก้ ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลบนโลกออนไลน์ พร้อมเปิดให้เหยื่อสมัครในไลน์ เข้ามา

ธนาคารกรุงไทย ย้ำว่า ไม่มีการให้กู้สินเชื่อผ่านไลน์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/bsHdh

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 14 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม : ขึ้นเงินสลากดิจิทัลต้องควบคู่กับสลากจริง

จากที่ชาวเน็ตแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นร้อนเรื่อง การขึ้นเงินรางวัลสลากดิจิทัล ต้องยืนคู่กับสลากจริงเท่านั้น พบว่า เป็น ข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามข้อเท็จจริงกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ระบุว่าข้อมูลที่แชร์บนโลกออนไลน์เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงอย่างที่แชร์กัน เพราะสลากดิจิทัลเป็นช่องทางการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบใหม่ สำนักงานฯ จัดเก็บสลากจริงไว้ กรณีผู้บริโภคถูกรางวัลจะมีการแจ้งเตือนไปที่แอปพลิเคชันเป๋าตัง แล้วสามารถขึ้นรางวัลได้ภายในแอปพลิเคชันเป๋าตัง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/F1MjK

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย :  มิจฉาชีพอ้างเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งเอกสารแจ้งผู้กู้ให้โอนเงินมัดจำเพื่อพิสูจน์การหมุนเวียนทรัพย์สิน

จากกระแสข่าวเกี่ยวกับประเด็นร้อนเรื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดส่งเอกสารแจ้งผู้ขอกู้เงินว่า บัญชีถูกระงับ และให้ดำเนินการโอนเงินมัดจำเพื่อพิสูจน์ว่ามีการหมุนเวียนเงินและทรัพย์สินนั้น พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าข่าวในกระแสโลกออนไลน์ในประเด็นดังกล่าวเป็นกลโกงของแก๊งมิจฉาชีพ ในการใช้โลโก้ของธนาคารแห่งประเทศไทยสร้างความเข้าใจผิดให้ประชาชนหลงเชื่อ

ธนาคารแห่งประเทศไทย ย้ำ หากประชาชนต้องการรับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.bot.or.th หรือโทร. 02-283-5353

อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ : https://shorturl.asia/oIh5T

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ผู้บริโภคควรรู้ การจัดเก็บนมกล่องอย่างถูกต้อง

นมกล่อง เป็นสินค้าบริโภคของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะบริโภคเป็นอาหารว่าง อาหารมื้อหลักในช่วงเวลาที่เร่งรีบ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงมีวิธีการจัดเก็บนมกล่องง่าย ๆ ดังนี้

1. ไม่ควรแช่นมกล่องในกระติกน้ำแข็ง หรือแช่น้ำเย็น

2. ไม่ควรใช้มีดหรือของมีคมกรีดกล่องบรรจุภัณฑ์นมกล่อง

3. วางนมกล่องห่างจากแสงแดด ความชื้น

4. ห้ามยืนหรือวางของหนักบนบรรจุภัณฑ์นมกล่อง

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ข่าวปลอม : Lutiana VIS สรรพคุณวิเศษฟื้นฟูการมองเห็น

ชาวเน็ตแชร์ Lutiana VIS ผลิตภัณฑ์สรรพคุณวิเศษสามารถรักษาและฟื้นฟูการมองเห็นได้เพียงแค่รับประทาน นั้นพ เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า Lutiana VIS อาหารเสริม ตราลูเทียน่า วิส เลข อย. 70-1-27160-5-0144 ไม่ได้ยื่นสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ฟื้นฟูการมองเห็น ตามที่กล่าวอ้างบนโลกออนไลน์

อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ : https://shorturl.asia/ZLPrR

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 13 มิถุนายน 2565

ผู้บริโภคควรรู้ เบอร์ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย + อาจเป็นแก๊งมิจฉาชีพจากต่างประเทศ

จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติประชาสัมพันธ์เรื่อง วิธีการสังเกตเบอร์ที่อาจเป็นมิจฉาชีพจากต่างประเทศได้ง่าย ๆ เพียงดูจากเบอร์ที่ขึ้นต้นได้ +679 บนโลกออนไลน์ พบว่าเป็น เรื่องจริง

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือสำนักงาน กสทช. ได้ระบุว่า เบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย + เป็นหมายเลขที่โทรเข้ามาจากต่างประเทศ ให้โปรดรับโทรศัพท์ด้วยความระมัดระวังมิจฉาชีพ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3Q8Q3yu

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : สมุนไพรมณีนพคุณและอัคคีเดชารักษามะเร็ง

ชาวเน็ตแชร์ทั่วโลกออนไลน์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรยี่ห้อนพคุณและอัคคีเดชา สรรพคุณสามารถรักษามะเร็ง พบว่าเป็น ข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หลังจากที่มีโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรนพคุณและอัคคีเดชา สรรพคุณมหัศจรรย์รักษามะเร็ง อย. ออกมายืนยันว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรนพคุณและอัคคีเดชา ไม่ได้มีสรรพคุณรักษามะเร็งดังที่แอบอ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/e09DY

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : ห้ามทะเบียนปลูกกัญชาผ่านไลน์

ตามที่มีการแชร์ข้อมูลเรื่อง เชิญชวนให้ประชาชนห้ามกรอกข้อมูลลงทะเบียนปลูกกัญชา กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามข้อเท็จจริงกับ อย. ระบุว่า ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อการเชิญชวนห้ามลงทะเบียนปลูกกัญชากับ อย. เนื่องจากพบว่าคนที่ออกมาเชิญชวนดังกล่าวเป็นแก๊งมิจฉาชีพ คอลเซ็นเตอร์แอบอ้างว่าเป็นเว็บไซต์ปลอม และให้ลงทะเบียนข้อมูลที่เว็บไซต์ที่มิจฉาชีพเตรียมไว้

อย. ย้ำ การลงทะเบียนปลูกกัญชาที่ถูกต้องมีช่องทางเว็บไซต์เดียว คือ https://plookganja.fda.moph.go.th/ หรือสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” เท่านั้น

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : มิจฉาชีพตกทอง

ท่ามกลางกระแสทองคำขึ้นราคาเกือบทุกวัน ผู้บริโภคหลายคนมักอยากลงทุนด้วยการซื้อทองมาเก็บไว้ทำกำไร ทางศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย มีวิธีแนะนำการสังเกตกลุ่มตกทอง ดังนี้

1. ชวนคุยโน้มน้าวให้เหยื่อหลงเชื่อ

2. อ้างว่าไม่มีการนำทองไปขาย

3. ขอสลับทองกับเหยื่อหรือเสนอขายทองให้ถูกราคาตลาด

4. เร่งรีบให้เหยื่อตัดสินใจด้วยเร็ว

5. เหยื่อนำทองไปขาย จึงพบว่าเป็นทองปลอม

ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 12 มิถุนายน 2565

กัญชา ที่ผู้บริโภคควรรู้ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจดแจ้งการปลูก กัญชา กัญชง กันมากมายในโลกออนไลน์ เช่น อย่าไปลงข้อมูล จะหมดตัวเพราะถูกหลอก บ้างก็อ้างว่าเป็นเว็บปลอม แอปฯ ปลอม

อย. ขอยืนยันว่า เว็บที่ถูกต้องสำหรับการจดแจ้งการปลูกกัญชา กัญชง คือ https://plookganja.fda.moph.go.th/ โดยมีหน้าตาของเว็บตามรูปที่แสดงด้านล่าง

ส่วนแอปพลิเคชัน มีให้เลือก download ได้ทั้งระบบ iOS และ แอนดรอยด์ ใช้ชื่อ ปลูกกัญ โดยสังเกตชื่อผู้พัฒนาแอปดังกล่าว จะใช้ชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ผู้บริโภคควรรู้ รับประทานหมูดิบ เสี่ยงเป็นไข้หูดับ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้บริโภคอย่ารับประทานหมูดิบ หากรับประทานหมูควรรับประทานปรุงสุก หากบริโภคหมูดิบ เสี่ยงติดเชื้อไข้หูดับ ทำให้หูหนวกและเสียชีวิตได้ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้หูดับ กรมควบคุมโรค ขอเสนอวิธีการป้องกันโรคไข้หูดับ ดังนี้

1. ผู้บริโภคไม่ควรรับประทานเนื้อหมูแบบสด หรือแบบสุก ๆ ดิบ ๆ

2. ผู้บริโภคควรเลือกบริโภคเนื้อหมูที่ได้มาตรฐานและสะอาด ไม่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ และช้ำ

3. ผู้บริโภคควรปรุงเนื้อสุกด้วยอุณหภูมิไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียล นาน 10 นาที

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ผู้บริโภคควรรู้ ช่องทางชำระค่าปรับ ใบสั่งจราจร

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวิธีแนะนำดี ๆ ให้ผู้บริโภคทราบถึงช่องทางชำระค่าปรับ ใบสั่งจราจร แบบไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 3 วิธี ดังนี้

1. ผู้บริโภคสามารถชำระค่าปรับ ใบสั่งผ่านช่องทางธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกธนาคาร และตู้บุญเติม

2. ผู้บริโภคสามารถชำระค่าปรับ ใบสั่งผ่านจุดบริการใกล้ตัวท่าน เช่น ไปรษณีย์ไทยทุกสาขา เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีโลโก้ “PTM”

3. ผู้บริโภคสามารถชำระค่าปรับ ใบสั่งได้ที่สถานีตำรวจทุกสถานีใกล้บ้าน

ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ผู้สูงอายุควรรู้ก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานว่า ผู้สูงอายุในประเทศไทยมักตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ เนื่องจากเป็นวัยที่มักไม่เข้าใจเทคโนโลยีเท่าที่ควร จึงตกเป็นเหยื่อของกลโจร เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตในโลกที่มีเทคโนโลยีไม่หยุดนิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน จึงมีข้อเสนอสั้น ๆ ง่าย ๆ ด้านการทำธุรกรรมทางการเงิน 3 ข้อ ต่อไปนี้

1. ไม่ควรให้ทำธุรกรรมทางการเงินแทน

2. เช็กให้ชัวร์ ไม่ใช่ตัวปลอม ส่งข้อความอ้างเป็นลูกหลาน ญาติมิตร

3. อย่าโอนเงินให้ใครง่าย ๆ ต้องใช้สติ ถามให้แน่ชัด

ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 11 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : หากสแกน QR Code จากใบนัดนำจ่ายสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ สามารถถูกดูดเงินในบัญชีได้

จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทางบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เอกสารดังกล่าวเป็นของทางไปรษณีย์ ที่จัดทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในพื้นที่ที่ไม่อยู่บ้าน โดยสามารถสแกน QR Code เพื่อนัดหมายวันให้ไปส่งใหม่ได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3NIMai4

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : ข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช กว่า 39 ล้านคน รั่วไหล

จากกรณีที่สังคมออนไลน์แชร์ข้อมูลประเด็นร้อน เรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช กว่า 39 ล้านคน รั่วไหลถูกนำไปประกาศขายบนอินเทอร์เน็ตนั้น พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ข้อความที่แชร์กันบนโลกออนไลน์ในประเด็นดังกล่าวนั้น ไม่ใช่ความจริง และไม่มีการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย 39 ล้านคนอย่างที่มีการกล่าวอ้าง ทางคณะแพทย์ฯ ให้ความสำคัญต่อการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลอย่างสูงสุดตามมาตรฐานสากล และไม่มีนโยบายติดต่อผู้ป่วยเป็นรายบุคคลเพื่อขอข้อมูลส่วนตัว

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/W8uG0 

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : ยาสีฟันยี่ห้อ CF รักษาปากเหม็น ฟันโยก เหงือกอักเสบ

ตามที่มีโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันยี่ห้อ CF สามารถรักษาอาการปากเหม็น ฟันโยก และเหงือกอักเสบบนโลกออนไลน์นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยาสีฟันยี่ห้อ CF หรือ CF TOOTHPASTE เลขที่ใบรับจดแจ้ง 12-1-6400016639 เป็นยาสีฟันสามัญประจำบ้านธรรมดาทั่วไป ไม่สามารถรักษาอาการดังกล่าวอย่างที่แอบอ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/USq75

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ระวัง : อย่าลืมอ่านฉลากก่อนซื้อยาแผนโบราณ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตือนผู้บริโภคอ่านฉลากก่อนซื้อยาแผนโบราณ เพราะยังมียาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ที่อาจปนเปื้อนจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือลักลอบใส่สารอันตรายที่ไม่ปลอดภัย เช่น สารสเตียรอยด์ ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการบวม กระดูกผุกร่อน ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

วิธีเลือกซื้อ

  1. ตรวจสอบดูฉลากว่ามีข้อความต่อไปนี้ หรือไม่
    – มีคำว่า ‘ยาแผนโบราณชัดเจน
    – ชื่อยา
    – ชื่อผู้ผลิต และสถานที่ผลิต
    – ปริมาณที่บรรจุ
    – วัน เดือน ปี ที่ผลิต
    – เลขทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ
  2. ซื้อยาจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาต
  3. ไม่ควรซื้อยาจากรถเร่ขาย เพราะอาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และสารอันตราย

ข้อห้าม ลดเลี่ยงใช้ยาแผนโบราณอันตราย

ข้อห้ามที่ 1 ห้ามซื้อยาแผนโบราณจากรถเร่ ตามวัด หรือตามตลาดนัดโดยเด็ดขาด เพราะอาจได้รับยาไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาจาก อย.

ข้อห้ามที่ 2 ห้ามซื้อยาแผนโบราณที่โฆษณาอ้างสรรพคุณรักษาโรคต่าง ๆ ได้ครอบจักรวาล

ข้อห้ามที่ 3 ห้ามใช้ยาที่ผู้อื่นชวนให้ลองใช้ โดยอ้างว่าใช้แล้วอาการเจ็บป่วยหายขาด

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เตือนภัย : หลอกว่านวัตกรรมแผ่นแปะหู รักษาโรคหู จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ตามที่มีการแชร์บนโลกออนไลน์มากมายว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีนวัตกรรมแผ่นแปะหูมหัศจรรย์สามารถรักษาอาการสูญเสียการได้ยิน หูอื้อ หูหนวก และน้ำในหูได้นั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมสอบถามข้อเท็จจริงกับทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ออกมาระบุว่า โรงพยาบาลและแพทย์ของสังกัดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมแผ่นแปะหูมหัศจรรย์ว่า สามารถรักษาอาการดังกล่าวที่มีการแอบอ้าง ดังนั้น ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/xkY2D

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 10 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : ประชาชนอย่าหลงเชื่อประกาศชักชวนสมัครงานออนไลน์ กับบริษัทดัง หรือร้านกาแฟที่มีชื่อเสียง

อาจเสี่ยงโดนล่อ โอนเงินออกจากบัญชี โดยคิดว่าเป็นขั้นตอนการดำเนินการสมัครงาน พร้อมทั้งแจ้งว่า ผู้ที่สนใจสมัครงานให้ดูข้อมูลการรับสมัครจากเพจของบริษัทเหล่านี้เท่านั้น

หนึ่งในผู้ประกอบการที่โดนใช้ชื่อและเครื่องหมายไปหลอกสมัครงาน คือ ร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน ได้มีข้อความแจ้งเตือนภัยในเพจของบริษัทตนเองว่า มีมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อ “Café Amazon” เพื่อเปิดรับตัวแทนออนไลน์ โดยใช้โลโก้ และชื่อ “Café Amazon” และประกาศว่า บริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว และสงวนสิทธิ์ในการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อผู้นำชื่อเครื่องหมายการค้าไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากบริษัท

สภาองค์กรของผู้บริโภค จึงเตือนให้ประชาชนทั่วไปอย่าหลงเชื่อ โดยศึกษาข้อมูลต่อไปนี้

1. ใช้ชื่อและใช้โลโก้ของแบรนด์ใหญ่ต่าง ๆ ในการแอบอ้างเปิดรับสมัครงานออนไลน์ เช่น Shopee Lazada Amazon เป็นต้น ซึ่งหากเห็นโฆษณารับสมัครงานแบบนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า ประกาศรับสมัครงานออนไลน์เหล่านี้เป็นของปลอม เพราะปกติแต่ละบริษัทจะประกาศผ่านหน้าเว็บไซต์ของตนเองเป็นทางการ

2. ตามประกาศจะระบุว่าเป็นงานกดรับออเดอร์สินค้าที่สามารถทำผ่านโทรศัพท์มือถือได้อย่างง่ายดาย และมีรายได้ดี ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้มีผู้หลงเชื่อ และสมัครกันเป็นจำนวนมาก เมื่อติดต่อสมัครงานโดยการกดไปตามลิงก์ที่มิจฉาชีพส่งมา ก็จะเข้าไปยังระบบที่จะให้โอนเงินเพื่อเปิดระบบขั้นต่ำ 100-200 บาท หลังจากนั้นก็จะให้ทำภารกิจโอนเงินเพื่อซื้อของออนไลน์ โดยอ้างว่าเป็นการทำภารกิจเพื่อให้ได้ค่าคอมมิชชัน ยิ่งภารกิจที่สินค้ามีราคาสูงก็จะยิ่งได้ค่าตอบแทนกลับมามากเช่นกัน

3. กลวิธีที่มิจฉาชีพใช้จูงใจผู้เสียหายนั้น คือ การทำภารกิจใน 2 ครั้งแรก จะมีเงินโอนกลับมาโดยเป็นยอดเงินตามราคาสินค้าที่ผู้เสียหายโอนไปและบวกค่าคอมมิชชันเพิ่มให้ด้วยตามที่มิจฉาชีพกล่าวอ้าง นั้นจึงทำให้ผู้เสียหายหลายคนตัดสินใจทำภารกิจต่อ แต่เมื่อยอดเงินที่โอนสูงขึ้นเรื่อย ๆ มิจฉาชีพก็จะเริ่มหาข้ออ้างต่าง ๆ เพื่อเลี่ยงการโอนเงินกลับมายังผู้เสียหาย เช่น ผู้เสียหายกรอกเลขบัญชีผิด ภารกิจที่ทำไม่ถูกต้อง และต้องโอนเงินเพิ่ม เป็นต้น โดยผู้เสียหายส่วนใหญ่จะสูญเงินตรงนี้ไป เพราะไม่มีเงินมากพอที่จะโอนเพิ่ม และมีบางส่วนที่รู้ตัวว่าโดนหลอกโดยมิจฉาชีพ แต่ก็สูญเสียเงินไปเป็นจำนวนมากแล้วด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้แล้ว ยังพบประกาศสมัครงานดังกล่าวในเว็บไซต์ (https://shorturl.asia/2y7gu) ซึ่งขณะนี้ทางร้านคาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) แจ้งว่าทางบริษัทฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น

หากมีประชาชนที่ได้รับความเสียหาย หรือพบเจอพฤติกรรมกลโกงของมิจฉาชีพในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งความดำเนินคดี ได้ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ หรือแจ้งไปยังระบบรับแจ้งความออนไลน์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านเว็บไซต์ https://www.thaipoliceonline.com รวมถึงทุกท่านสามารถช่วยกันแจ้งเบาะแสกลโกง ภัยออนไลน์ต่าง ๆ มายัง สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ตามช่องทางด้านล่างเพื่อเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนภัยต่อไป

แจ้งเบาะแส เตือนภัยผู้บริโภค : https://crm.tcc.or.th/portal/inform.php
ร้องเรียนออนไลน์ : https://crm.tcc.or.th/?entryPoint=Portal&action=complain
อีเมล [email protected]
โทรศัพท์ 02 239 1839
เฟซบุ๊กอินบ็อกซ์ สภาองค์กรของผู้บริโภค
Line Official @tccthailand ลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U

ข่าวปลอม : ไปรษณีย์ไทยประกาศรับสมัครงานผ่านเฟซบุ๊ก

จากกรณีที่มีการเผยแพร่เรื่อง ไปรษณีย์ไทย ประกาศรับสมัครงานผ่านเฟซบุ๊ก ตำแหน่ง พนักงานคัดแยกพัสดุ พนักงานส่งพัสดุ ใช้โลโก้ตราไปรษณีย์ในการประชาสัมพันธ์นั้น ศูนย์ต่อต้านปข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับบริษัท ไปรษณีย์ ไทย จำกัด พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ย้ำว่า หากเปิดรับสมัครงานดังกล่าว จะใช้ช่องทางหลักของบริษัทฯ ประชาสัมพันธ์ และไม่มีนโยบายการใช้เฟซบุ๊กส่วนบุคคลในการเปิดรับสมัคร

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/lu3U4

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

รู้หรือไม่ ? พยาธิใกล้ตัวผู้บริโภคกว่าที่คิด

ผู้บริโภค อาจจะสงสัยเกี่ยวกับพยาธิ ว่าการบีบมะนาวสามารถทำให้เนื้อสัตว์สุกพร้อมบริโภคได้โดยไม่ต้องปรุง กินผลไม้และผักสดได้ โดยไม่ต้องล้าง เพื่อไขข้อสงสัยเกี่ยวกับพยาธิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงมีวิธีทำความเข้าใจเรื่องพยาธิง่าย ๆ  2 ข้อ ดังนี้

1. พยาธิปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก ทั้งเนื้อหมู เนื้อวัว ปลาน้ำจืด รวมถึงผักผลไม้ที่ล้างไม่สะอาด

2. พยาธิที่พบในอาหาร ประกอบด้วย พยาธิใบไม้ตับ พยาธิตัวตืด พยาธิตัวจื๊ด พยาธิอะนิชาคิส พยาธิแส้ม้า

หลีกเลี่ยงพยาธิเหล่านี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร ?

– เลือกซื้ออาหารที่สดใหม่ และสะอาด

– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ

– ควรบริโภคอาหารสุกด้วยความร้อนที่เพียงพอ ซึ่งการบีบมะนาวไม่มีผลในการฆ่าตัวอ่อนพยาธิ เพียงแค่ทำให้เนื้อสัตว์เปลี่ยนสีเท่านั้น

– ไม่หยิบของที่ตกบนพื้นมารับประทาน

– ผักและผลไม้ หากบริโภคสดควรล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ น้ำ

– ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและปรุงอาหาร

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ข่าวปลอม : ธนาคารออมสินเปิดให้กู้ยืม สินเชื่อเพื่อดำรงชีพฟื้นฟู วงเงิน 5,000 – 30,000 บาท

ชาวเน็ตแชร์ข้อมูลอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับ ธนาคารออมสินเปิดให้กู้ยืมสินเชื่อเพื่อดำรงชีพฟื้นฟู วงเงิน 5,000 – 30,000 บาท พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับธนาคารออมสิน ระบุว่าการแชร์ข่าวบนออนไลน์ดังกล่าวไม่เป็นความจริง ธนาคารไม่มีการปล่อยสินเชื่อในชื่อ สินเชื่อเพื่อดำรงชีพฟื้นฟู ธนาคารฯ ย้ำ ประชาชนโปรดอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ

ทั้งนี้ ขอผู้บริโภคให้ใช้ความระมัดระวังพิจารณาและตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องจากธนาคารออมสินก่อนทุกครั้ง จากเว็บไซต์ https://www.gsb.or.th หรือ เพจเฟซบุ๊ก GSBsociety หรือโทร. 1115 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/C0kZz

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 9 มิถุนายน 2565

ระวัง : ใช้กัญชา ต้องรู้ทางแก้

วันที่ 9 มิถุนายน 2565 วันปลดล็อกกัญชา ที่ประชาชนสามารถปลูกเพื่อบริโภคได้ เหมือนพืชสวนครัวทั่วไป เพื่อปรุงอาหารหรือสันทนาการ หรือผู้บริโภคสามารถหาซื้อกัญชา หรืออาหารผสมกัญชาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม สภาองค์กรของผู้บริโภค แนะนำให้ผู้บริโภคใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ว่าจะใช้เพื่อการแพทย์ เพื่อการบริโภค หรือเพื่อสันทนาการ และให้สังเกตอาการตนเองทุกครั้งที่ใช้ หรือบริโภค

ตามคำแนะนำของ สำนักงานจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย ในหนังสือ E-Book อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่สังเกตได้ คือ ง่วงนอนมากผิดปกติ ปากแห้ง คอแห้ง วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน

วิธีการแก้เบื้องต้น

ปากแห้ง คอแห้ง ให้ดื่มน้ำเปล่าตามในปริมาณมาก ๆ

แก้เมา ให้ทานน้ำมะนาวครึ่งลูก ผสมเกลือปลายช้อน หรือเคี้ยวพริกไทย

วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ให้ดื่มชาชงขิง หรือน้ำขิง

ส่วนอาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ มีดังนี้

1. หัวใจเต็นเร็ว รัวผิดจังหวะ

2. เป็นลมหมดสติ

3. เจ็บหน้าอก ร้าวไปที่แขน

4. เหงื่อแตก ตัวสั่น

5. อึดอัดหายใจไม่สะดวก

6. เดินเซ พูดไม่ชัด

7. พูดไม่ชัด สับสนกระวนกระวาย วิตกกังวล

8. หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล

9. พูดคนเดียว อารมณ์แปรปรวน

10. หูแว่ว เห็นภาพหลอน


ติดต่อ สำนักงานจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย โทร. 02 591 7007 ต่อ 2301 หรืออีเมล [email protected]

ที่มา : สำนักงานจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย

เตือนภัย : อย่าหลงกล “แชร์ลูกโซ่”

ตำรวจไซเบอร์ แจ้งประชาชนระมัดระวังการชักชวนเข้าไปเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ โดยปัจจุบันมีการโฆษณาชักชวนผู้ลงทุนผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย โดยให้ข้อสังเกต ดังนี้

ข้อสังเกต แชร์ลูกโซ่ ในคราบธุรกิจขายตรง จะไม่เน้นการขายสินค้า การสาธิตสินค้า หรือทำให้สมาชิกเข้าใจในตัวสินค้า แต่ จะเน้นการหาสมาชิกใหม่ เพราะค่าสมัครสมาชิก/ค่าสินค้าแรกเข้า/ค่าหุ้นหรือหน่วยลงทุน จะถูกนำมาจ่ายเป็นผลตอบแทนให้กับสมาชิกเก่า แต่หากไม่สามารถหาสมาชิกใหม่ได้ ก็จะไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนให้แก่สมาชิกเก่าได้

วิธีป้องกันกลโกง แชร์ลูกโซ่ มีดังนี้

1. ไม่โลภไปกับผลตอบแทนมูลค่าสูง ที่มิจฉาชีพนำมาล่อเพื่อเร่งการตัดสินใจ

2. อย่าไว้ใจ หรือเกรงใจจนไม่กล้าปฏิเสธ เมื่อคนชวนทำธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่

3. ศึกษาที่มาที่ไปของการลงทุนหรือสินค้าให้ดีก่อนการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจหรือสินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก ในเวลาอันสั้น หรือมีราคาถูกผิดปกติ

4. หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มธุรกิจที่ไม่แน่ใจ เพราะอาจถูกหว่านล้อมให้ร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่

ติดต่อสายด่วนตำรวจไซเบอร์ โทร. 1441 หรือ 081-866-3000

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)

เตือนภัย : อย่าสั่งซื้อ อาหารเสริมหลอกลวง “FRIOCARD”

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แจ้งเตือนภัยผู้บริโภคอย่าตกเป็นเหยื่อ โฆษณาอาหารเสริม “FRIOCARD” ทางเว็บไซต์ https://thai-dietonica.com/friocard ที่ระบุ “…ช่วยลดความดันโลหิตและระดับคลอเลสเตอรอลรวม……” ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จและไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.

จากการตรวจสอบเว็บไซต์ที่โฆษณา อย. ไม่พบข้อมูลผู้โฆษณา พบเพียงวิธีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จะต้องกรอกชื่อ – นามสกุลจริง หมายเลขโทรศัพท์ และกดคำว่า “สั่งซื้อตอนนี้” รวมทั้งเป็นเว็บไซต์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ซึ่งโฆษณาลักษณะนี้จะไม่สามารถติดต่อผู้ขายได้ ดังนั้น หากผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์แล้วเกิดปัญหาใด ๆ ในการบริโภคผลิตภัณฑ์จะไม่สามารถตามหาผู้รับผิดชอบได้ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาลักษณะนี้ และ อย. สั่งระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว รวมทั้งดำเนินการตามกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้องแล้ว

ข้อเสนอแนะ

ขอเตือนผู้บริโภคให้รู้เท่าทันการโฆษณาผลิตภัณฑ์อวดอ้างรักษาโรคหลอดเลือดและรักษาความดันโลหิต ทางสื่อออนไลน์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะ อย. ไม่อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์อาหารโฆษณาไปในทิศทางที่เกี่ยวกับการรักษาโรคต่าง ๆ กรณีมีอาการเจ็บป่วยหรือผิดปกติในร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

หากพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556  Line @FDAThai Facebook FDAThai หรือแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เตือนภัย : หลอกว่า กรุงไทย และออมสิน ร่วมกับเอกชน ให้กู้ 500,000 บาท

ผู้บริโภคท่านใด ได้รับข่าวผ่านสื่อออนไลน์ว่าธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และเอกชน ปล่อยกู้สินเชื่อ GGH ให้วงเงินกู้สูงสุด 500,000 บาท อย่าหลงกลมิจฉาชีพ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบไปยังธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสิน พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ มีเจตนาหลอกลวงประชาชน ธนาคารออมสินและกรุงไทยไม่มีนโยบายให้บริการกู้สินเชื่อออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เป็นที่สังเกตได้ว่ามิจฉาชีพล่อลวงด้วยการใช้โลโก้ของธนาคารเชิญชวนทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด หลงเชื่อ

ธนาคารทั้ง 2 ย้ำ ไม่มีการปล่อยสินเชื่อผ่านไลน์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/rctq3

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : น้ำสับปะรดผสมโหระพา ช่วยรักษาเกล็ดเลือดต่ำ เลือดจาง

กรณีที่มีข้อความด้านสุขภาพเกี่ยวกับน้ำสับปะรดผสมโหระพา ช่วยรักษาเกล็ดเลือดต่ำ เลือดจาง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

ทางกรมการแพทย์แผนไทยฯ ชี้แจงว่า ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการดื่มน้ำสับปะรดผสมโหระพา รวมทั้งยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้เพื่อรักษาอาการดังกล่าว ซึ่งภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โลหิตจาง ควรพบแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3mxpohq

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 8 มิถุนายน 2565

ตำรวจ แนะอย่าหลงกลมิจฉาชีพอ้างชื่อ ‘ธนาคารแห่งประเทศไทย’

ขณะนี้มีการแอบอ้างชื่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ชักชวนประชาชนให้หลงเชื่อเพื่อหลอกลวงให้เสียทรัพย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตำรวจไซเบอร์ จึงเสนอวิธีการสังเกตกลโจรว่า หากมีการอ้าง 5 วิธีการนี้ ไม่ว่าจะเป็นการอ้างบนเอกสาร ติดต่อส่วนตัว หรือผ่านข้อความชนิดใด ๆ ก็เชื่อได้ว่า ไม่ใช่เป็นเอกสาร หรือการติดต่อของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างแน่นอน

5 วิธีการที่แอบอ้าง มีดังนี้

1. อายัดบัญชีเงินฝาก

2. อนุมัติหรือรับรองโครงการเงินกู้ หรือลงทุน

3. สั่งให้โอนเงินมา เพื่อตรวจสอบบัญชี

4. แจ้งหนี้บัตรเครดิต

5. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรืออนุญาตให้นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศ

หากท่านใดได้รับการติดต่อด้วยวิธีการแอบอ้างข้อใดข้อหนึ่ง ขอให้อย่าหลงกล ติดต่อแจ้งความต่อ ตำรวจไซเบอร์ โทร. 1441

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)

ข่าวปลอม : รักษาโรคไต ด้วยลิ้นจี่และเซี่ยงจี๊หมู ไม่ต้องฟอกไต

กรณีแนะนำสูตรเกี่ยวกับการรักษาโรคไตด้วยลิ้นจี่และเซี่ยงจี้หมู โดยไม่ต้องฟอกไตในสื่อออนไลน์นั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

โดยทางกรมฯ ชี้แจงว่า สูตรการใช้เมล็ดลิ้นจี่และเซี่ยงจี๊หมู ต้มรวมกันและนำมารับประทานเพื่อช่วยในการฟอกไต ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาหรือรายงานทางวิทยาศาสตร์รับรองผลจากการรับประทานเมล็ดลิ้นจี่และน้ำเซี่ยงจี๊หมู ดังนั้น ไม่แนะนำให้ใช้สูตรดังกล่าวในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไต  

การนำผู้ป่วยไปรักษาทางเลือกที่ไม่มีผลทางการแพทย์รองรับอาจทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษาด้วยการฟอกไต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3aGiTG9

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : หลอกว่า กู้ผ่านไลน์ @387bawah ได้เงินด่วน Street Money 5,000 – 300,000 บาท

ผู้ใดได้ข้อมูลทางออนไลน์ว่า ธนาคารกรุงไทย เปิดสินเชื่อเงินด่วน Street Money วงเงิน 5,000 – 300,000 บาท ด้วยการกู้ผ่านไลน์ @387bawah ควรรับทราบว่าท่านตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพแล้ว

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมติดต่อ ธนาคารกรุงไทย เพื่อตรวจสอบข้อมูลและพบว่า เป็นข้อมูลที่มีเจตนาหลอกลวง โดยทางธนาคารชี้แจงว่า ข้อมูลเท็จชิ้นนี้แอบอ้างนำโลโก้ของธนาคารไปใช้ให้ประชาชนเกิดความสับสน โดยธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องตามที่แอบอ้างแต่อย่างใด การเชิญชวนให้ประชาชนกู้เงินโดยการใช้โลโก้และรูปภาพของธนาคารประกอบคำโฆษณา ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด จึงขอให้ประชาชนทั่วไปอย่าหลงเชื่อ อย่าติดต่อเข้าไป หรืออย่าแชร์ข้อมูลต่อ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3MucECC

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : ดื่มน้ำมะขามเปียก ช่วยลดน้ำหนักได้

จากกรณีที่มีข้อมูลสุขภาพทำให้เชื่อว่า การดื่มน้ำมะขามเปียกช่วยลดน้ำหนักได้นั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ติดต่อสอบถามกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ชี้แจงว่า “มะขาม” เป็นสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน มีสรรพคุณทางสมุนไพรเป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ทำให้การขับถ่ายดี จึงดูเหมือนว่าสามารถช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง แต่ความจริงแล้ว น้ำมะขามเปียกไม่ช่วยลดไขมันในร่างกาย ซึ่งการที่แชร์กันว่า การดื่มน้ำมะขามเปียกช่วยลดน้ำหนักได้ ไม่เป็นความจริง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3NBQwYn

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวบิดเบือน : เติมน้ำมันตอนเช้าจะได้ปริมาณน้ำมันเยอะกว่าเติมตอนบ่าย

กรณีที่มีคำแนะนำในสื่อออนไลน์ระบุว่า การเติมน้ำมันตอนเช้า จะได้ปริมาณน้ำมันเยอะกว่าตอนบ่าย เนื่องจากสภาพอากาศตอนเช้ายังค่อนข้างเย็น น้ำมันไม่ขยายตัว จึงได้ปริมาณน้ำมันเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ติดต่อ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง และพบว่า เป็นข้อมูลบิดเบือน

ทางบริษัทฯ ชี้แจงว่า ถึงแม้ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสารไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และจะยุบตัวเมื่อเย็นลง ในการซื้อขายน้ำมันที่ซื้อขายกันเป็นปริมาตร ทำให้ดูเหมือนว่าการเติมน้ำมันตอนเช้าจะได้ปริมาณมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำมันที่เติมจากสถานีบริการน้ำมันนั้น อยู่ในระบบปิดทุกอย่าง ตั้งแต่ถังน้ำมัน ท่อจ่าย ซึ่งจะอยู่ใต้ดิน และเทคอนกรีตทับ ทำให้น้ำมันไม่ได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกโดยตรง ถังน้ำมันที่อยู่ใต้ดินจึงมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ เพราะความร้อนจากอากาศภายนอกจะถูกดูดซับโดยชั้นดินและความชื้นในดิน ซึ่งไม่สามารถส่งผ่านลงไปถึงเนื้อน้ำมันได้โดยตรง

จากการวัดอุณหภูมิของน้ำมันจากมือจ่ายในตอนเช้าและบ่ายที่อุณหภูมิต่างกันมากที่สุดพบว่า น้ำมันจากมือจ่ายจะมีอุณหภูมิต่างกันมากที่สุดไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส และเมื่อพิจารณาค่าการขยายตัวของน้ำมัน โดยน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ จะมีปริมาตรต่างกัน 0.001 ลิตร/องศาเซลเซียส และน้ำมันดีเซล มีการขยายตัว 0.0007 ลิตร/องศาเซลเซียสนั้น จะเห็นว่าปริมาณน้ำมันแตกต่างกันน้อยมาก จึงควรเลือกเติมน้ำมัน เวลาที่สะดวกจะเหมาะสมที่สุด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3mnEfeh

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : มันเทศญี่ปุ่นต้มน้ำขิง ช่วยต้านโควิด-19

กรณีการแชร์แนะนำสูตรเกี่ยวกับสุขภาพที่อ้างว่า กินมันเทศญี่ปุ่นต้มน้ำขิง สามารถต้านไวรัสโควิด-19 ได้นั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมติดต่อกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ ชี้แจงว่า ไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยยืนยันว่ามันเทศญี่ปุ่นและน้ำขิง ช่วยป้องกันโรคโควิด-19 หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยรักษาโรคใด ๆ ได้

ขอให้ประชาชนไม่เชื่อและไม่แชร์ข้อมูลดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3NkOxYl

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 7 มิถุนายน 2565

ข่าวปลอม : รถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในเอเซียจดทะเบียนไม่ได้

ตามที่มีการแชร์ข่าวประเด็นซื้อรถไฟฟ้าจากบริษัทผู้ผลิตในเอเชีย ไม่สามารถจดทะเบียนได้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

กรมการขนส่งทางบก ชี้แจงว่า การจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้า เป็นการขออนุญาตใช้รถต่อนายทะเบียน โดยรถที่จะนำมาจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าได้นั้น ต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถถูกต้องตามที่กฎกระทรวง และตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 กำหนด ต้องมีกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าและความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะต้องดำเนินการขอรับรองแบบรถกับกรมการขนส่งทางบกก่อนดำเนินการจดทะเบียน เพื่อให้ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์และรถจักรยานยนต์เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเมื่อแบบรถที่ต้องการจดทะเบียนได้รับการรับรองและส่งบัญชีเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถนำรถคันที่ต้องการจดทะเบียนเข้ารับการตรวจสภาพรถจากนายทะเบียน หรือจากสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหมายเลขระบบส่งกำลัง หมายเลขตัวถัง ลักษณะ ขนาด สัดส่วน ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

ปัจจุบัน (เดือนเมษายน 2565) มีรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมแล้วทั้งสิ้น 15,474 คัน ดังนั้น รถไฟฟ้าที่จะจดทะเบียนได้ต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด และได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกก่อนจึงจะจดทะเบียนได้ ทั้งรถที่ใช้น้ำมันและไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้ารถเพื่อมาใช้งานในกิจการที่แตกต่างกันไป ก่อนตัดสินใจซื้อรถ จึงควรสอบถามผู้ขายก่อนว่าสามารถนำไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เพื่อวิ่งใช้งานบนถนนสาธารณะได้หรือไม่ ?

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ตร. แนะซื้อสินค้าออนไลน์ต้องขี้สงสัยก่อนตกเป็นเหยื่อ

เพจตำรวจไซเบอร์ จัดทำข้อแนะนำนักชอปปิ้งออนไลน์ให้ระมัดระวังการโดนหลอก โดนโกงด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

1. ซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือหากเป็นเว็บไซต์ให้ตรวจสอบคํานําหน้า URL ต้องขึ้นต้นด้วย https://

2. สินค้าราคาถูกเกินจริงยิ่งต้องระวัง “ดีเกินจริงหรือเปล่า” ตรวจสอบสินค้าและราคาให้ดี ไม่จําเป็นอย่าโอน

3. ร้านค้ามีอยู่จริงหรือเปล่า Page Facebook ได้รับการรับรอง หรือมีเครื่องหมายถูกต้อง ตรวจสอบความโปร่งใส เวลาที่ก่อตั้ง / การเปลี่ยนชื่อ

4. อ่านรีวิว / ดูยอดไลก์ / จำนวนผู้ติดตาม ใช้ดูเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ แต่อย่าปักใจเชื่อ 100% เพราะทุกอย่างในโลกออนไลน์สามารถสร้างได้ ปลอมได้

5. คนขายมีตัวตนอยู่จริงไหม ? ชื่อคนขายตรงกับเลขบัญชีที่รับโอนหรือเปล่า? (หรือเป็นบัญชีม้า) มีประวัติโกงคนอื่นมาก่อนหรือไม่ ควรตรวจสอบชื่อ / เลขบัญชี ผ่านทาง https://www.blacklistseller.com

6. สินค้ามีอยู่จริงตรงปกหรือเปล่า ? เราสามารถขอ VDO Call ดูสินค้าได้ไหม หากบ่ายเบี่ยงอย่าโอน

7. ถ้านัดพบผู้ขายเพื่อดูสินค้าได้ควรทำ

8. ถ้าพบพิรุธ หรือไม่แน่ใจ อย่าโอน

ไม่โอนก่อน ก็ไม่ตกเป็นเหยื่อ” ตำรวจไซเบอร์ย้ำ

ร้องเรียนตำรวจไซเบอร์ โทร. 1441

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)

ระวัง : อย่าเลียนแบบติ๊กต่อก เอาผงพิเศษมาอุดฟันอาจเสียชีวิตได้  

จากกรณีที่มีการแชร์คลิปวิดีโอจากแอปพลิเคชั่นติ๊กต่อก (TikTok) โดยใช้ผงพิเศษเพื่ออุดฟัน อาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบตามคลิปดังกล่าวได้ กรมอนามัยเตือนประชาชน ผงพิเศษเป็นยาใช้ภายนอก ห้ามนำไปใช้อุดฟัน เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารซัลฟานิลาไมด์ ที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง เกิดตุ่มพอง หนังลอก หรือที่เรียกว่าการแพ้แบบสตีเวนส์-จอห์นสัน ซินโดรม (Stevens-Johnson Syndrome หรือ SJS) อาจเสียชีวิตในบางรายได้

มีปัญหาฟันผุ ควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ข่าวปลอม : วิตามินบีลดอาการไหลตายได้

ตามที่มีการแชร์ข้อมูลด้านสุขภาพในสื่อออนไลน์ประเด็นวิตามินบี สามารถลดการเกิดภาวะไหลตายหรือหัวใจล้มเหลว ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

สถาบันโรคทรวงอกชี้แจงว่า โรคไหลตาย (Brugada Syndrome) เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มโรค Cardiac channelopathy หรือโรคทางพันธุกรรมที่โครงสร้างหัวใจปกติมีการเปลี่ยนแปลงของยีน ของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้ Ion channel หรือช่องทางผ่านไหลเข้าออกของโซเดียมทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีกราฟไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ มีลักษณะจำเพาะ ทำให้ง่ายต่อการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติชนิดรุนแรง ซึ่งทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตล้มเหลว หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตอย่างกะทันหัน สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคไหลตาย ยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาที่สำคัญ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรักษาโดยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ และการรักษาอาการโดยการใช้ยา

ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว ไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ติดตามข่าวสารสถาบันโรคทรวงอก ได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร. 02-547-0999

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3mjP7tk

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม :  Wiberry ฟื้นฟูการมองเห็น ลบริ้วรอย

ตามที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพเรื่อง Wiberry ช่วยฟื้นฟูการมองเห็น ลดความเสี่ยงของการเกิดริ้วรอยรอบดวงตา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

อย. ชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไวเบอร์รี่ /WIBERRY DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT เลข อย. 11-1-06353-5-0018 ซึ่งในการยื่นขออนุญาต ไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการฟื้นฟูการมองเห็น ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลาก

อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่หลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทาน เพื่อหวังผลในการฟื้นฟูการมองเห็น ผิดปกติที่เกิดจากโรคตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เยื่อบุตาอักเสบ ต้อกระจก และต้อหิน จะเสียเงินเปล่า และเสียโอกาสในการรักษา อย.จึงแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3NUGIZd

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 6 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : หลอกกดลิงก์ดูดเงิน อ้างโดนละเมิดข้อมูลส่วนตัว

ตำรวจไซเบอร์ แจ้งเตือนภัยให้ประชาชนอย่าหลงกลมิจฉาชีพ หลอกให้เชื่อว่ามีคนนำภาพส่วนบุคคลไปทำในทางที่ไม่ดีไม่ร้าย แล้วส่งลิงก์มาเพื่อให้เข้าดู แต่หากเผลอกดเข้าไป โทรศัพท์อาจโดนไวรัสขโมยข้อมูลส่วนบุคคล และอาจทำให้เงินหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัว

จึงแนะนำให้ประชาชนตรวจสอบที่มาของข้อมูล หรือลิงก์ก่อนที่จะเข้าไปกดดู หรือสอบถามข้อมูลที่ ตำรวจไซเบอร์ สายด่วน โทร. 1441

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)

ข่าวปลอม : ใบทุเรียนเทศรักษาโรคมะเร็ง

มีกระแสข่าวในสื่อออนไลน์ที่อวดอ้างว่า ใบทุเรียนเทศสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าการทำเคมีบำบัด (คีโม) จนทำให้มีแปรรูปผลิตภัณฑ์ใบทุเรียนเทศ เป็นแคลซูล ชาชงจำหน่ายบนโลกออนไลน์ และมีผู้บริโภคจำนวนมากสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมาแจ้งเตือนว่า ข่าวดังกล่าวไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับว่ารักษามะเร็งแทนเคมีบำบัดได้

อย. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทุเรียนเทศ หรือหลายคนนิยมเรียกว่า ทุเรียนน้ำ ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า ใบทุเรียนเทศสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ และหากบริโภคใบทุเรียนเทศอย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ เนื่องจากใบทุเรียนเทศมีสารกลุ่ม Acetogenins ซึ่งสารดังกล่าวเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท ไต และมดลูก

จึงเตือนให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการบริโภคใบทุเรียนเทศ แทนการรักษาแบบคีโม

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เตือนภัย : หลอกเอาข้อมูลส่วนตัวเข้าโครงการแจกเงิน อ้างเป็น จนท.การคลัง

แชร์กันกระหึ่ม มิจฉาชีพอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง หลอกถามข้อมูลเลขบัตรประชาชน ที่อยู่ เพื่อเข้าโครงการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับกระทรวงการคลัง แล้วพบว่ากระทรวงฯ ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ขอข้อมูลส่วนบุคคลจากประชาชน ย้ำว่าเบอร์ดังกล่าว เป็นเบอร์ของมิจฉาชีพ ขอให้ประชาชนโปรดระวัง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3aIToEn

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)

ข่าวปลอม : กลิ่นผายลม ช่วยทำให้โรคไตดีขึ้น

มีการแชร์ข้อมูลออนไลน์อ้างว่า การดมกลิ่นผายลม ช่วยบำบัดโรคไต และทำให้อาการโรคไตดีขึ้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบว่า เป็นข่าวปลอม

ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งออกมายืนยันว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง การดมกลิ่นผายลม ไม่ใช่วิธีการบำบัดโรคไตให้ดีขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3NYZpet

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : ยาพาราเซตามอลมีส่วนผสมของไวรัสแมคชูโป

กรณีมีข้อความเตือนว่า ยาพาราเซตามอลมีส่วนผสมของไวรัสแมคชูโปนั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ยาที่ถูกแชร์นั้นเป็นยาที่ผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียน และวางขายในประเทศไทยอย่างแน่นอน รวมถึงไวรัสแมคชูโป ก็เป็นเชื้อที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในที่แห้ง การที่จะปนเปื้อนเชื้อดังกล่าวในยาพาราฯ นั้นจึงมีความเป็นไปได้น้อยมาก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่https://bit.ly/3mi90B7

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 5 มิถุนายน 2565

เตือนภัย :  โทรมาขู่ว่า กรมสรรพากรเรียกจ่ายหนี้ภาษีค้างชำระ

ระวังสายโทรเข้าจากมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเรียกเก็บหนีภาษีค้างชำระ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับกรมสรรพากรแล้ว พบว่าไม่เป็นความจริง กรมสรรพากรไม่มีนโยบายติดตามหนี้ภาษีอากรค้างชำระทางโทรศัพท์ พฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมของมิจฉาชีพล่อลวงประชาชนให้เสียทรัพย์ หรือเกิดความเสียหายอื่น ๆ  

สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงแนะนำให้ผู้บริโภควางสาย ยุติการสนทนากับคนแปลกหน้าทันที เนื่องจากหน่วยงานต่าง ๆ ของราชการ หรือธนาคารต่าง ๆ ชี้แจงหลายครั้งแล้วว่า ไม่มีนโยบายทวงหนี้ หรือแจ้งเหตุต่าง ๆ ทางโทรศัพท์

หากสงสัย ให้โทรกลับไปที่ฝ่ายบริการประชาชนของหน่วยงานนั้น ๆ หรือหากเป็นกรณีข่มขู่ว่าท่านอาจทำผิดกฏหมาย หรือมีส่วนร่วมในการทำผิดกฏหมาย ให้ติดต่อสายด่วน ตำรวจไซเบอร์ 1499 หรือที่ศูนย์คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค โทร. 02 239 1839 ต่อ 101

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3NTfrpZ

เตือนภัย : หลอกว่าธนาคารออมสิน ให้กู้สูงสุด 200,000 บาท

ขณะนี้มีการแชร์ข้อมูลหลอกลวงประชาชนว่า ธนาคารออมสินให้กู้โครงการ “สินเชื่อเพื่อประชาชน” สูงสุดในวงเงิน 200,000 บาท ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารออมสิน กระทรวงการคลังพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ เป็นข่าวหลอกลวงจงใจล่อให้ประชาชนเข้าใจผิด จึงขอให้ประชาชนตรวจความถูกต้องของข้อมูลที่เว็บไซต์ ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือ เฟซบุ๊ก GSB society หรือโทร. 1115

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3NVP7eS

ปลดล็อกกัญชา กัญชง 9 มิถุนายนนี้ อย่าลืมจดแจ้งกับ อย. ก่อน

แม้จะมีประกาศ “ปลดล๊อก” การปลูกกัญชาและกัญชง ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% ประชาชนสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันพุธที่ 9 มิถุนายน นี้ แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขขอให้จดแจ้งการปลูกต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถดำเนินการออนไลน์ได้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” หรือเข้า เว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th เพื่อจดแจ้ง โดยมี 3 ขั้นตอน คือ

1. ลงทะเบียน

2. จดแจ้งตามวัตถุประสงค์

3. รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์

ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนและแหล่งที่ปลูกกัญชา และกัญชงทั่วประเทศ ทั้งนี้ อย. อบรมเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กรุงเทพมหานคร และ อบจ. ทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ประสงค์จะปลูกกัญชา หรือกัญชง

ผู้สนใจสามารถรับชมวิดีโอวิธีการจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชันหรือจดแจ้งผ่านเว็บไซต์ของ อย. หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ Call center โทร. 1556 กด 3 

ข่าวปลอม : ขมิ้นชันช่วยรักษาโรคฟันผุ

จากสูตรที่บอกว่าให้นำขมิ้นชัน และเบกกิ้งโซดามาขัด หรือพอกที่ฟัน เพื่อรักษาฟันผุ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แล้วพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

กรมอนามัย ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ขมิ้นชันไม่สามารถรักษาโรคฟันผุได้ โรคฟันผุ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษา และป้องกันได้โดยวิธีการใช้สมุนไพร ต้องรักษาด้วยการอุดฟัน รักษารากฟันหรือถอนฟันเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3meudfd


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 4 มิถุนายน 2565

แนะนำ : ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล ทำอย่างไร?

ถ้าข้อมูลส่วนตัวในระบบออนไลน์ เช่น อีเมล ไลน์ เฟซบุ๊ก หรือ ข้อมูลธุรกรรมการเงิน ถูกแฮก-รั่วไหล ตำรวจไซเบอร์ให้คำแนะนำในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1. ยกเลิก หรือทำบัตรใหม่ ยกเลิกผูกบัตรกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ

2. เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ หากใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันทุกระบบ บัญชี ต้องเปลี่ยนให้หมด

3. ติดต่อคอลเซ็นเตอร์ธนาคารทันที หากเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับธุรกรรมการเงิน / online banking

4. เมื่อเกิดความเสียหายจากภัยออนไลน์ แจ้งความออนไลน์ได้ที่ https://www.thaipoliceonline.com/

5. ผู้ให้บริการอีเมล /แอปพลิเคชัน หากถูกแฮกบัญชีอีเมล ไลน์ เฟซบุ๊ก เพื่อกู้บัญชีกลับมา

6. แจ้งญาติ ผู้เกี่ยวข้องให้รู้เพื่อป้องกันมิจฉาชีพสวมรอยเป็นเรา

สอบถาม ตำรวจไซเบอร์ โทร. 1499

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)

เตือนภัย : อ้างเป็นตำรวจทวงค่าปรับทางโทรศัพท์

มิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรทวงค่าปรับ ขอให้ประชาชน อย่าหลงกล ตำรวจไซเบอร์ชี้แจงผ่านทางเฟซบุ๊กว่า ขณะนี้มีคนโดนทวงค่าปรับทางโทรศัพท์ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีนโยบายทวงค่าปรับทางโทรศัพท์อย่างแน่นอน การชำระค่าปรับทำได้ตามช่องทางเหล่านี้ คือ ทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านธนาคารต่าง ๆ ชำระที่ไปรษณีย์ เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือชำระที่สถานีตำรวจทุกแห่ง หากได้รับโทรศัพท์อ้างเป็นตำรวจทวงค่าปรับ ให้วางสายทันที

สอบถามหรือแจ้งเหตุ โทร. 1599 หรือ 081-866-3000

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)

ข้อมูลเท็จ : ผงถ่านคาร์บอนช่วยทำให้ฟันขาว

ตามที่มีการแชร์ข้อความในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ประเด็น ผงถ่านคาร์บอนช่วยทำให้ฟันขาว ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับกรมอนามัย หน่วยงานสำนักทันตสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรมอนามัย หน่วยงานสำนักทันตสาธารณสุข ชี้แจงว่า เป็นคำแนะนำที่ผิด ไม่ควรนำผงถ่านมาขัดฟัน เพราะผงถ่านคาร์บอนจะทำลายผิวเคลือบฟัน ทำให้ฟันสึก มีอาการเสียวฟัน อาจทะลุโพรงประสาทฟัน และทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าไปทำลายเส้นประสาทในฟัน เกิดฟันตาย เป็นหนองที่ปลายรากฟัน และเมื่อใช้ไปนาน ๆ ลิ้นอาจเป็นสีดำ เนื่องจากผงถ่านคาร์บอนมีขนาด 0.1-0.25 มิลลิเมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าผงขัดในยาสีฟันกว่า 100 เท่า ทั้งนี้ การขัดฟันด้วยวัสดุหยาบทุกชนิดจะทำให้ผิวเคลือบฟันสึกได้

ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารจากกรมอนามัย หน่วยงานสำนักทันตสาธารณสุข ได้ที่เว็บไซต์ http://dental2.anamai.moph.go.th/ หรือ โทร. 02-590- 4218

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3xeZchI

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 3 มิถุนายน 2565

ข้อมูลเท็จ : กินเปลือกมะนาวในส้มตำแล้วเป็นมะเร็ง

หลายคนตื่นตระหนกกับข้อมูลที่ส่งต่อกันมากมายบนโลกออนไลน์ ว่าการรับประทานส้มตำที่ใส่เปลือกมะนาวนั้น จะทำให้เป็นมะเร็ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยืนยันว่าเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่ว่า การรับประทานส้มตำที่ใส่เปลือกมะนาวและจะทำให้เป็นมะเร็ง จึงไม่ควรเชื่อ และไม่ควรแชร์ต่อ

มะนาว เป็นสมุนไพรไทยที่ส่วนใหญ่จะมีติดบ้านกันทุกครัวเรือนโดยความจริงแล้ว มะนาวนั้นมีประโยชน์มากมาย สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายได้มากมาย
จึงขอให้อย่าเชื่อและอย่าแชร์ข่าวดังกล่าว

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เตือนภัย : หลอกเหยื่อกู้เงินธนาคารผ่านตู้เอทีเอ็ม

ขณะนี้มีข่าวลวงให้ประชาชนเชื่อว่าธนาคารกรุงไทยให้กู้เงินผ่านทางเอทีเอ็ม แต่ความจริงก็คือการลวงให้เหยื่อโอนเงินตัวเองให้มิจฉาชีพ

จากการร้องเรียนปัญหามิจฉาชีพหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มที่ผ่านมา สภาองค์กรของผู้บริโภคพบว่า มิจฉาขีพลวงเหยื่อให้ไปที่ตู้เอทีเอ็มโดยการหลอกให้กู้เงิน ให้รับเงินคืน ให้เช็กตรวจสอบยอดเงิน หรืออื่น ๆ แต่สุดท้าย คือ การหลอกให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีมิจฉาชีพ โดยผ่านเมนูภาษาอังกฤษ สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงเตือนภัยว่า ประชาชนอย่าหลงเชื่อไปทำธุรกรรมการเงินใด ๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม อย่าหลงเชื่อข้อมูลหลอกลวงออนไลน์และอย่าแชร์ข้อมูลเหล่านี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ศูนย์คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค โทร. 02 239 1839 ต่อ 101

ข้อมูลเท็จ : สเปรย์สมุนไพรพ่นคอ ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แจ้งเตือนภัยว่า มีการโฆษณาขายสเปรย์สมุนไพรฟ้าทะลายโจร และสมุนไพรสารสกัดจากลำไย ด้วยการอวดอ้างสรรพคุณขจัดเชื้อโควิดในช่องปาก “ก่อนเชื้อลงปอด” ได้ ซึ่ง อย. ยืนยันว่าสรรพคุณที่อวดอ้างไม่เป็นความจริง และยังไม่มีการอนุญาตการใช้สเปรย์ดังกล่าวตามที่แอบอ้าง ขอให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฏหมาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สายด่วน อย. 1556

ข่าวบิดเบือน : สมุนไพรวัดน้ำตกสร้างภูมิโควิด-19

ขณะนี้ มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอและข้อความเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรของวัดน้ำตก (คีรีวงก์) จังหวัดชุมพร ระบุสรรพคุณเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโควิด -19 ทางสื่อออนไลน์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงตรวจสอบข้อเท็จจริง และพบว่าสมุนไพรชนิดนี้ ได้รับอนุญาตเฉพาะผลิตตัวอย่างเพื่อใช้ในงานวิจัยเท่านั้น

นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. เปิดเผยว่า อย. ตรวจสอบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพรของวัดน้ำตก (คีรีวงก์) พบว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าว ได้รับอนุญาตให้ผลิตตัวอย่างเฉพาะเพื่อใช้ในงานวิจัย และขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับกับ อย.

อย. ระบุอีกว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร ด้วยการดูฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง ซึ่งฉลากผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะต้องมีฉลากภาษาไทย มีการแสดงชื่อผลิตภัณฑ์ สรรพคุณหรือข้อบ่งใช้ ขนาดและวิธีการใช้ ชื่อผู้ผลิตและที่อยู่สถานที่ผลิต เลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ เป็นต้น

ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลการขออนุญาตผลิตภัณฑ์ได้ที่ https://www.fda.moph.go.th หรือผ่าน Line@FDAThai Facebook : FDAThai หากพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าจะไม่ปลอดภัย ขอให้แจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 2 มิถุนายน 2565

ข่าวเท็จ : โพสต์หรือคอมเมนต์ดูหมิ่นภาพถ่ายบุคคลอื่น โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 500,000 บาท

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องโพสต์หรือคอมเมนต์ดูหมิ่นภาพถ่ายบุคคลอื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับ 500,000 บาท ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการบอกต่อข้อมูลโดยระบุว่า โพสต์หรือคอมเมนต์ดูหมิ่นภาพถ่ายบุคคลอื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับ 500,000 บาท ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กรณีดังกล่าวเป็นความผิดโทษอาญาตามมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 แต่ในข้อเท็จจริงนั้น การกระทำความผิดตามตัวอย่างที่กล่าวมาไม่เข้าองค์ประกอบโทษอาญาของกฎหมายนี้

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 แต่มีผู้เข้าใจสาระสำคัญของกฎหมายคลาดเคลื่อนเป็นจำนวนมาก และการส่งต่อข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้ประชาชนตื่นตระหนก หวาดกลัวกับการบังคับใช้กฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว และป้องกันการล่วงละเมิดในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว ไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เว็บไซต์ https://www.mdes.go.th/home หรือโทร. 02 141 6747

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/38FCtlg

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ระวัง : เครื่องสำอางปลอมเกลื่อนตลาด เสี่ยงหน้าพังไม่รู้ตัว

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เตือนนักชอปปิ้งเลือกซื้อเครื่องสำอางราคาถูกที่ขายเกลื่อนตลาด ทั้งแบกับดิน ในห้าง จนถึงตลาดออนไลน์ ให้ระวังเครื่องสำอางปลอม มีสารต้องห้ามอันตรายที่อาจทำให้เสียโฉมถาวร

จากการเฝ้าระวังของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบเครื่องสำอางปลอมส่วนใหญ่จะใส่สารต้องห้าม เช่น สารปรอท ไฮโดรควิโนน สเตียรอยด์ และกรดเรทิโนอิก หากผู้บริโภคได้รับสารอันตรายเหล่านี้จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ แสบร้อน มีตุ่มแดง หมองคล้ำ เกิดฝ้า ผิวบาง และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนังได้ 

วิธีง่าย ๆ ในการซื้อเครื่องสำอางอย่างปลอดภัย โดยให้เลือกซื้อเครื่องสำอางจากร้านค้าที่มีความน่าเชื่อถือ ดูฉลากผลิตภัณฑ์เลขที่ใบรับจดแจ้ง รวมถึงที่ตั้งการผลิต การจำหน่าย และเปรียบเทียบข้อมูลบนฉลากในเว็บไซด์ของ อย. https://www.fda.moph.go.th/sites/Cosmetic/SitePages/Permission.aspx ที่สำคัญไม่ควรเลือกซื้อเครื่องสำอางราคาถูกกว่าปกติ เพื่อความมั่นใจ และปลอดภัยของผู้บริโภค

หากผู้บริโภคพบเห็นการกระทำของผู้ขายเครื่องสำอางปลอม ไม่ได้มาตรฐาน ร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย.โทร 1556 หรือสายด่วนสภาองค์กรของผู้บริโภค 0-2239-1839

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ข่าวลวง : ล่อผู้ใจบุญบริจาคสิ่งของให้ รพ.สงฆ์

ขณะนี้มีการแชร์ข้อความในสื่อออนไลน์ โรงพยาบาลสงฆ์ กำลังขาดแคลนสิ่งของจำเป็น ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแจ้งว่าได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นข่าวเท็จ  

โดยข้อความที่ถูกแชร์ต่อไปเป็นวงกว้าง ระบุว่า เป็นการขอรับบริจาคในนามโรงพยาบาลสงฆ์ ซึ่งขาดแคลนสิ่งของเหล่านี้ : หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ นมไวตามิลค์สูตรน้ำตาลน้อย และอาหารเสริมสำหรับโรคเบาหวาน  

ทางโรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปฎิเสธว่า ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อความของโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้ โรงพยาบาลสงฆ์ไม่ได้ขาดแคลนสิ่งของต่าง ๆ ตามที่ระบุในข้อความดังกล่าว

หากมีสิ่งใดที่โรงพยาบาลขาดแคลนหรือต้องการ ทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้ลงชี้แจงเฉพาะเป็นรายการสิ่งของที่ควรบริจาคในเพจเฟซบุ๊กของโรงพยาบาลสงฆ์เองเท่านั้น เพื่อเป็นการจัดการของบริจาคให้ตรงกับความต้องการของทางโรงพยาบาล ทั้งนี้ โรงพยาบาลสงฆ์เปิดรับบริจาคสิ่งของและจตุปัจจัย เพื่อใช้ดูแลพระสงฆ์อาพาธ

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เฟซบุ๊ก โรงพยาบาลสงฆ์ PriestHospital หรือ โทร. 02-640-9537

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3PONDF7

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเท็จ : รับประทานผักกาดขาวหมัก รักษาตับอักเสบ

ขณะนี้มีการแชร์ข้อมูลด้านสุขภาพสูตรผักกาดขาวหมักกับน้ำตาลซีอิ๊ว และเกลือ 10 นาที รับประทานเป็นประจำจะช่วยรักษาอาการตับอักเสบ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแจ้งว่าจากการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ปัจจุบันไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปว่าการกินแบบสูตรดังกล่าว จะรักษาอาการตับอักเสบในคนได้ 

อย่างไรก็ตาม ผักกาดขาวมีวิตามินซีสูง (52 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) และสารฟลาโวนอยด์กลุ่ม สารอินดอล ไอโซไทโอไซยาเนท ช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งงานวิจัยศึกษาในสัตว์ทดลอง มีการนำน้ำผักกาดขาวมาใช้ช่วยย่อยอาหารให้ดีขึ้น และต่อต้านการอักเสบ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคของระบบทางเดินอาหาร

สภาองค์กรของผู้บริโภค แนะนำให้ผู้บริโภคยึดข้อมูลกรมอนามัยเป็นหลัก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3ahOmhD

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเท็จ : หน้ากากอนามัยที่ไม่ระบุ VFE จะไม่สามารถป้องกันไวรัสได้

จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่า หากสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ไม่ระบุ VFE (Viral Filtration Efficiency) หรือประสิทธิภาพการกรองไวรัส เท่ากับหน้ากากนั้นป้องกันไวรัสไม่ได้นั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวลวงแจ้งว่าเป็นข่าวปลอม โดยอ้างถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงยืนยันว่า หน้ากากอนามัยที่ไม่ได้ระบุ VFE หรือที่ระบุวัตถุประสงค์อื่น เช่น ป้องกันฝุ่นละออง ป้องกันกลิ่น ก็มีประสิทธิภาพป้องกันการทะลุผ่านของละอองฝอย และเชื้อไวรัสที่ปนมากับละอองฝอยได้

ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก อย. กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.fda.moph.go.th หรือโทรสายด่วน อย. 1556

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3M3ukVk

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : หลอกว่าธนาคารกรุงไทยให้ยืม 100,000 บาท ผ่อนเดือนละ 300 บาท ไม่ต้องมีผู้ค้ำ

ในขณะนี้ มีการปล่อยข่าวว่า ธนาคารกรุงไทย เปิดสินเชื่อชื่อ ‘กรุงไทยใจป้ำ’ ให้ยืม 100,000 บาท ผ่อนเดือนละ 300 บาท ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้แจ้งการตรวจสอบข้อมูลกับธนาคารกรุงไทย พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ เป็นที่สังเกตได้ว่ามิจฉาชีพล่อเหยื่อด้วยการใช้ชื่อที่คล้ายคลึง และมีการนำโลโก้ของธนาคารประกอบการเชิญชวน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเชื่อ
ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งนี้ หากพบ SMS อีเมล หรือ LINE ที่มีลิงก์แอบอ้างเป็นธนาคาร หรือพบเหตุผิดปกติ สามารถแจ้งผ่าน Facebook Fanpage Krungthai Care และ Krungthai Contact Center โทร. 02-111-1111 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3xaA3Vt

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : กลลวงส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง ระบาดอีกแล้ว

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยประชาชนว่า ขณะนี้มิจฉาชีพแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์นำกลลวง มุกเดิม “พัสดุเก็บเงินปลายทาง ไม่ได้สั่งแต่มีของมาส่ง” กลับมา

โดยจะมีการสุ่มส่งสินค้าไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อเรียกเก็บเงินปลายทาง ซึ่งจำนวนเงินที่เรียกเก็บจะเป็นจำนวนที่ไม่สูงนัก แต่สิ่งของข้างในมีราคาต่ำกว่าราคาที่จ่ายไปมาก

สำหรับใครที่มั่นใจแล้วว่า สินค้าหรือพัสดุที่นำมาส่งพร้อมเรียกเก็บเงินปลายทางนั้น ไม่ใช่ของที่คุณหรือคนในครอบครัวสั่ง ให้ปฏิเสธการรับทันที

ถ้ามีพัสดุเก็บเงินปลายทางเป็นชื่อคนในครอบครัว แนะนำให้สอบถามให้ชัดเจนก่อน ว่าได้สั่งหรือไม่

โทรปรึกษาสอบถามตำรวจไซเบอร์ 1441 หรือ 081-866-3000

แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
https://www.thaipoliceonline.com/


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 1 มิถุนายน 2565

เตือนภัย : ห้ามบอกรหัส OTP แก่ผู้ใด มิจฉาชีพรออยู่

รหัส OTP คือรหัสลับของเรา อย่าเอาให้ใครเด็ดขาด!

ค่ายมือถือแจ้งเตือนภัยผ่านเพจ ตำรวจไซเบอร์ (PCT Police) มายังผู้ใช้หมายเลขมือถือทุกเบอร์ ทุกเครือข่ายว่า ค่ายมือถือทุกค่ายไม่มีนโยบายติดต่อลูกค้าก่อน หรือส่งลิงก์ให้ลูกค้าอัปเดตข้อมูลส่วนตัวใด ๆ และไม่มีกิจกรรมที่ให้พนักงานติดต่อลูกค้าไปก่อน เพื่อร้องขอ OTP จากลูกค้า หรือสอบถามข้อมูลส่วนตัว

จึงขอแจ้งเตือนลูกค้าและประชาชนทั่วไปที่ได้รับข้อความรูปแบบดังกล่าว อย่าหลงเชื่อ และระมัดระวังช่องทางการโจรกรรมออนไลน์ที่สามารถเกิดได้หลายรูปแบบ พร้อมแนะนำข้อควรทำดังนี้

1.ห้ามให้ OTP แก่ผู้อื่น รวมถึงเลขที่บัญชีธนาคาร หรือบัญชีบัตรเครดิต ถ้าถูกเปิดเผยจะเสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือนำไปสวมรอยแอบอ้างยืนยันตัวตน อาทิ การเป็นเจ้าของบัญชีธนาคาร เปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีธนาคารกับแอปพลิเคชันบนมือถือ บัญชีบัตรเครดิต การซื้อสินค้าออนไลน์ รวมถึงยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชีโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จากผู้ไม่หวังดี

2.ห้ามกดลิงก์จากบุคคลที่ไม่รู้จัก การกดลิงก์จากบุคคลอื่นที่ส่งมาจะทำให้เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง โดยมิจฉาชีพอาจจะติดต่อผ่านช่องทางแชทต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย หรือข้อความสั้น (SMS) ซึ่งจะหลอกให้กดลิงก์ที่นำไปสู่การติดตั้งโปรแกรม ซึ่งสามารถดักข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เพื่อสวมรอยเป็นเหยื่อไปทำธุรกรรมสร้างความเสียหาย หรือโอนย้ายเงินในบัญชีทั้งหมดของเหยื่อไปสู่บัญชีของมิจฉาชีพ

หากพลาด หลงกลให้โจร แจ้งสายด่วน 1441 หรือโทร. 081-866-3000 หรือสามารถแจ้งความออนไลน์ ได้ที่ www.thaipoliceonline.com

ข่าวปลอม : ธนาคารออมสินเปิดกู้ 30,000 บาท ผ่อน 625 บาท ต่อเดือน

กรณีเว็บไซต์ได้เผยแพร่ข้อมูลการขอสินเชื่อจากธนาคารออมสิน ว่าอนุมัติทุกอาชีพ กู้ได้สูงสุด 30,000 บาท ผ่อนเริ่มต้น 625 บาทต่อเดือน ทางฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารออมสิน ได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่าผลิตภัณฑ์สินเชื่อ QR รายวันไม่ได้มีการเปิดรับการยื่นขอสินเชื่อรายใหม่ และอยู่ระหว่างการพิจารณายกเลิกการให้บริการสินเชื่อดังกล่าว

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ อีกทั้งขอให้ใช้ความระมัดระวังพิจารณาและตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องจากธนาคารออมสินก่อนทุกครั้ง จากเว็บไซต์ www.gsb.or.th หรือเพจเฟซบุ๊ก GSBsociety หรือโทร. 1111

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3GF9c6I

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

สถิติแจ้งความออนไลน์ บอกอะไรกับผู้บริโภค

สถิติคดีออนไลน์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 จนถึง 29 พฤษภาคม 2565 พบว่า คดีแจ้งความสูงสุด 3 อันดับแรก คือ หลอกซื้อสินค้าไม่ได้สินค้า หลอกทำงานออนไลน์ และหลอกให้เงินกู้

โดยมีผู้เสียหายแจ้งความแล้ว 30,029 ราย โดยจำนวนแจ้งความคดีสูงสุด 3 อันดับ มีดังนี้

1.ซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า 10,603 คดี ซึ่ง ศปอส. แนะนำผู้บริโภคให้เลือกซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือหรือรู้จักเท่านั้น

2.หลอกให้ทำงานออนไลน์ เช่น ให้รีวิวสินค้า, กดไลก์ Tiktok, กดไลก์สินค้า 3,666 คดี ซึ่ง ศปอส. แจ้งว่ามีการระบาดอย่างมาก จึงขอเตือนประชาชนว่างานที่การันตีรายได้วันละ 500 – 1,000 บาท ส่วนมากไม่มีอยู่จริง อย่าเชื่อข้อความจากคนที่ไม่รู้จัก และขอแนะนำให้สมัครงานกับบริษัทที่จดทะเบียนเท่านั้น

3.หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน 2,993 คดี โดย ศปอส. พบว่า ข้อความอนุมัติวงเงินกู้จากคนที่ไม่รู้จักส่วนมากจะเป็นมิจฉาชีพ

ศปอส. จึงชักชวนให้ประชาชน ติดตามจากเพจ PCT Police ที่จะมีข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อการเท่าทันความคิดมิจฉาชีพ และไม่ตกเป็นเหยื่อ

ข่าวปลอม : ข้าวหมากช่วยบรรเทาอาการวัยทองได้

ขณะนี้มีการแชร์ข้อมูล ว่าข้าวหมากช่วยบรรเทาการวัยทองได้นั้น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบกับสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขแล้วพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัยยืนยันว่า ยังไม่พบการศึกษาวิจัยเรื่องข้าวหมากสามารถช่วยบรรเทาอาการวัยทองได้ และหากรับประทานมากจะทำให้ได้รับพลังงานสูงเกินความจำเป็นต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม สำนักโภชนาการได้อธิบายต่อว่าข้าวหมากที่ทำจากข้าวเหนียวดำจะได้ประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว เพราะมีสารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3m52Nby

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย