รวมข่าวเตือนภัย, ข่าวปลอม, ข้อมูลเท็จ, จับโกง : กันยายน


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 30 กันยายน 2565

ข่าวปลอม : ไปรษณีย์ประกาศรับสมัครพนักงานผ่านเฟซบุ๊ก

ตามที่การเผยแพร่ข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ประกาศรับสมัครพนักงานผ่านเฟซบุ๊กในตำแหน่ง พนักงานคัดแยกพัสดุ และส่งพัสดุ พร้อมใช้ตราสัญลักษณ์จากทางไปรษณีย์ไทย เพื่อใช้ในการชักชวนนั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ไปรษณีย์ไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

บริษัท ไปรษณีย์ไทย ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง โดยหากมีการประกาศรับสมัครทางไปรษณีย์ไทยจะประกาศทางช่องทางหลักคือ www.thailandpost.co.th เท่านั้น

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ข่าวจริง : สถาบันโรคผิวหนังเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิดแทนศูนย์บางซื่อ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65

สถาบันโรคผิวหนังเปิดจุดฉีดวัคซีนต่อ ณ สถาบันโรคผิวหนัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ศูนย์ฯ บางซื่อจะเปิดบริการวันสุดท้ายในวันที่ 30 กันยายน 2565 จากนั้น ท่านที่ประสงค์ฉีดวัคซีน สามารถรับบริการได้ที่สถาบันโรคผิวหนัง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ที่มา: ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ข่าวบิดเบือน : งูสวัดหายได้ด้วยวิตามินดี และผักตระกูลกระหล่ำ

จากกรณีที่มีผู้ให้ข้อมูลโดยระบุว่างูสวัดหายได้เพียงกินวิตามินดี 3 50,000 IU, วิตามินซี 500 มก.x3, Fasting 18/6, Zinc 200 มก., L-Lysine 600 มก.++, เมลาโทนิน 3 มก. และผักตระกูลกระหล่ำ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือนทางสถาบันโรคผิวหนัง

กรมการแพทย์ ชี้แจงว่าโรคงูสวัด เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคสุกใส และเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสเริม โดยที่ผู้ป่วยเมื่อเป็นโรคสุกใสแล้ว เมื่อหายจากโรค เชื้อไวรัสจะเข้าไปซ่อนในปมประสาท และจะถูกกระตุ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย มีความเครียด การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้ยาเคมีบำบัด ซึ่งทำให้อาการของโรคกำเริบเกิดเป็นโรคงูสวัดได้

อาการแสดงเบื้องต้นคือ ปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนัง ต่อมาจะมีผื่นแดงตามด้วยตุ่มน้ำ ในลักษณะเป็นกลุ่มเรียงตัวตามแนวเส้นประสาท โดยที่ตุ่มน้ำสามารถกลายเป็นตุ่มหนองและแตกเป็นแผล หรือเป็นสะเก็ดตามมาได้ หลังจากอาการทางผิวหนังหายแล้ว อาจมีอาการปวดเรื้อรังในผู้ป่วยบางราย รวมถึงอาจมีแผลเป็นตามหลังได้ ซึ่งการรักษาโรคงูสวัดนั้น มีทั้งการรักษาตามอาการ และการรักษาร่วมกับการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อช่วยให้การหายของโรคเร็วขึ้น และให้ยาแก้ปวดปลายเส้นประสาท เพื่อป้องกันและลดความทุกข์ทรมานจากโรคงูสวัด ส่วนวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ รวมไปถึงการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยการดูแลสุขภาพ ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคงูสวัดได้

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนว่าการรับประทานวิตามิน หรืออาหารเสริมชนิดใดแล้วจะสามารถป้องกันและทำให้โรคงูสวัดหายได้ จุดสำคัญจึงควรมุ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง การรับประทานอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 29 กันยายน 2565

ข่าวปลอม : อ้างว่ายาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ทำให้เป็นมะเร็ง

ตามที่มีการโพสต์ข้อความสุขภาพในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้แจงว่าฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติที่สามารถป้องกันฟันผุ ช่วยยับยั้งการสร้างกรดของแบคทีเรียและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียในช่องปากได้ ซึ่งฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ผสมในยาสีฟันโดยทั่วไปความเข้มข้นประมาณ 1,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm) จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ และอันตรายจากฟลูออไรด์อาจเกิดจากการกลืนยาสีฟันฟลูออไรด์หรือน้ำยาบ้วนปากที่มีปริมาณฟลูออไรด์เกินขนาดในครั้งเดียว ซึ่งอาจทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น อย่างไรก็ตามในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งนั้น จากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยในปัจจุบัน พบว่า การได้รับฟลูออไรด์ในรูปแบบและขนาดที่เหมาะสมไม่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง

กอย่างไรก็ตาม สามารถใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ได้ในเด็กตั้งแต่วัยที่เริ่มมีฟันน้ำนม โดยปริมาณของยาสีฟันที่ใช้จะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย นอกจากนี้เราจำเป็นต้องทำความสะอาดฟันโดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี รวมถึงไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอทุก 6 เดือน

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

เตือนภัย : มิจฉาชีพชวนบริจาคเงินเข้า รพ.สงฆ์ ด้วยเบอร์บัญชีปลอม

ตามที่ได้ข้อความประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆเรื่องเลขบัญชี 798-0-27740-6 สำหรับบริจาคเงินบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าเป็นการแอบอ้างจากมิจฉาชีพ ซึ่งเลขบัญชี 798-0-27740-6 ที่ระบุในข้อความประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ไม่ใช่เลขบัญชีที่เปิดรับบริจาคของโรงพยาบาลสงฆ์

ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลฯ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเลขที่บัญชีรับบริจาคแต่อย่างใด รวมถึงได้ดำเนินการแจ้งความเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ที่แอบอ้างแล้ว

สำหรับช่องทางบริจาคเงินบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนศรีอยุธยา บัญชี ฝากออมทรัพย์ เลขที่ 013-1-85026-1 ชื่อบัญชี เงินบริจาคบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์ หรือติดตามรับข่าวสารการบริจาคได้ที่หน้าเว็บไซต์ www.priest-hospital.go.th โรงพยาบาลสงฆ์เท่านั้น

ที่มา: ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

ข่าวปลอม : หลอกว่าสเปย์สุมนไพรรักษาริดสีดวง มีใบรับรองจาก รพ.

ตามที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผลิตภัณฑ์สเปย์สมุนไพรรักษาริดสีดวง (Herbal Hemorrhoids Spray) ช่วยกำจัดริดสีดวงทวาร มีใบรับรองแพทย์จากรพ. บำรุงราษฎร์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดย อย.ชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ Herbal Hemorrhoids Spray เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากอย. ทั้งนี้ โรงพยาบาลฯ และแพทย์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ เกี่ยวกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์ ภาพประกอบ และสรรพคุณที่มีการกล่าวอ้างในโฆษณาแต่อย่างใด

ที่มา : กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB)

เตือนภัย : หลอกโอนเงินอ้างมีพัศดุตกค้างที่ไปรษณีย์ไทย

ตามที่การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องไปรษณีย์ไทย ส่ง เอสเอ็มเอส (SMS) แจ้งเตือนมีพัสดุตกค้าง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย ชี้แจงว่าเป็นกลโกงมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ใช้ช่องทาง SMS แจ้งว่ามีพัสดุตกค้าง พร้อมค่าบริการที่ต้องชำระ ไปรษณีย์ไทยขอย้ำว่าผู้ได้รับข้อความดังกล่าวห้ามกรอกข้อมูลสำคัญเนื่องจากเป็นการหลอกให้โอนเงินโดยไปรษณีย์ไทยขอแจ้งเตือนภาคประชาชน ซึ่งขณะนี้มีการใช้ช่องทาง SMS ส่งข้อความหาผู้ใช้บริการโดยระบุข้อความภาษาอังกฤษว่า “Thailandpost : Your Package is still awaiting processing Please confirmDeliver Charges” หรือ “ขณะนี้คุณมีพัสดุตกค้างที่ไม่สามารถจัดส่งได้ กรุณาชำระค่าบริการ” พร้อมแนบลิงก์เพื่อให้ผู้ที่ได้รับ SMS กด เพื่อนำไปสู่การกรอกข้อมูลสำคัญ ได้แก่

หมายเลขบัตรเครดิต ซื่อผู้ถือบัตรวันหมดอายุของบัตร และรหัส 3 หลักสุดท้าย (CVC / CVV ที่อยู่ด้านหลังบัตรเครดิต / เอทีเอ็ม พร้อมด้วยจำนวนเงินที่ต้องชำระค่าบริการ และหมายเลขติดตามพัสดุไปรษณีย์ไทยขอย้ำเตือนว่าผู้ที่ได้รับข้อความดังกล่าวห้ามกดลิงก์ หรือกรอกข้อมูลบนบัตรเครดิต และบัตร ATM เด็ดขาด เนื่องจากเป็นการหลอกให้โอนเงินจากมิจฉาชีพ และไปรษณีย์ไทยไม่มีนโยบายในการแจ้งเรียกเก็บค่าดำเนินการใดๆ ผ่านทาง SMS ทั้งสิ้น

ที่มา: ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 28 กันยายน 2565

ระวัง : ต้มกระท่อมขาย = มีความผิดเเน่นอน

กองบัญชาการสอบสวนกลางเตือนประชาชนทั่วไปอย่าต้มใบกระท่อมขาย อาจถูกจับกุมได้ โดยชี้แจงว่าถึงแม้จะมีการปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถ จำหน่าย ครอบครอง หรือนำมาบริโภคส่วนตัวได้ เเต่ยังมีประชาชนเข้าใจผิดว่าใบกระท่อมนั้นสามารถต้มขายได้

ทั้งนี้ ใบกระท่อมสามารถนำมาต้มกินเองได้ แต่ไม่สามารถต้มขายได้ เพราะกฎหมายระบุว่า หากผู้ผลิตไม่มีใบอนุญาตในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร แม้ผสมหรือไม่ผสมกับสิ่งใดก็ตาม เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2562 มาตรา 91 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท และมาตรา 106 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เเละผิดกฎหมาย พ.ร.บ.อาหาร 2522 มาตรา 50 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท
หากผู้ใดพบเห็นการกระทำดังกล่าวสามารถเเจ้งเบาะเเสการกระทำความผิดได้ที่ สายด่วนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค โทร. 1135 หรือเพจสอบสวนกลาง (CIB)

ที่มา : กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB)

ช้า เช็ก ชัวร์ ปลอดภัย ก่อนสแกน

“ช้า – ช้าลงอีกนิดก่อนสแกน” ตำรวจสอบสวนกลางแนะประชาชนให้ตรวจสอบคิวอาร์โค้ด (QR Code) ก่อนทำธุรกรรม เพื่อให้มั่นใจว่า QR Code ที่จะสแกน ถูกต้องไม่มีอะไรมาปิดทับ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพแอบปลอมแปลง QR Code

เช็ก – เช็กที่ไปที่มาของ QR code ทุกครั้งว่ามาจากแหล่งเชื่อถือได้หรือไม่ ปลายทางของ QR code ถูกต้องรึเปล่า หากเป็นช่องทางที่ใช้ชำระเงิน ให้เช็คจำนวนเงินและที่อยู่ผู้รับทุกครั้งว่าถูกต้องหรือไม่

ชัวร์ – เมื่อมั่นใจว่าชัวร์แล้วค่อยกดไปยังเว็บไซต์ หรือกดตกลงเพื่อโอนเงิน

เพื่อให้เพื่อน ๆ ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพกลุ่มนี้

ที่มา : กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB)

รอบรู้ : “ใบสั่งจราจร” ส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน เช็กได้ ของจริง-ของปลอม

ตำรวจสอบสวนกลางแนะวิธีสังเกตใบสั่งอีเล็กทรอนิกส์ก่อนที่จะไปจ่ายค่าปรับดังนี้: การออกใบสั่ง อิเล็กทรอนิกส์ตาม พรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา 140 และมาตรา 141 ที่ทำการส่งไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถ จะต้องมีการลงระบบ PTM ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน

โดยขั้นตอนการออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ มีรายละเอียดดังนี้

ครั้งแรก ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ จะมีรูปถ่ายรถ หมายเลขทะเบียนรถ และข้อหากระทำความผิดครบ หากไม่จ่ายค่าปรับใน 7 วัน จะมีใบเตือน

ครั้งที่สอง เป็นใบเตือนให้ชำระค่าปรับใบสั่ง ซึ่งในเอกสารครั้งที่สองนี้ จะไม่มีรูปถ่ายรถประกอบ แต่จะมีแค่ QR code บอกวิธีการชำระเงิน และ มีลายเซ็นนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไป เซ็นประกอบ แต่ยืนยันว่า เป็นเอกสารทางราชการจริง
โดยผู้ได้รับใบสั่งจราจร สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ว่าเป็นใบสั่งจริง ได้ดังนี้

สามารถนำเลขที่ใบสั่ง เข้าไปตรวจสอบได้ที่ https://ptm.police.go.th/eTicket/#/

จุดสังเกตที่สำคัญ คือ บัญชีธนาคารปลายทางที่จะรับเงิน ต้องเป็นบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ-ค่าปรับจราจร” เท่านั้น (ถ้าเป็นบัญชีส่วนบุคคลให้สงสัยว่าเป็นใบสั่งปลอม)

หากพบเบาะแส หรือข้อสงสัยเรื่องภัยออนไลน์ต่างๆ สามารถแจ้งหรือสอบถามได้ที่ inbox เพจสอบสวนกลาง และสามารถติดตามข่าวสารเตือนภัยอาชญากรรมได้ที่เพจตำรวจสอบสวนกลาง

ที่มา : กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB)

รวมภัย QR Code ปลอม ที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอกลวง

  1. หลอกให้โอนเงิน สแกนปั๊บ กดโอเคปุ๊บ เงินหายทันที
  2. หลอกเข้าลิงก์เพื่อดักเอาข้อมูลสแกนไปโผล่เว็บไหนไม่รู้ ข้อมูลโดนแฮกทันที
  3. หลอกให้โหลดไวรัสเข้าเครื่อง สแกนปุ๊บ ไวรัสมาปั๊บ
  4. หลอกเข้าเว็บธนาคารปลอม ล็อกอินเมื่อไหร่ ใส่รหัสเข้า E-Banking เสร็จโจรทันที

ที่มา : กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 27 กันยายน 2565

5 วิธีสังเกต แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอบอ้างส่งลิงก์ ดูดเงินจากบัญชีธนาคาร

เพื่อลดความเสียหาย ทางเรามีวิธีการสังเกตเบื้องต้น 5 ข้อ ดังนี้

1. แก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะติดต่อสอบถามเหยื่อ โดยมีข้อมูลเบื้องต้นของเหยื่อ และจะแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ ของเหยื่อได้ เช่น ชื่อ นามสกุล ชื่อร้านค้าที่ลูกค้าร่วมนโยบายกับรัฐ เลขภาษี ฯลฯ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

2. แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะพยายามหว่านล้อม โดยการขอเพิ่มเพื่อนในไลน์ เพื่อทำการพิมพ์พูดคุยหลอกลวง

3. แก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่งลิงก์ข้อความให้เข้าหน้าเว็บไซต์ โดยจะหลอกให้หลงเชื่อแล้วกดลิงก์ที่อยู่เว็บไซต์ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ปลอม (Phishing) เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมการควบคุมระยะไกล

4. แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อาจจะขอแชร์หน้าจอโทรศัพท์ เพื่อแชร์หน้าจอจากวีดีโอคอล

5. แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้เหยื่อเปิดแอปพลิเคชันธนาคาร และขโมยรหัส PIN 6 หลัก ในการเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร โดยจะสามารถควบคุมเข้าใช้งานแอปพลิเคชันแทน

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์ PCT Police

6 จุดสังเกต แม่ค้าออนไลน์ ของขายไม่ได้ หลอกระดมทุน

กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB) เตือนประชาชน ระวังภัยจากแม่ค้าออนไลน์ หลังพบแม่ค้าออนไลน์บางราย มีพฤติกรรมหลอกให้ร่วมลงทุนขายสินค้า แต่ภายหลังกลับไม่ยอมส่งสินค้าให้ หรือส่งสินค้าให้ แต่สินค้าขายไม่ออก ผลสุดท้ายกลายเป็นหลอกระดมทุน โดยวิธีสังเกตแม่ค้าออนไลน์ หลอกระดมทุน มีดังนี้

  1. มักจะโพสต์คอนเทนต์ทางออนไลน์ ว่ามียอดสั่งซื้อสินค้าสูง โดยจะถ่ายภาพคู่กับกล่องไปรษณีย์ แต่แท้จริงเป็นกล่องเปล่า
  2. มักสร้างโปรไฟล์ว่ามีฐานะดี ใช้ของแบรนด์เนม ขับรถหรู
  3. จะชักชวนมาขายสินค้าในลักษณะเครือข่าย โดยอ้างว่าจะจ่ายผลตอบแทนให้ตามจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น
  4. หลอกว่าผลิตภัณฑ์ใช้ได้ผลดี เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สามารถลดน้ำหนักได้จริง แต่เมื่อบริโภคแล้วกลับไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้าง ส่งผลทำให้ลูกทีมขายสินค้าไม่ได้ สินค้าค้างในสต็อกปริมาณมาก
  5. อ้างว่าร่วมลงทุนแล้วจะได้รับเงินปันผลสูง เช่น ได้รับเงินปันผล 60 – 70% ลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่
  6. โฆษณาจูงใจให้ซื้อสินค้าไปในปริมาณมาก ให้หวังโปรโมชั่นการลดแลกแจกแถมต่าง ๆ เช่น ซื้อสินค้า 10 กล่อง จะแจกทอง 1 บาท แต่ภายหลังไม่ได้รับของแถมจริง

หากพบแม่ค้าออนไลน์ในลักษณะดังกล่าว ขอให้พึงระวังไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นการหลอกระดมทุน หรือแชร์ลูกโซ่ ทั้งนี้สามารถนำข้อมูลมาปรึกษาที่เพจสอบสวนกลาง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา : กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 26 กันยายน 2565

ระวัง : โดนเรียกค่าไถ่จากการโดนล็อกข้อมูล

แรนซั่มแวร์ (Ransomware) เป็นมัลแวร์ (Malware) หรือไวรัสประเภทหนึ่งที่จะทำการล็อกไฟล์ เราจะไม่สามารถเปิดไฟล์ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใด ๆ ได้เลยหากไฟล์เหล่านั้นถูกล็อก เราจะต้องใช้คีย์ในการปลดล็อคเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา และจะต้องทำการจ่ายเงินตามข้อความ “เรียกค่าไถ่” ที่ปรากฏจำนวนเงินค่าไถ่ก็จะแตกต่างกันไป โดยเบื้องต้นก็จะมีราคาอยู่ที่ 150 – 500 ดอลล่าห์โดยประมาณ และการชำระเงินจะต้องชำระผ่านระบบที่มีความยากต่อการตรวจสอบหรือติดตาม เช่น บิตคอยน์ (Bitcoin) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การชำระเงินก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการปลดล็อกไฟล์แต่อย่างใด

วิธีป้องกันเบื้องต้น

1. สำรองข้อมูล (Backup) เป็นประจำ หากผู้ใช้งานติด แรกซั่มแวร์ Ransomware อย่างน้อยถ้ามีการสำรองข้อมูลก็จะสามารถกู้คืนไฟล์ของคุณได้ และเพื่อป้องกันข้อมูลที่สำรองไว้ Backup ถูกเข้ารหัสไปด้วย ผู้ใช้งานควรสำรองข้อมูลลงบนอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลภายนอกเครือข่าย

2. อัปเดตซอฟต์แวร์ในเครื่องอย่างสม่ำเสมอ การอัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์จะช่วยป้องกันการโจมตีที่ต้องอาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปรแกรม Adobe Flash, Microsoft Silverlight และเว็บเบราเซอร์ ควรติดตามและอัปเดตให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบัน

3. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ (Anti – malware) ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายและตรวจสอบไฟล์ทั้งหมดที่ถูกดาวน์โหลด ควรมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ด้วย

4. ตรวจสอบอีเมลที่เป็นอันตรายเบื้องต้น ผู้ไม่หวังดีมักใช้อีเมลเป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้ใช้งานให้หลงเชื่อเปิดหรือดาวน์โหลดเอกสารแนบ ดังนั้น เมื่อเราได้รับอีเมลควรตรวจสอบอีเมลฉบับนั้นให้ดีเสียก่อน

5. ติดตามข่าวสาร ควรติดตามข่าวสารช่องโหว่หรือภัยคุกคามต่าง ๆ รวมถึงศึกษาวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่าผู้ไม่หวังดี

อันตรายบนโลกออนไลน์มีอยู่ใกล้ตัวมาก ๆ คลิกพลาดแค่คลิกเดียวอาจจะทำให้คุณสูญเสียข้อมูลรวมถึงเงินจำนวนมากมาย ระวังให้มาก ๆ

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์ PCT Police


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 25 กันยายน 2565

เตือนภัย : หลอกลงทุนเพาะพันธุ์กระท่อมส่งต่างประเทศ

ตำรวจสอบสวนกลางเตือนภัยประชาชนหลังพบผู้เสียหายจากการถูกหลอกให้ลงทุนปลูกพืชกระท่อมต่อเนื่อง โดยผู้ชักชวน มักจะอ้างว่าสามารถส่งไปขายที่ต่างประเทศได้ ตอนนี้เฉพาะที่ จ.สุราษฎร์ธานี มีผู้เสียหายแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ราย

ผู้เสียหายเล่าว่า ถูกชักชวนให้ลงทุนเพาะเมล็ดพันธุ์ แล้วมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มีการทำคลิปวีดีโอและอ้างว่าจะนำไปเสนอผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อ้างสถานศึกษา

ก่อนจะเงียบหายไป ทวงถามเงินคืนก็ไม่ได้ สุดท้ายมีผู้เสียหายรวมหลายล้านบาท จึงเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการชักชวนดังกล่าว หากมีการเรียกร้องค่าใช้ข่ายอาจสงสัยได้ว่าอาจตกเป็นเหยื่อมิจาชีพ

ที่มา : กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB)

เตือนภัย : มิจฉาชีพในคราบนักบุญ “แก๊งเรี่ยไร” ในช่วงเทศกาลกินเจ

เทศกาลกินเจปีนี้ กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB) อยากให้ทุกคน อิ่มบุญ อิ่มใจ ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ จึงอยากให้ระมัดระวังมิจฉาชีพในคราบนักบุญ ที่อาจจะมาหลอกขอ “เรี่ยไร” เงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา โดยแอบอ้างว่ามาจากมูลนิธิการกุศล หรือโรงเจต่าง ๆ

หากพบผู้มาขอ “เรี่ยไร” เงินบริจาค ให้ท่านตรวจสอบใบอนุญาตการเรี่ยไร ว่ามีการได้รับอนุญาตหรือไม่ หรือโทรสอบถามไปยังหน่วยงานที่ถูกอ้างถึง

การเรี่ยไรเงินโดยบังคับให้เกิดความกลัว มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท หรือจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา : กองบัญชาการสอบสวนกลาง (CIB)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 24 กันยายน 2565

ผู้บริโภคต้องรู้ จอดรถกั๊กบนถนน ผิดกฎหมาย

ตามที่มีผู้บริโภคหลายท่านชอบมีวิธีการจอดรถยนต์ รถจักรยานยน เพื่อกั๊กที่ไว้บนถนอนนั้น มีความผิดตามกฎหมาย จริงหรือ ?

จริง! หากผู้บริโภคจอดรถกั๊กที่ไว้บนถนนจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 19, 48 วรรค 3 และ 57 โดยผู้บริโภคจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ที่มา : กระทรวงยุติธรรม

เกร็ดความรู้ เลือกซื้อ ปลั๊กพ่วงให้ปลอดภัย

  1. ผู้บริโภคต้องสังเกตปลั๊กพ่วงที่มีสัญลักษณ์ มาตรฐาน มอก. บนผลิตภัณฑ์
  2. ปลั๊กพ่วงจะต้องมีสวิตซ์เปิด – ปิด เต้ารับสามรู รองรับปลั๊กไฟที่มีสายดิน
  3. ผู้บริโภคควรตรวจสอบลักษณะภายนอกให้ดี ไม่มีการแตกหัก อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน

ที่มา : กระทรวงพลังงาน


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 23 กันยายน 2565

ข่าวปลอม : หลอกขายผลิตภัณฑ์ BalanceU/Ucore ไทรอยด์เป็นพิษรักษาหายขาด

ตามที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผลิตภัณฑ์ BalanceU/Ucore ไทรอยด์เป็นพิษรักษาหายขาด คอโต ตาโปน คอยุบ ตาเล็กลง ผอมลง ขี้ร้อน ร่างกายกลับมาเป็นปกติ หลับยาก ใจสั่น หลับง่ายใจไม่สั่นอีกเลย ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ

โดย อย. ได้ชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชื่อ ยูคอร์ (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดแคปซูลนิ่ม)/UCore (Softgel Dietary Supplement Product) เลข อย. 13-1-07458-5-0233 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ คอโต ตาโปน ผอมลง ขี้ร้อน หลับยาก ใจสั่น ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลาก

หากผู้ป่วยหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทาน เพื่อหวังผลในการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ อาจเสียเงินเปล่า และเสียโอกาสในการรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : อ้าง สตง. ยืมเงิน ปชช. แล้วให้ค่านายหน้าซื้อที่ดินให้ต่างชาติ

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แจ้งเตือนประชาชนระวังสูญเงินนับล้านบาท ภายหลังได้รับหนังสือร้องเรียนแจ้งพฤติการณ์ของมิจฉาชีพที่แอบอ้างชื่อ สตง. อำนวยความสะดวกในการนำเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาซื้อที่ดินในไทย พร้อมขอยืมเงินประชาชนโดยอ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการแลกกับผลตอบแทนจากค่านายหน้าซื้อขายที่ดิน

สตง.เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่และอำนาจในการตรวจเงินแผ่นดินและตรวจผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับพฤติการณ์ที่มิจฉาชีพนำไปแอบอ้าง และขอให้ประชาชนระมัดระวังอย่าหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถาม ร้องเรียน แจ้งเบาะแส รวมถึงติดตามข้อมูลข่าวสารของ สตง.ได้ทาง www.audit.go.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 0-2271-8000 ในวันและเวลาราชการ”

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ระวัง : ร่วมมือมิจฉาชีพเปิดบัญชีม้าได้เงินง่าย หมายจับเพียบ !

การถูกหลอกให้เปิดบัญชีม้า หรือการเต็มใจเปิดบัญชีม้าให้ผู้อื่น เพื่อแลกกับเงินค่าจ้าง รู้หรือไม่ว่าคุณอาจจะกำลังตกเป็นส่วนหนึ่งของผู้กระทำความผิด เสี่ยงถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้

ในกรณีที่บัญชีม้าถูกนำไปใช้เป็นช่องทางในการรับโอนเงินที่ผิดกฎหมาย คุณอาจจะถูกดำเนินคดีในความผิดฐานเป็นตัวการ หรือผู้สนับสนุนในความผิดฐานนั้นๆ ได้ และหากกรณีที่ตรวจสอบพบว่าบัญชีดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการฟอกเงิน ก็อาจถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี

ตำรวจสอบสวนกลางจึงขอฝากเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อ หรือยินยอมขายบัญชีธนาคารให้กับผู้อื่นโดยเด็ดขาด และหากพบเห็นประกาศรับซื้อขายบัญชี สามารถแจ้งเบาะเเสไปยังสายด่วน 191 หรือ สายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง CIB

อย่าเชื่อ : อ้างผลิตภัณฑ์อะแด็พโต – แอร์ ฟื้นฟูปอด และร่างกาย ไอ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม

ตามที่มีข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ขายผลิตภัณฑ์อะแด็พโต – แอร์ ฟื้นฟูปอด และร่างกาย ไอ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

โดย สำนักงานอย. ตรวจสอบแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชื่อ อะแด็พโต-แอร์ (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) /Adapto-Air (Dietary Supplement Product) เลข อย. 10-1-19556-5-0145 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการต้านจุลชีพ ลดอักเสบ แก้เจ็บคอ เสริมภูมิคุ้มกัน บำรุงปอด และฟื้นฟูปอดหลังติดเชื้อ ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัดบรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลาก

หากผู้ป่วยหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทานเพื่อหวังผลในการต้านจุลชีพ ลดอักเสบ บำรุงและฟื้นฟูปอดหลังติดเชื้อ อาจเสียเงินเปล่าและเสียโอกาสในการรักษา ซึ่งควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 22 กันยายน 2565

ผู้บริโภคผู้สูงอายุต้องรู้ ใส่ฟันเทียมและรากฟันเทียมฟรี

กระทรวงสาธารณสุข ขอเชิญผู้สูงอายุที่สนใจเข้ารับบริการ ใส่ฟันเทียมและรากฟันเทียม โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 ไม่มีค่าใช้จ่าย

ในโครงการ “ฟันเทียม รากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567”

สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่
สายด่วนสปสช. โทร 1330

ที่มา : กรมอนามัย

ข่าวบิดเบือน : ลิ้นเปลี่ยนสีเป็นอาการของกรดไหลย้อน

ตามที่มีบทความในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องลิ้นเปลี่ยนสีเป็นอาการของกรดไหลย้อน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

โดยโรงพยาบาลราชวิถี ได้ชี้แจงว่าอาการลิ้นส้มไม่ได้ทำให้เป็นกรดไหลย้อน แต่การเป็นกรดไหลย้อนมีส่วนที่ทำให้ลิ้นเปลี่ยนสี ทั้งนี้อาการกรดไหลย้อนนั้นเกิดจากการที่กรดในช่องท้องมีการตีกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างมีการหย่อน หรือคลาย ทำให้กรดในกระเพาะอาหารสามารถวกกลับขึ้นมายังหลอดอาหารได้อีก ซึ่งอาการกรดไหลย้อนนี้จะทำให้มีรสเปรี้ยวในปาก กลืนอาหารลำบาก เรอเปรี้ยว คลื่นไส้อาเจียน และยังทำให้ลิ้นมีคราบสีขาวหรือเป็นสีส้มอีกด้วย

ดังนั้นข้อมูลและภาพที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน จึงขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rajavithi.go.th หรือโทร 02 206 2900

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ระวัง : ซื้อของมือสองออนไลน์ อาจรับซื้อของโจร

บางท่านมองหาสินค้าแบรนด์เนมเช่น กระเป๋า นาฬิกา หรือเครื่องประดับ จากตลาดมือสองซึ่งมีราคาถูกกว่าโดยไม่รู้ว่าสินค้านั้นมีที่มาอย่างไร อาจเป็นสินค้าที่ได้มาจากการกระทำความผิดของเหล่ามิจฉาชีพก็ได้

วิธีการเบื้องต้นในการสังเกตสินค้ามือสองก่อนตัดสินใจซื้อ ตามข้อมูล ดังนี้

  1. ดูความน่าเชื่อถือของร้านว่าเป็นสินค้าที่ได้มาอย่างถูกต้อง
  2. สอบถามจากพ่อค้าและแม่ค้าถึงที่มาของสินค้าอย่างละเอียด
  3. ติดต่อขอใบการันตี หรือใบรับรองสินค้าสำหรับสินค้าประเภทที่มีใบการันตี
  4. ตรวจสอบรหัสสินค้าจากเว็บไซต์ของสินค้าว่าตรงตามรุ่นหรือไม่ และมีอุปกรณ์ครบถ้วนหรือไม่

หากซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ ผู้ซื้อ ผู้ขายไม่เห็นหน้ากัน และไม่ได้เห็นสินค้าโดยตรง ควรตรวจสอบประวัติการซื้อขายของบุคคล หรือร้านค้าให้ดีก่อน เพราะหากสินค้าที่ท่านได้ซื้อมานั้นเป็นสินค้าที่ได้มาจากการกระทำความผิดแล้ว ท่านอาจตกเป็นผู้ต้องหาที่เข้าข่ายกระทำความผิดฐาน “รับของโจร” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ได้

ที่มา : กองบังคับการปราบปราม

ข่าวปลอม : อ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรติดต่อร้านค้าที่เข้าร่วมคนละครึ่งเรื่องภาษี แล้วหลอกกดลิงค์

ตามที่มีข้อมูลในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรโทรติดต่อร้านค้าที่เข้าร่วมคนละครึ่งเรื่องภาษี และให้แอดไลน์เพื่อส่งลิงก์ให้กดยืนยัน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรมสรรพากร ชี้แจงว่าขณะนี้มีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรหลอกลวงผู้เสียภาษีด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ถามข้อมูลผู้เสียภาษีเบื้องต้น และส่ง URL เว็บไซต์ปลอมที่มีหน้าตาเหมือนเว็บไซต์ของกรมสรรพากรให้ทางไลน์ หรือส่ง SMS หรือ อีเมลถึงผู้เสียภาษี โดยมีเจตนาเพื่อหลอกลวง

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนโปรดอย่าหลงเชื่อและทำตามคำกล่าวอ้างเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้ท่านได้รับความเสียหายต้องสูญเสียทรัพย์สินได้ เมื่อท่านได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ของสรรพากรทุกครั้ง ควรตรวจสอบจากเบอร์กลางของหน่วยงานกรมสรรพากร และ ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 21 กันยายน 2565

เตือนภัย : มิจฉาชีพหลอกว่าทำใบขับขี่ผ่านไลน์ถูกกฏหมายไม่ต้องสอบที่ขนส่ง

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องทำใบขับขี่ไม่ต้องสอบที่ขนส่ง แบบถูกกฎหมาย 100% ผ่านไลน์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความบนสื่อออนไลน์ว่าทำใบขับขี่ไม่ต้องสอบที่ขนส่ง แบบถูกกฎหมาย 100% ผ่านไลน์ ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่าการขอรับใบอนุญาตขับรถทุกชนิดมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ คือ ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถต้องดำเนินการด้วยตนเองทุกขั้นตอนที่สำนักงานขนส่ง ตั้งแต่การตรวจสอบเอกสาร การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย การอบรม การทดสอบข้อเขียน การทดสอบขับรถ และการถ่ายรูปเพื่อออกใบอนุญาตขับรถ

ดังนั้น หากพบเห็นการโฆษณารับทำใบอนุญาตขับรถ โดยไม่ต้องมีขั้นตอนการอบรมหรือทดสอบ ขอให้สันนิษฐานว่าเป็นมิจฉาชีพ และอย่าหลงเชื่อโอนเงินไปให้กลุ่มมิจฉาชีพโดยเด็ดขาด ซึ่งขณะนี้กรมการขนส่งทางบกได้ให้เจ้าหน้าที่รวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการแจ้งความดำเนินคดี กับมิจฉาชีพที่มีพฤติกรรมดังกล่าว

ทั้งนี้ ในปัจจุบันการดำเนินการด้านใบอนุญาตขับรถทุกชนิด ทั้งการขอใหม่และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ กรมการขนส่งทางบกมีบริการจองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ซึ่งสามารถเลือกสำนักงานขนส่ง วันที่ และเวลาที่สะดวกได้ด้วยตนเอง และสำหรับการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ สามารถอบรมภาคทฤษฎีออนไลน์ผ่านระบบอีเลินนิ่ง e-Learning ทางเว็บไซต์ www.dlt-elearning.com เพื่อนำผลผ่านการอบรมมาติดต่อที่สำนักงาน ลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในการติดต่อ

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

แชร์มั่ว : “ข้าวแช่เย็น นำมาหุงใหม่ ลดน้ำตาลได้ จริงหรือ ? “

รายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep.66 ตอน “ข้าวแช่เย็น นำมาหุงใหม่ ลดน้ำตาลได้ จริงหรือ? ” ในเพจ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฏ์”

ได้กล่าวถึงการแชร์ข้อความกันถึงสูตรในการ “เอาไข้าวแช่ตู้เย็น แล้วมาอุ่นกินใหม่ โดยอ้างว่า สามารถลดปริมาณน้ำตาลในข้าวได้” เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องมั่ว ?

คำเฉลยคือ “เป็นเรื่องมั่ว” ไม่มีหลักฐานสนับสนุนแต่อย่างไรว่าสูตรดังกล่าวนี้จะเป็นเรื่องจริง จะทำให้น้ำตาลในข้าวลดลงได้จริง วิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้โครงสร้างโมเลกุลของแป้งในข้าวเปลี่ยนไป แล้วย่อยเป็นน้ำตาลได้ยากขึ้น ได้ช้าลง หลังจากเรากินเข้าไป (ซึ่งอาจจะดีสำหรับคนเป็นเบาหวานที่พยายามควบคุมน้ำตาลในเลือด) ส่วนวิธีลดน้ำตาลที่บริโภคผ่านข้าวในแต่ละวัน ได้ดีที่สุด ก็เพียงแค่ลดปริมาณข้าวที่กินเข้าไปนั่นเอง
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมจากรายงานข่าวที่เพจ factcheck thailand ของสำนักข่าว AFP ที่ได้รวบรวมข้อมูลไว้ที่
https://factcheckthailand.afp.com/doc.afp.com.32GR3NZ

ที่มา : เพจ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฏ์”

ข่าวปลอม : หลอกว่าบัตรสวัสดิการฯ ผู้สูงอายุเบิกเงินสดได้

ตามที่มีข้อความแจ้งในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐผู้สูงอายุเตรียมรับเงินพิเศษสามารถกดเป็นเงินสดได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวข่าวเป็นการสร้างความสับสนให้กับผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เนื่องจากเนื้อหาภายในข่าวเป็นเพียงการนำเสนอการได้รับเงินเพิ่มพิเศษ จำนวน 50 บาท และ 100 บาท ในเดือนกันยายน 2565 ซึ่งผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ได้รับเป็นประจำอยู่แล้วทุกเดือน โดยมีหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนในโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดังนี้
– รายได้ 0 – 30,000 บาท/ปี เติมเงินให้ 50 บาท ต่อเดือน
– รายได้ 30,001 – 100,000 บาท/ปี เติมเงินให้ 100 บาท ต่อเดือน

ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารกรมกิจการผู้สูงอายุ สามารถติดตามได้ที่โทร. 02-642-4336

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 20 กันยายน 2565

ตรวจสอบอย่างไรว่า สินค้ามี อย. จริงหรือปลอม

เครื่องหมายสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เป็นเครื่องหมายที่ให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย จะอยู่ตามข้างผลิตภัณฑ์หรืออาหารเครื่องดื่มต่าง ๆ

โดยผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. กำกับ ได้แก่
1. อาหาร
2. เครื่องมือแพทย์
3. วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน

โดยจะมีเลข 13 หลัก หรือเรียกว่า เลขสารบบ อยู่ในกรอบเครื่องหมาย อย. ก็คือ รหัสของข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ผลิต และผลิตภัณฑ์ ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบในกรณีเกิดปัญหาขึ้น

ซึ่งผู้บริโภค สามารถตรวจสอบเลข อย. ที่อยู่ตามข้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง ที่ลิงก์ https://oryor.com/check-product-serial

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง

เตือนภัย : หลอกให้รัก แล้วสูบเงิน หรือจับเรียกค่าไถ่

“เหยื่อส่วนมากเข้ามาแจ้งความหลังถูกหลอกจนแทบหมดตัวแล้ว วันที่มาแจ้งความ บางคนยังปักใจเชื่อด้วยซ้ำว่าตัวเองไม่ได้ถูกหลอก ที่น่าห่วงกว่านั้นคือ เดี๋ยวนี้มีถึงขนาดนัดมาเจอตัวแล้วจับเรียกค่าไถ่ “ ตำรวจไซเบอร์ เล่า

ก่อนอื่นมารู้จักความหมายของคำว่า “โรแมนซ์สแกม” หรือ “โรแมนซ์สแกมเมอร์” หมายถึง พฤติการณ์ของมิจฉาชีพที่หลอกเอาเงินเหยื่อผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยใช้รูปโปรไฟล์เป็นชายชาวต่างชาติหน้าตาหล่อเหลา สร้างเรื่องราวดูดีมีชาติตระกูล ปรนเปรอคำหวานให้หลงรักและไว้ใจ ก่อนจะล่อลวงให้ส่งเงินไปให้ด้วยการยกสารพัดเหตุผลมาอ้าง

“มิจฉาชีพกลุ่มนี้จะใช้รูปโปรไฟล์ชาวต่างชาติผิวขาว หล่อเหลา แต่งตัวดี ประกอบอาชีพเป็นวิศวกร หมอ สถาปนิก นักธุรกิจ อ้างว่าโสด หย่าร้าง ภรรยาเสียชีวิต แล้วโพสต์ภาพการใช้ชีวิตหรูหรา จิบแชมเปญ ล่องเรือยอร์ช กินอาหารร้านแพง ๆ แต่ความจริงคือ ผู้ต้องหาที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นชายผิวดำมาจากแอฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะไนจีเรีย วัน ๆ นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตามร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ มีเงินหน่อยก็ซื้อแลปท็อปคอยจ้องหาเหยื่อตามเว็บไซต์หาคู่ นัดเดท รวมถึงโปรแกรมแชทต่าง ๆ เช่น ยาฮู แมสเซนเจอร์ สไกป์ เฟซบุ๊ก

เหยื่อส่วนใหญ่เป็นหญิงโสดอายุ 40-60 ปี การศึกษาดี หน้าที่การงานมั่นคง ที่สำคัญคือมีสตางค์ แก๊งโรแมนซ์สแกมเมอร์จะป้อนคำหวาน ชวนคุยเอาอกเอาใจให้ความหวังสารพัด จนผ่านไปสักพักจะเริ่มออกอุบายล่อลวง ถ้าเหยื่อตายใจก็เสร็จโจร”
เปิด 5 สัญญาณเข้าข่ายถูกหลอก ดังนี้

1. หนุ่มคนนั้นแสดงออกว่าตกหลุมรักอย่างรวดเร็ว หลังรู้จักกันไม่นานก็ใช้คำเรียกว่า Honey, Baby, My love, My wife ทั้งที่ยังไม่เคยเจอหน้ากัน สาเหตุที่ใช้คำเหล่านี้เพราะมิจฉาชีพมักคุยกับเหยื่อพร้อมกันหลายคน จึงคัดลอกข้อความเดิมๆไปใช้คุยกับเหยื่อรายต่อไป เพื่อป้องกันการเรียกชื่อผิด

2. ไม่เปิดกล้อง ไม่ยอมให้เห็นหน้า บ่ายเบี่ยงเมื่อขอนัดเจอตัว เป็นธรรมดาที่โจรมักไม่ใช้รูปตัวเอง แต่เอารูปของคนอื่นที่หน้าตาดีมาหลอกให้เหยื่อตกหลุมรัก

3. รักกันไม่นานก็มีเหตุการณ์แปลกๆชวนให้เสียเงิน หนุ่มคนนั้นจะอ้างเหตุผลร้อยแปดให้หญิงสาวโอนเงินให้ เช่น ป่วยหนักต้องใช้เงินรักษา ชวนลงทุนทำธุรกิจ บอกว่าจะส่งของขวัญแสนแพงมาให้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนก่อนถึงจะได้รับของ ผ่านการปลอมแปลงเอกสารราชการอย่างแนบเนียน และการสมรู้ร่วมคิดกับมิจฉาชีพคนไทย

4. เขียนภาษาอังกฤษผิดไวยากรณ์ เนื่องจากกลุ่มมิจฉาชีพส่วนใหญ่เป็นชาวไนจีเรีย แต่แอบอ้างโปรไฟล์ว่าเป็นฝรั่งผิวขาว การสื่อสารจึงกระท่อนกระแท่น แปร่งๆ และผิดเพี้ยน

5. คุยกันได้แป๊บเดียวแต่ชวนเปิดกล้องทำกิจกรรม Sex online กรณีนี้เหยื่อส่วนมากจะเป็นผู้ชายที่นึกสนุกทำตามคำชวนของสาวแปลกหน้า เช่น ให้ช่วยตัวเองโชว์ คุยเซ็กซ์โฟน หารู้ไม่ว่าขณะกำลังเมามันก็ถูกบันทึกบทสนทนาและภาพเคลื่อนไหว ก่อนจะนำวีดีโอมาขู่แบล็คเมล์เรียกเอาเงินภายหลัง

ที่มา : เพจตำรวจไซเบอร์ PCT Police

ระวัง : อย่าใช้กาวลอกสิวเสี้ยน

จากกรณีที่มีคลิปสาธิตการนำกาวสำหรับยึดติดวัสดุมาทาที่จมูกเพื่อลอกสิวเสี้ยน เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมาเตือนอันตรายต่อผิวหนัง อย่าทำตาม เพราะเป็นอันตรายต่อผิวหนังอันตรายต่อผิวหนัง

อย. ชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์กาวยึดติดวัสดุ มีคุณสมบัติในการยึดติดแน่นและแห้งเร็ว ใช้ในการเชื่อมติดกันของพื้นผิววัสดุต่าง ๆ เวลาใช้งานต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ประกอบด้วยสารกลุ่มอัลคิลไซยาโนอะคริเลต (Alkyl cyanoacrylate) จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 แต่ถูกมาใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ การนำมาลอกสิวเสี้ยนอาจได้รับอันตราย ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ บวมแดง หากถูกผิวหนังอย่าพยายามดึงหรือแยกพื้นผิวที่ติดออก ให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ระวังอย่าให้เข้าตาเพราะเป็นอันตรายต่อดวงตาอย่างรุนแรง หากเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ำอุ่นสะอาดแล้วรีบไปพบแพทย์

ที่มา : อย. FDA Thai

เตือนภัย : ระวัง ”ไฟรั่ว” ในพื้นที่ฝนตก หรือท่วมขัง

ปัญหา “ไฟรั่ว หรือ ไฟดูด” ที่เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ที่มีฝนตก หรือน้ำท่วมขัง ถือเป็นภัยอันตรายที่หลายคนอาจจะไม่ทันสังเกต และอาจจะไม่ทราบว่าในพื้นใดจะเกิดไฟฟ้ารั่วได้บ้าง

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอแนะนำวิธีสังเกตและป้องกันในเบื้องต้น ในกรณีที่จำเป็นจะต้องเดินลุยน้ำไปในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง เพื่อไม่ให้ถูกไฟดูด ดังนี้

  • ระหว่างเดินอยู่ในน้ำ อย่าจับโลหะ เช่น เสาไฟ ราวสะพาน ตู้โทรศัพท์
  • หากสังเกตเห็นว่า ในน้ำบริเวณมีลักษณะเป็นฟองปุดๆ ขึ้นมาเหมือนฟองของน้ำโซดา ให้สันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวอาจจะมีไฟรั่ว
  • หากเดินไปถึงบริเวณที่น่าจะมีไฟรั่วในน้ำ ร่างกายจะเริ่มสัมผัสสนามไฟฟ้าได้ ซึ่งจะทำให้มีความรู้สึกคล้ายอาการเหน็บชา แต่ยังสามารถขยับอวัยวะได้อยู่
  • เมื่อเกิดอาการคล้ายเหน็บชาให้หยุดเดิน และไม่ควรสัมผัสกับวัตถุใดๆ โดยเด็ดขาด สิ่งที่ควรทำ คือ “เดินกลับไปยังเส้นทางเดิมเท่านั้น”

    📌 หากท่านพบว่าบริเวณใดมีไฟฟ้ารั่ว ให้รีบแจ้งเจ้าของพื้นที่ให้มาดำเนินการหาแหล่งที่เกิดไฟฟ้ารั่วและหาทางตัดวงจรไฟฟ้าทันที และในกรณีที่พบผู้ประสบเหตุจากการถูกไฟดูด ให้รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 📞

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 19 กันยายน 2565

จับพิรุธ : งูออกมาจากหูเป็นคลิปปลอม

รายการ “อ๋อ เป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฏ์” ได้วิเคราะห็ คลิปไวรัลที่เป็นผู้หญิงอินเดีย มีงูโผล่ออมาจากหูแล้วคล้ายมีคนพยายามคีบออกมาว่า เป็นคลิปปลอม หลอกลวง ทำมาเพื่อเรียกยอดไลค์ยออแชร์

โดยชี้ว่าอาจเป็นการตัดหัวงูมาเสียบรูหูที่หัวงูยังพอกระดุกกระดิกได้ในช่วงแรก จุดพิรุธอีกจุดหนึ่งคือ ถ้างูเข้าไปในหูจริง มันก็ควรเป็นส่วนหางที่โผล่ออกมา ไม่ใช่หัวเพราะงู เมื่อเข้าไปแล้วคงไม่สามารถเข้าไปกลับตัวในรูหูแล้วเอาหัวออกมาได้

ที่มา : เพจ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฏ์”

เตือนภัย : ปลอมเพจ ก.ล.ต. ล่อเหยื่อรับแจกคริปโตเคอร์เรนซี

จากที่มีการแสดงความคิดเห็นบนเพจเฟซบุ๊กของสำนักงาน ก.ล.ต. (คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) โดยมีข้อความกล่าวว่า “ขอบคุณ สำหรับความคิดริเริ่มนี้” และมีลิงก์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่เสนอแจกคริปโตเคอร์เรนซี ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงาน ก.ล.ต. พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า เพจของผู้ที่แสดงความคิดเห็นดังกล่าวเป็นเพจที่เลียนแบบเพจทางการของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยใช้โลโก้และแบนเนอร์ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยไม่ได้รับอนุญาต

ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : ผู้หญิงมีโอกาสเกิดไตวายสูงมากหากปล่อยให้กรดยูริกในเลือดสูง

ตามที่มีการแชร์คลิปในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องผู้หญิงมีโอกาสเกิดไตวายสูงมาก หากปล่อยให้กรดยูริกในเลือดสูง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรมการแพทย์ ชี้แจงว่ากรดยูริกทำให้เกิดโรคไตวาย จะกล่าวโดยละเอียด คือ เกิดโรคไตได้แต่อาจจะไม่ใช่ไตวาย เช่น เป็นนิ่วในท่อไต หรือ ถ้าเป็นโรคไตวายก็มักจะเป็นไตวายเฉียบพลัน ซึ่งมีโอกาสหายได้ แต่โอกาสเกิดโรคไตวายเรื้อรังโดยตรงมีได้แต่น้อยมาก อีกประเด็น คือ กรดยูริกที่สูงทำให้ไตเรื้อรังที่มีอยู่เสื่อมเร็วขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยขับกรดยูริก ซึ่งกรดยูริกในผู้หญิงวัยประจำเดือนต่ำกว่าผู้ชาย และเกิดโรคเก๊าท์น้อยกว่าผู้ชาย แต่ในวัยหมดประจำเดือนกรดยูริกจะสูงขึ้นเท่าผู้ชาย ทำให้เกิดโรคเก๊าท์สูงขึ้นแต่ไม่ได้ทำให้เกิดโรคไตวายมากขึ้น จึงสรุปว่านี่คือข่าวปลอม

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ระวัง : ซื้อลำโพงปลอมออนไลน์

สืบเนื่องจากมีการลักลอบนำเข้าและจำหน่ายลำโพงปลอม Marshall ที่ไม่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)ให้กับประชาชน ตำรวจสอบสวนกลางจึงได้ทำการตรวจสอบ พบผลิตภัณฑ์ลำโพงปลอม ยี่ห้อ Marhall ที่ไม่ได้มาตรฐาน จำนวนกว่า 200 เครื่อง มูลค่าของกลางประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นสินค้าเลียนแบบและไม่ได้มาตรฐาน

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) จึงทำการจับกุมที่โกดังลักลอบนำเข้า และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลำโพงปลอมซึ่งมีการหลอกขายผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์
จึงเตือนผู้บริโภคสั่งลำโพงยี่ห้อดังกล่าวออนไลน์ให้ระวังได้ของปลอม โดยสั่งจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเท่านั้น

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 18 กันยายน 2565

เตือนภัย : สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดไลน์ OA ชื่อมหาเฮง 88 รับแทงหวย

ตามที่มีกระแสข่าวบนโลกออนไลน์จำนวนมากเรื่องสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีโนบายใหม่เปิดไลน์ OA รับแทงหวย นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบกับ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ระบุว่า สำนักงานฯ ไม่มีนโยบายเปิดรับแทงหวยผ่านช่องทางไลน์ OA ชื่อว่า มหาเฮง 88 แต่สำคัญของให้ผู้บริโภคระมัดระวังมิจฉาชีพที่แอบอ้างนำตราสัญลักษณ์ของสำนักงานฯ ไม่ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/89742

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ผู้บริโภคต้องรู้สิ่งของ 5 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในรถยนต์

  1. ไฟแซ็ก เนื่องจากผู้บริโภคจอดรถตากแดดระยะเวลาที่นานอาจเสี่ยงทำให้ไฟแซ็กเกิดเพลิงไหม้ได้
  2. โทรศัพท์มือถือ เนื่องจากความร้อนในรถยนต์ที่จอดตากแดดอาจทำให้มือถือรัดวงจรและเกิดระเบิดได้
  3. น้ำแข็งแห้ง เนื่องจากน้ำแข็งแห้งมีควันที่เป็นสารก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ผู้บริโภคหมดสติได้
  4. แบตเตอร์สำรอง เนื่องจากความร้อนภายในรถอาจจะทำให้แบตฯเกิดการระเบิดได้
  5. กระป๋องสเปรย์ เนื่องความร้อนภายในรถอาจทำให้กระป๋องขยายตัวระเบิดเป็นประกายไฟได้

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ข่าวปลอม : กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนประชาชน 48 จังหวัด รับมือฝนตกหนัก

ตามที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนประชาชน 48 จังหวัดรับมือฝนตกหนัก นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบกับ กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าว่า ตามที่มีการกล่าวอ้างว่ากรมฯได้ประกาศเตือนประชาชนรับมือฝนตกหนักไม่เป็นความจริง และเป็นข่าวเก่าที่มีการแชร์วนไปมา

ในทางกลับกัน  15 – 18 ก.ย. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมี ฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/986959589

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 17 กันยายน 2565

ระวัง : แลกสิทธิคนละครึ่งเป็นเงินสด เสี่ยงถูกดำเนินคดีฐาน “ฉ้อโกง”

หลังจากที่มีการเปิดให้ใช้สิทธิ “คนละครึ่งเฟส 5” ในช่วงวันที่ 1 กันยายน เป็นต้นมา ขณะนี้เริ่มพบว่า มีการโฆษณาเชิญชวน ให้ประชาชนนำสิทธิ “คนละครึ่งเฟส 5” มาแลกเป็นเงินสด ผ่านทางกลุ่มเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ โดยจะมีการหักค่าหัวคิวในอัตรา 20-40 บาท

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอฝากเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อ ยอมแลกสิทธิดังกล่าวโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืน จะถือว่าเป็นการกระทำที่ทุจริต เข้าข่ายความผิดฐาน “ฉ้อโกง” มีโทษจำคุกถึง 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 341

ในกรณีที่ท่านพบเห็นผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สายด่วน 1569 หรือกระทรวงการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697, 3527, 3548, 35095

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง

4 กลโกงมิจฉาชีพ e-Wallet

  1. มิจฉาชีพมักอ้างตัวเป็นร้านค้าปลอมให้ผู้บริโภคโอนเงินให้ค่าสินค้าและบริการ
  2. มิจฉาชีพมักแอบอ้างเอาข้อมูลส่วนบุคคลของคนอื่นไปเปิดบัญชี e-Wallet
  3. มิจฉาชีพมักหลอกให้ผู้บริโภคชำระเงินสินค้าและบริการที่ไม่ได้สั่งซื้อ
  4. มิจฉาชีพมักปลอมตัวเป็นคนรู้จัก เช่น ญาติ พ่อแม่ ฯลฯ ในการขอให้โอนเงินให้บัญชี e-Wallet

ที่มา : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

ข่าวปลอม : หลอกว่าสมุนไพรชีวา รักษาเบาหวาน

ตามที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับเรื่องสมุนไพรชีวารักษามือเท้าชา ฉี่บ่อย เพลีย น้ำตาลสูง และโรคเบาหวาน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

อย.ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผักเชียงดาผสมอบเชย ชนิดแคปซูล (ตรา ชีวา) /Gymnema mixed with Cinnamon Capsule Dietary Supplement Products (Chewa BRAND) เลข อย. 50-1-02254-5-0006 และเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในชื่อ เครื่องดื่มเชียงดา ผสมใบหม่อน และดอกคาโมมายส์ ชนิดชง (ตราชีวา)/Dried Gymnema mixed with Mulberry and Chamomile Beverage (Chewa BRAND) เลข อย. 50-1-02254-2-0052 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการรักษาโรคเบาหวานและมือเท้าชาตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วย หากผู้ป่วยหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทาน เพื่อหวังผลในการรักษาโรคเบาหวานอาจเสียเงินเปล่า และเสียโอกาสในการรักษา ซึ่งควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 16 กันยายน 2565

รู้เท่าทันมิจฉาชีพกู้เงินออนไลน์

1. ผู้บริโภคควรพิจารณาแยกแยะแอปพลิเคชันเงินกู้ว่า ถูกกฎหมายหรือไม่? เงินกู้นอกระบบหรือไม่? หรือเป็นแอปฯหลอกกู้เงินถามข้อมูลส่วนบุคคล

2. หากผู้บริโภคไม่แน่ใจอย่าเพิ่งสมัคร ดาวน์โหลดแอปฯ ให้ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต และโทรติดต่อสอบถามผู้ปล่อยกู้

3. ผู้บริโภคควรเลือกดาวน์โหลดแอปฯที่มีความน่าเชื่อถือ

4. ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนขอกู้ ทั้ง อัตราดอกเบี้ย ระยะการผ่อนชำระ ฯลฯ

ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : ธนาคารออมสินใจดีให้กู้เงินฉุกเฉิน อนุมัติง่ายเร็วเพียง 3 นาที

จากกระแสข่าวการเงินและธนาคารเกี่ยวกับประเด็นน่าสนใจธนาคารออมสิน ใจดีปล่อยสินเชื่อช่วยเหลือประชาชนให้กู้เงินฉุกเฉิน อนุมัติง่ายเร็วเพียง 3 นาที นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบกับ ธนาคารออมสิน ระบุว่า ธนาคารไม่มีนโยบายปล่อยกู้สินเชื่อฉุกเฉินภายในระยะเวลาอนุมัติอันสั้นเพียงแค่ 3 นาที แต่สำคัญอยากให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพที่นำโลโก้ธนาคารไปใช้ แนะให้ติดตามข้อมูลธนาคารได้จากเว็บไซต์ www.gsb.or.th

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/696565

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ผู้บริโภคต้องรู้ ซื้อ-ขายปืนออนไลน์ มีความผิดทั้งคนซื้อ และคนขาย

ผู้บริโภคต้องรู้การพกพาอาวุธปืน ซื้อ ขาย ครอบครอง ต้องทำเรื่องขอใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน หากผู้บริโภคฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคตีตามกฎหมาย ดังนี้

ผู้ซื้อ มีความผิดฐานซื้อ ใช้ สั่ง หรือนำเข้าอาวุธปืน ต้องมีโทษจำคุก 1 – 10 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ขาย มีความผิดฐานมีหรือจำหน่ายอารุธปืนสำหรับการค้า มีโทษจำคุก 2 – 20 ปี ปรับ 4,000 – 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา : สำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง

เตือนภัย : มิจฉาชีพปลอมตัวเป็นผู้บริหาร ธนาคารออมสิน ไลน์เชิญชวนผู้บริโภคกู้เงินด้วย

ตามที่มีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องร้อนผู้บริหารธนาคารออมสินไลน์หาผู้บริโภคส่วนตัวให้กู้เงิน นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบกับ ธนาคารออมสิน ระบุว่า ผู้บริหารของธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระแสข่าวดังกล่าว ในทางกลับกันผู้บริหารดังกล่าวถูกแก๊งมิจฉาชีพเอารูปไปแอบอ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/9999995

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 15 กันยายน 2565

ระวัง : เว็บไซต์ปลอมหลอกให้กรอกข้อมูลรับความช่วยเหลือ โควิด 19

ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขเปิดให้กรอกข้อมูลเพื่อรับเงินช่วยเหลือโควิด 19 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพทำเว็บไซต์ปลอมที่มีโลโก้กระทรวงสาธารณสุข และส่งลิงก์เว็บไซต์ให้ประชาชนทางไลน์และโซเชียลมีเดีย โดยหลอกว่ากระทรวงสาธารณสุขมีกิจกรรมให้เงินช่วยเหลือช่วงโควิด 19 เพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลสำคัญส่วนตัว ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้มักใช้ในการยืนยันตัวตนเพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้ระบบต่าง ๆ หรือทำธุรกรรมออนไลน์
หากมิจฉาชีพได้ข้อมูลไปอาจถูกนำไปใช้ในเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทำให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ หรือผู้ประสบภัยทางออนไลน์ได้ จึงขอเตือนภัยว่าอย่าหลงเชื่อให้ข้อมูลส่วนตัวอย่างเด็ดขาด

ทั้งนี้ ภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขคือการดูแลป้องกันรักษาควบคุมโรค ไม่ได้มีภารกิจเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือประชาชน และไม่ได้มีโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้เงินช่วยเหลือโควิด 19 หรือโรคระบาดแต่อย่างใด

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวบิดเบือน : ลักษณะอาการของโรคปอดอ่อนแอ

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในประเด็นสุขภาพเรื่องลักษณะอาการของโรคปอดอ่อนแอ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

สถาบันโรคทรวงอก ได้ชี้แจงว่าอาการต่าง ๆ ตามที่บทความดังกล่าวอ้างอิง ไม่ว่าจะเป็นไอบ่อย ๆ ลมพิษ ผื่นคัน ติดเชื้อง่าย ป่วยง่ายเป็นภูมิแพ้ ผิวแห้งกร้านไม่เปล่งปลั่ง อารมณ์เศร้าหมองตลอดเวลา ขับถ่ายไม่ออก สิวเต็มหน้า ล้วนแต่เป็นอาการแสดงที่ไม่จำเพาะกับโรคใดโรคหนึ่ง ซึ่งควรมีการตรวจเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยและเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมตามโรคอันเป็นสาเหตุต่อไป โดยอาการทั้งหมดนี้อาจไม่ได้อธิบายจากโรคเพียงโรคเดียวเท่านั้น และไม่มีภาวะปอดอ่อนแอดังกล่าวในทางการแพทย์ การนำเสนอเช่นนี้อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิด และพลาดโอกาสเข้ารับการตรวจรักษาได้

นอกจากนี้ คำแนะนำตามบทความดังกล่าว มีบางส่วนที่อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วย ได้แก่ การออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที แต่ไม่ได้เป็นข้อแนะนำทางการรักษาที่จำเพาะต่ออาการแสดงตามที่บทความได้อ้างอิง ร่วมกับอาหารบางชนิดที่ได้นำเสนอนั้น ไม่ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์รองรับว่ามีประโยชน์ต่อการบำรุงปอด ส่วนการฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ อาจไม่ได้มีรายละเอียดที่เพียงพอ เนื่องจากการบริหารฝึกการหายใจอย่างถูกวิธีนั้นมีรายละเอียดตามหลักของการกายภาพบำบัดที่ควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อคำแนะนำต่อไป

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่่งประเทศไทย

หยุดแชร์ข่าวเก่า : สกว. เตือนห้ามนำน้ำแช่เห็ดหอมไปปรุงอาหารจริงหรือ

เรื่องนี้ รายการ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” ep. 65 แจ้งว่าเป็นเรื่องค่อนข้างเก่า หลายปีมาแล้ว แต่วนกลับมาแชร์กันใหม่

ซึ่งเป็น “เรื่องมั่ว” โดยอ้างว่า “สกว. เตือนอันตรายอย่านำน้ำแช่เห็นหอมไปปรุงอาหาร พบปนเปื้อนสารคาร์บอนไดซัลไฟด์ที่ใช้ล้างสนิม ทำให้ผิวหนังระคายเคือง และอื่น ๆ โดยแจ้งว่า สกว. ไม่เคยออกมาเตือนในประเด็นดังกล่าวเลย คำเตือนนี้ถูกแชร์ต่อ ๆ แต่เป็นข้อความที่นำมาตัดต่อแทรกเรื่องอันตรายและความปลอดภัยของ “คาร์บอนไดซัลไฟด์” ที่ รศ.สุชาดา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เคยเขียนเอาไว้

อย่างไรก็ตาม นิตรสารฉลาดซื้อเคยตรวจหาสารกันเชื้อรา คาร์เบนดาซิมตกค้างในเห็ดหอมแห้ง 13 ตัวอย่าง พบ 1 ตัวอย่าง ที่มีค่าเกินกำหนด และข่าวในไทยรัฐ ตรวจพบสารหนูปนเปื้อนจำนวน 5 ตัวอย่าง แต่พบในจำนวนที่น้อยมากไม่เกินค่ามาตรฐาน

ที่มา : เพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

หยุดแชร์ข่าวเก่า : แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยวที่มีสารกันบูดมากไป

กรณีที่มีการนำข่าวเก่าตั้งแต่ปี 2550 เรื่องแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เส้นเล็ก เส้นหมี่ เส้นใหญ่

เพจ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์” แจ้งว่าเรื่องนี้เป็นผลการตรวจสอบเก่าตั้งแต่ปี 2550 ในจังหวัดอุบลราชธานี เพียงครั้งนั้นครั้งเดียว แต่มีการแชร์ข่าวนี้ทั่วประเทศเรื่อยมา

ปัจจุบันนี้ผลตรวจจากทั่วประเทศไม่ได้พบว่ามีสารกันบูดอยู่ในเส้นก๋วยเตี๋ยวมีค่าสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด และสารก็ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน จึงแจ้งประชาชนอย่าตื่นตระหนก

ที่มา : เพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 14 กันยายน 2565

How to ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วมอย่างไร

ช่วงนี้ฝนตกหนักมีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ตำรวจสอบสวนกลางมีวิธีการป้องกัน อันตรายจากไฟฟ้า และการใช้ไฟฟ้าในกรณีมีน้ำท่วมขังมาฝาก

ก่อนน้ำท่วม

– ขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสิ่งของจำเป็นไว้ที่ไว้ที่สูง

– ตัดระบบไฟก่อนอพยพออกจากที่อยู่อาศัย

ขณะน้ำท่วม

– บ้านที่มีสวิตช์แยกชั้น ให้ปลดสวิตช์ตัดกระแสไฟเฉพาะชั้นที่น้ำท่วม

– บ้านชั้นเดียวห้ามใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับไฟฟ้าทุกชนิด

– ห้ามเปิดสวิตช์และห้ามใช้งานปลั๊กไฟที่น้ำท่วม

– อย่าลงไปในบริเวณน้ำที่ท่วมขังหากรู้ว่าเสี่ยงมีกระแสไฟฟ้า

– อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าในพื้นที่น้ำท่วมอย่างน้อย 2-3 เมตร

– อย่าเข้าใกล้หรือสัมผัสสายไฟฟ้าขาดแช่น้ำ หรือเสาไฟล้มโดยเด็ดขาด

หลังน้ำท่วม


– อย่ารีบใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยเด็ดขาด ควรให้ช่างไฟฟ้าตรวจสอบและแก้ไขจนมั่นใจว่าสามารถใช้งานได้เป็นปกติ และตลอดเวลาที่ใช้งานต้องมีคนอยู่ด้วยเสมอ

– การเปิดระบบไฟฟ้าหลังน้ำลด ต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าก่อนถ้าพื้นที่ยังเปียกชื้นหรือมีน้ำท่วมขังอยู่บ้าง ห้ามยืนแข่น้ำขณะตรวจสอบ ควรให้ช่างไฟฟ้า หรือเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าดำเนินการให้

– โดยหากพบคนถูกไฟฟ้าดูดห้ามใช้มือเปล่าดึง หรือแตะตัวโดยเด็ดขาด ให้ใช้วัสดุอื่นที่ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ผลักหรือดันตัวให้หลุดออกมาโดยเร็ว

ที่สำคัญอย่าลืมติดตามข่าวสารน้ำท่วม
เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ทัน
และหากพบเห็นเหตุขัดข้อง หรือไฟฟ้าลัดวงจร
สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1129
การไฟฟ้านครหลวง 1130

ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

เตือนภัย : ใช้สติก่อนควักสตางค์

ทุกวันนี้มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมออกมามากมาย อ้างว่ารักษาโรคทุกโรค ทั้งแก้ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต เก๊าท์ ไมเกรน และโรคอื่นๆ ขวดละเกือบ1,000

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตือนสติผู้บริโภค คิดดีดี เพียงซื้อผัก ผลไม้ หรือพืชสมุนไพรอย่างละนิดอย่างละหน่อยมาทาน จะคุ้ม ปลอดภัย และได้ประโยชน์มากกว่าไหม

เพราะอาหารเสริมที่อวดอ้างสรรพคุณแบบนั้น ล้วนโกหกและไม่มีทางรักษาโรคได้จริง และแพงกว่าผักผลไม้หลายเท่าตัว

ที่มา : อย. FDA Thai

เตือนภัย : ผลิตภัณฑ์ ME HERB (มี เฮิร์บ) พลูคาวหลอกลวง

จากกรณีที่มีการโพสต์แนะนำว่าผลิตภัณฑ์ ME HERB (มี เฮิร์บ) พลูคาว แค่วันละ 2 เม็ด แก้ปัญหาสุขภาพ เอดส์ วัณโรค ไอเรื้อรัง และหอบ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบพบว่า เป็นข่าวเท็จ

โดยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มี เฮิร์บ พลูคาว /ME HERB PHLU KHAO DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT เลข อย. 13-1-07458-5-0232 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ เชื้อวัณโรค การไอเรื้อรัง หรือโรคหอบตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลาก หากผู้ป่วยหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทาน เพื่อหวังผลในการรักษาโรคเอดส์ โรควัณโรค หรือโรคหอบ อาจเสียเงินเปล่าและเสียโอกาสในการรักษา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

6 วิธีปฐมพยาบาลจากพิษน้ำกรด

น้ำกรดเป็นสารเคมีที่มีพิษต่อร่างกาย และมีหลายกรณีที่นำน้ำกรดมาใช้เป็นอาวุธในการทำร้ายร่างกาย บางรายโดนสาดน้ำกรดจนบาดเจ็บสาหัส เสียโฉม หรือพิการ แต่หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอแนะนำ 6 วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเจอผู้ที่ถูกน้ำกรดสาด

  1. แจ้งขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 ระหว่างที่รอความช่วยเหลือ ให้เข้าทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน
  2. ตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกน้ำกรดสาดออก โดยใส่ถุงมือหรือถุงพลาสติกเพื่อป้องกันตนเอง
  3. ใช้ผ้าหรือกระดาษที่แห้งเท่านั้น ซับจนแห้งที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำล้างทันที เพื่อป้องกันกรณีเป็นกรดที่มีความเข้มข้นสูง
  4. เมื่อใช้ผ้าซับเสร็จแล้ว ให้ใช้น้ำสะอาดปริมาณมาก ล้างในบริเวณที่ถูกน้ำกรดสาด ไม่ถูหรือขัด เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลายมากขึ้น
  5. ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซปิดบริเวณแผล ป้องกันการติดเชื้อ
  6. รอรถพยาบาล หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

    หากน้ำกรดสัมผัสดวงตา และใส่คอนแทคเลนส์อยู่ ต้องรีบถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนถึงค่อยล้างตา เพราะคอนแทคเลนส์เป็นตัวดูดซับสารเคมีเอาไว้ จากนั้นรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 13 กันยายน 2565

เตือนภัย : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดี-ลิเวอรีน คอมเพล๊กซ์ แอบอ้างฟื้นฟูตับ ขับพิษ

พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดี – ลิเวอรีน คอมเพล็กซ์ เลขสารบบอาหาร 74-1-18761-5-0045 ขายทางเฟซบุ๊กชื่อ “ดีลิเวอรีน Liver Detox” ระบุสรรพคุณ “….ฟื้นฟูตับ ขับสารพิษ อย่างเห็นผล… ดื่มหนักแค่ไหนก็ยังไหวอยู่ ไม่ค้าง ไม่อึดอัด สบายท้อง…สุดทึ่ง จากค่าตับสูงถึง 201 ลดเหลือ 86 หลังทาน “ดีลิเวอรีน” เพียง 1 เดือน

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า เป็นข้อมูลลวง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโฆษณาแสดงคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควรและไม่ได้รับอนุญาตโฆษณา ตรวจสอบข้อมูลเลขสารบบอาหาร 74-1-18761-5-0045 พบว่ายกเลิกแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2564

จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ และ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว รวมทั้งดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว การรับประทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายอย่างคาดไม่ถึง

ที่มา : อย. FDA Thai

อย. – ปคบ. ทลายเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์ เฟส 2 ตัดต่อภาพคนดังขายสินค้ารักษาสุขภาพ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการนำภาพบุคคลมาแอบอ้างเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อมไร้ท่อ เป็นผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานและนักโภชนาการรับรองผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าโฆษณาดังกล่าวผ่านเว๊ปไซด์ ล้วนแต่เป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หลอกขายผู้บริโภค จึงได้ประสานตำรวจสอบสวนกลางสืบสวน (ปคบ.) และเข้าทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์

จึงเตือนมายังผู้บริโภคขออย่าได้หลงเชื่อโฆษณาที่หลอกลวงเกินจริง และสั่งซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้โดยหวังผลการรักษาโรค เช่น เบาหวาน หลอดเลือดต่อมลูกหมาก เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้ปัญหาการได้ยินลดริ้วรอยย้อนอายุไป 30 ปี เป็นต้น เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีหลักฐาน หรือผลการทดสอบ

ประสิทธิภาพทางวิทยาศาสตร์ของผลิตภัณฑ์มาสนับสนุน ขอให้ผู้บริโภคระลึกไว้เสมอว่า อาหารหรือเครื่องสำอางไม่มีสรรพคุณรักษาโรค ขอให้ผู้บริโภคคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ หากหลงเชื่อซื้อสินค้าที่รักษาไม่ได้จริงตามที่กล่าวอ้าง จะทำให้สูญเสียทั้งเงินและเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์เฉพาะทาง

ที่มา : อย. FDA Thai

อย. ยืนยัน แป้งฝุ่นไทยไร้แร่ใยหิน

ตามที่มีข่าวกัมพูชาประกาศห้ามการนำเข้าและจำหน่ายแป้งเด็กจากไทยเป็นการชั่วคราว หลังพบว่ามีการปนเปื้อนแร่ใยหินเมื่อปลายเดือนสิงหาคม นั้น

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ได้เก็บตัวอย่างแป้งฝุ่นโรยตัวตามที่เป็นข่าวจากสถานที่ผลิตและสถานที่จำหน่ายทุกรายการ ได้แก่ เบบี้มายด์ สวีทตี้ พิงค์ พลัส เบบี้ พาวเดอร์, เภสัช แป้งเย็น กลิ่นมาดาม, จอห์นสัน คลาสสิค เบบี้ พาวเดอร์, จอห์นสัน บลอสซั่ม เบบี้ พาวเดอร์, ดีนี่ นิวบอร์น เบบี้ พาวเดอร์, ดีนี่ คิดส์ แฮปปี้ ปริ้นเซส พาวเดอร์ และ โคโดโม เบบี้ พาวเดอร์ (เอ็กซ์ตร้า มายด์) (ยกเว้น ผลิตภัณฑ์ดีนี่ คิดส์ แฮปปี้ ปริ้นเซส พาวเดอร์ ที่ไม่ได้เก็บตัวอย่าง ณ สถานที่จำหน่าย รวมทั้งสิ้น 15 ตัวอย่าง ส่งตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนแร่ใยหินที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทันที

บัดนี้ ทราบผลวิเคราะห์ว่าตัวอย่างทั้ง 15 รายการ ไม่พบการปนเปื้อนแร่ใยหิน ขอให้ผู้บริโภควางใจ และได้รับข้อมูลว่าประเทศกัมพูชาได้ส่งตัวอย่างแป้งฝุ่นโรยตัวที่เป็นข่าวไปตรวจวิเคราะห์หาแร่ใยหินซ้ำอีกครั้งที่ประเทศออสเตรเลีย ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบแร่ใยหินปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง

จึงประกาศยกเลิกการแบนแป้งฝุ่นโรยตัวที่ผลิตจากประเทศไทยแล้ว เพื่อความปลอดภัยในการใช้แป้งฝุ่นโรยตัว ไม่ควรใช้แป้งฝุ่นโรยตัวในปริมาณมาก ๆ เพราะผงแป้งจะฟุ้งกระจาย หากสูดดมเข้าไปอาจทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจ นอกจากนี้ กฎหมายได้กำหนดให้แสดงคำเตือนที่ฉลากของผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ว่า “ระวังอย่าให้แป้งเข้าจมูกและปากของเด็ก”

ที่มา : อย. FDA Thai


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 12 กันยายน 2565

รู้ทัน : 4 ขั้นตอนตั้งค่าป้องกัน SMS ข้อความลวงโลก

ปัจจุบัน มิจฉาชีพมักมีการส่ง SMS ข้อความทางมือถือหาเหยื่อ เพื่อทำการหลอกลวงเป็นจำนวนมาก ตำรวจสอบสวนกลางจึงขอแนะนำวิธีการตั้งค่าโทรศัพท์ เพื่อไม่ให้ SMS เหล่านี้ ส่งมารบกวนคุณได้อีก โดยมีวิธีดังต่อไปนี้

ระบบไอโอเอส (IOS)

  1. เมื่อพบ SMS หลอกลวง ผ่านทาง iMessage (ไอแมสเสจ) ให้กด ‘แจ้งว่าเป็นขยะ’ และกด ‘ปฏิเสธ’
    .
  2. เมื่อพบ SMS หลอกลวง ผ่านทาง Message (แมสเสจ) ธรรมดา สามารถกดบล็อกได้ โดยเข้าไปที่
    แอปพลิเคชันข้อความ > ข้อความที่ส่งมา > แตะรายชื่อด้านบนสุด > กดที่ปุ่ม info (รายละเอียดเพิ่มเติม) > เลือก Block this Caller (บล็อกผู้โทรนี้)
  3. เปิดการใช้ฟิลเตอร์เพื่อไม่ให้รับ iMessage บุคคลที่ไม่รู้จัก โดยไปที่
    การตั้งค่า > ข้อความ > ในหัวข้อ การฟิลเตอร์ข้อความ เลือก ไม่รู้จักและสแปม > เลือกเปิด ฟิลเตอร์ผู้ส่งที่ไม่รู้จัก

    ในส่วนของภาษาอังกฤษ สามารถดำเนินการได้ดังนี้
    Settings > Messages > ในหัวข้อ Messages Filtering เลือก Unknown & Spam > เลือกเปิด Filter Unknown Senders

    ระบบ Android (แอนดรอยด์)
  4. เมื่อพบ sms หลอกลวง ให้กดค้างที่ข้อความ > แตะที่ ไอคอน 3 จุด แล้วเลือก ‘Block’ (บล็อก)
  5. เปิดการใช้งานป้องกันสแปม โดยเข้าไปที่ แอปพลิเคชันข้อความ > แตะที่ไอคอน 3 จุด มุมบนขวา > เลือก Block numbers and spam (บล๊อกเบอร์และสแปม) แล้วเลือกเปิด Caller ID and spam protection (ชื่อผู้โทร และป้องกัน)

    โดยเราสามารถแจ้งเบาะแสเพิ่มเติม หากได้รับ SMS ที่มีลักษณะหลอกลวง ได้ที่
  • คอลเซ็นเตอร์ ของ กสทช. หมายเลข 1200
  • คอลเซ็นเตอร์ ของ เครือข่ายมือถือที่ท่านใช้บริการอยู่

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง

เตือนภัย : ธนาคารกรุงไทย ปล่อยสินเชื่อ Smart Money ให้ประชาชนกู้วางเงินสูงถึง 50,000 บาท ผ่านช่องไลน์ส่วนตัว

จากการประชาสัมพันธ์ข้อมูลประเด็นร้อนเกี่ยวกับเรื่องธนาคารกรุงไทย ปล่อยสินเชื่อ Smart Money ให้ประชาชนกู้วางเงินสูงถึง 50,000 บาท ผ่านช่องไลน์ส่วนตัว ผ่อนง่าย ๆ เดือนละ 826 บาท เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ธนาคารไม่มีสินเชื่อที่ใช้เชื่อว่า Smart Money และไม่มีนโยบายปล่อยกู้ให้ประชาชนผ่านช่องทางไลน์ส่วนตัว

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/88564542

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

แนะนำ : ป้องกันภัยคุกคามทางอีเมล

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำ 10 วิธีป้องกันภัยคุกคามทางอีเมล์ ดังนี้

1.ตั้ง Password (รหัสผ่าน) ที่คาดเดาได้ยาก และเปลี่ยนบ่อย ๆ

2.ดูแลช่องทางที่ใช้ในการ Reset รหัสผ่าน (เปลี่ยนรหัสผ่าน) ให้มีความมั่นคงปลอดภัย เช่น อีเมลสำรองสำหรับกู้คืนบัญชี

3.ตรวจสอบประวัติการใช้งานที่น่าสงสัย รวมถึงช่องทางในการยืนยันตัวตนอย่างสม่ำเสมอ

4.ติดตั้งโปรแกรมแอนติไวรัส อัปเดตระบบปฎิบัติการเบราว์เซอร์และซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย

5.หลีกเลี่ยงการใช้เว็บเมลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และไม่ควรตั้งค่าให้จำรหัสผ่าน

6.ระมัดระวังอีเมลที่มีไฟล์แนบ หรือลิงก์พาไปเว็บไซต์อื่น

7.แม้อีเมลจากคนที่รู้จัก ก็อาจจะเป็นคนร้ายปลอมตัวมาก็ได้ หากไม่แน่ใจควรยืนยันผ่านช่องทางอื่นที่ไม่ใช่อีเมล เช่น แจ้งยืนยันเปลี่ยนเลขที่บัญชีโอนเงินทางโทรศัพท์

8.เปิดใช้งานยืนยันตัวตนแบบ 2 Factor Authentication (ระบบยืนยันตัวตนสองขั้นตอน) โดยใช้เบอร์โทร อีเมลสำรอง หรือโปรแกรม เช่น Google Authenticator

9.เช็กรายชื่อผู้จะได้รับอีเมลก่อนกดปุ่ม Reply (ตอบ) หรือ Reply All (ตอบทุกคน) ทุกครั้ง ผู้ร้ายมักใช้เทคนิคตั้งชื่ออีเมลที่ใกล้เคียงกับคนที่เรารู้จัก

10.อย่าหลงเชื่ออีเมลที่หลอกให้เปลี่ยน Password (รหัสผ่าน) หรือให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัว หากไม่แน่ใจควรสอบถามกับผู้ที่ส่งข้อมูลมาในช่องทางอื่น ๆ อีกครั้ง

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์ PCT POLICE

ข่าวปลอม : กินเห็ด บ่อย ๆ พร้อมงดเนื้อสัตว์ 7 วัน สามารถรักษาริดสีดวงทวารเรื้อรัง ได้

ตามกระแสข่าวบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นร้อนเรื่องคนที่เป็นริดสีดวงต้องฟัง กินเห็ด บ่อย ๆ พร้อมงดเนื้อสัตว์ 7 วัน สามารถรักษาริดสีดวงทวารเรื้อรังได้ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ โรงพยาบาลราชวิถี ระบุว่า ยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการรับประทานกินเห็ด บ่อย ๆ พร้อมงดเนื้อสัตว์ 7 วัน สามารถรักษาริดสีดวงทวารเรื้อรังได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/89742

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 11 กันยายน 2565

ข่าวปลอม :  อาหารเสริม Rocy มีสรรพคุณวิเศษฟื้นฟูภายในสตรีให้กลับมาวัยรุ่นอีกครั้ง

จากกรณีข่าวดังเรื่อง อาหารเสริม Rocy มีสรรพคุณวิเศษฟื้นฟูภายในสตรีให้กลับมาวัยรุ่นอีกครั้ง นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ผลิตภัณฑ์ Rocy เป็นอาหารที่มีการจดทะเบียนกับ อย. จริง มี 1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (โรซี่) เลข อย. 84 1-19760 5 0035 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โรซี่ เสข อย. 27-1 02761 50131และ โรซี่ (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) เลข อย. 20-1 0356350041 แต่ผู้ประกอบการได้ขอแจ้งยกเลิกไปแล้วทั้งหมด และไม่ได้มีสรรพคุณวิเศษอย่างที่กล่าวอ้าง ขอให้ประชาชนโปรดระวังสินค้าที่มีการแอบอ้างสรรคุณเกินจริง

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ข่าวปลอม : น้ำอัญชันต้มรักษาโรคภูมิแพ้ได้

จากกรณีคำแนะนำเรื่อง การนำน้ำอัญชันต้มรักษาโรคภูมิแพ้ได้นั้น

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง ขณะนี้ยังไม่มีหลักวิชาการรองรับ และไม่มีงานวิจัยใดที่ใช้ยืนยันว่าการดื่มน้ำอัญชันสามารถรักษาโรคภูมิแพ้ได้ ซึ่งการรับประทานน้ำอัญชันในปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นเวลานานควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์แผนไทยหรือบุคลากรทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัย เพราะอาจส่งผลเสียได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3yto6uA

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 10 กันยายน 2565

ข่าวปลอม : เช็กว่าเป็นโรคหลอดเลือดตีบที่สมอง เพียงแค่ยืนและก้มศีรษะ

ตามที่ได้มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเช็กว่าเป็นโรคหลอดเลือดตีบที่สมองด้วยตนเอง เพียงแค่ยืนและก้มศีรษะ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีคำแนะนำด้านสุขภาพโดยเช็กว่าเป็นโรคหลอดเลือดตีบที่สมองด้วยวิธีการยืนและก้มศีรษะ จับความรู้สึกของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการหัวขยายใหญ่ หูอื้อ แน่นจมูก ปวดเบ้าตานั้น ทางสถาบันประสาทวิทยา ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเป็นชนิด ตีบ อุดตัน หรือแตก วินิจฉัยจากอาการเป็นหลัก เพราะความผิดปกติที่ถือเป็นโรค ส่วนใหญ่ทำให้เกิดอาการแบบฉับพลันหรือทันทีทันใด อาทิ อาการพูดลำบาก ปากตก แขนขายกไม่ขึ้น หรือการทรงตัวผิดปกติ ซึ่งการทดสอบอาการตามคำกล่าวอ้าง ได้แก่

  1. การยืนและก้มศีรษะต่ำตามคลิปนั้น เป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเมื่อเงยหน้าขึ้นอาจจะทำให้มีอาการหน้ามืด หมดสติ หรือล้ม เกิดอันตรายได้ และในบางรายที่มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูก อาจจะทำให้อาการบาดเจ็บเป็นมากขึ้นได้
  2. การจับความรู้สึกว่าหัวขยายใหญ่ขึ้นหรือไม่ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากกะโหลกศีรษะในผู้ใหญ่ปกติ จะไม่สามารถขยายขนาดได้
  3. การจับความรู้สึกหูอื้อ แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก หรือปวดเบ้าตา ไม่ใช่อาการของโรคหลอดเลือดสมอง แต่ท่าทางดังกล่าว สามารถทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้
  4. ไม่มีการตรวจไม่พบโดยแพทย์แผนปัจจุบัน หรือการตรวจด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีแต่ตรวจพบมากเกินไป ที่บางครั้งอาจจะไม่ได้ทำให้เกิดความผิดปกติ แต่บังเอิญเจอ
  5. อาการผมร่วง และหน้ามีจ้ำ ไม่ใช่อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

โดยท่าดังกล่าวเป็นอันตรายมาก ๆ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ไม่ควรทำ และหากมีอาการ พูดลำบาก ปากตก แขนขายกไม่ขึ้น ทรงตัวไม่ได้ ที่เป็นฉับพลันหรือทันทีทันใด ควรไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที หรือโทร 1669 เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพจากโรคหลอดเลือดสมองได้

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม อย่าแชร์! วิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม

ตามที่มีข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีคลิปแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพโดยระบุว่าวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าคีโมหรือเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ใช้ยาหลายรูปแบบ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยการทำคีโมอาจมีผลทำให้เซลล์ปกติของร่างกายถูกทำลาย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เบื่ออาหาร ผมร่วง ร้อนใน มีแผลในเยื่อบุต่าง ๆ ภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น อาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา รวมทั้งสภาวะความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย

ทั้งนี้ อาการข้างเคียงดังกล่าวข้างต้นจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหยุดการรักษาอาการต่าง ๆ ก็จะหายไป จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าวิธีลดผลข้างเคียงในการทำคีโม โดยเน้นการกินอาหารที่มีไขมันและโปรตีน ลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล (การกินคีโต) การอดอาหารโดยการทำ Intermittent Fasting (IF) หรือการอดอาหารเป็นช่วงๆ รวมทั้งการกินผักที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์นั้น ไม่สามารถลดผลข้างเคียงในการทำคีโมได้ เนื่องจากหากร่างกายของผู้ป่วยที่ทำคีโมอยู่ในภาวะขาดอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลเสียต่อการรักษา และการรับประทานอาหารครบหมู่ตามความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว นอกจากนี้ช่วงการทำคีโมควรงดการกินผักและผลไม้สด เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ทำคีโมควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น และหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น มีไข้สูงและปวดหัวผิดปกติ เลือดออกง่ายหรือมีรอยช้ำที่ไม่ทราบสาเหตุ เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงและหายใจลำบาก ผู้ป่วยควรพบแพทย์หรือนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 9 กันยายน 2565

เตือนภัย : หลอกเป็นโค๊ชลงทุนติดอันดับโลก สุดท้ายเชิดเงินกว่า 2,000 ล้าน

รายการ “เอ๊ะ เขาโกงกันอย่างไร” จากเพจตำรวจไซเบอร์ ชี้กรณีคดีดัง “โค๊ชนัทตี้” เป็นแชร์ลูกโซ่อีกรูปแบบดังที่ล่อเหยื่อจากการเป็นเนทไอดอล ด้วยการเล่าเรื่องนิยายโกหกจากลูกคุณหนูตกอับมาเป็นนักเต้น และเซียนหุ้นระดับโลก ชวนแฟนคลับเทรดหุ้น และเชิดเงินไปกว่าสองพันล้านบาท

ขณะนี้มีผู้เสียหายลงขันให้ผู้แจ้งเบาะแสจับ นัทตี้ ด้วยค่าหัวหนึ่งล้านบาท โดยรายละเอียดการล่อลวงลักษณะแชร์ลูกโซ่ คือการโอ้อวดว่าตนเองเทรดหุ้นเก่งติดอันดับโลก สามารถเทรดได้กำไรวันเดียวสี่ล้านบาท และยังการันตีผู้มาร่วมลงทุนว่าจะได้เงินต้นคืนครบแน่นอน ซึ่งขัดกับความจริงในการซื้อขายหุ้น ว่าไม่มีใครจะรับประกันกำไรได้ในตลาดหุ้นที่มีความเสี่ยง หนึ่งในเหยื่อลงทุนไปล้านนึงได้กำไรมาสี่แสนจึงทบเงินเข้าไปสิบห้าล้านบาท และขวนเพื่อนเข้าไปร่วมลงทุนรวมหมด 37 ล้านบาท หลังโดนเชิดเงินจึงตั้งค่าหัวนัทตี้หนึ่งล้านบาท สำหรับผู้แจ้งเบาะแส

จากครูสอนเต้นออนไลน์ เนทตี้ ก็สร้างภาพเป็นกูรู โค๊ชนัทตี้ ในปี 2564 ซึ่งมีคนดูมากกว่าสามแสนคน สิ่งที่แอบใส่เข้ามาในคลิปคือการโอ้อวดความรวยเช่น การใช้กระเป๋าแบรนเนม โชว์รถสปอร์ต เพชรพลอย เป็นต้น ล่าสุดมีคนพบเห็นว่าหนีไปต่างประเทศ

ที่มา : ศูนย์ตำรวจไซเบอร์ PCT Police

รวมเบอร์สายด่วน ขอความช่วยเหลือภัยน้ำท่วม

☔️ในช่วงนี้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ในประเทศไทย ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงได้รวบรวมเบอร์โทรสายด่วนขอความช่วยเหลือน้ำท่วมไว้ ดังต่อไปนี้

ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วมขอความช่วยเหลือ โทร 1193

จส.100 สำหรับแจ้งเหตุ และประสานความช่วยเหลือ โทร 1137

สวพ.FM91
สำหรับแจ้งเหตุ และประสานความช่วยเหลือ โทร 1644

สายด่วนจราจร โทร 1197

ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สายด่วนแจ้งเตือนภัยน้ำท่วม โทร 1111 กด 5

กรมอุตุนิยมวิทยา สายด่วนข้อมูลสภาพอากาศ โทร 1182

สภากาชาดไทย สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย โทร 1664

บริการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นำส่งโรงพยาบาลกู้ชีพ โทร 1669

🚨หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรฉุกเฉินเหล่านี้ได้เลยครับ

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 8 กันยายน 2565

ข่าวปลอม : ออสเตรเลียรับสมัครคนทำสวน รายได้สูง

ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องออสเตรเลียรับสมัครคนทำสวน ที่พักฟรี รายได้สูง 80,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการบอกต่อข้อมูลโดยระบุว่าออสเตรเลียรับสมัครคนทำสวน ที่พักฟรี รายได้สูง 80,000 บาท ทางกรมการจัดหางาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่ารัฐบาลออสเตรเลียได้ริเริ่มการเจรจาหารือ เพื่อดำเนินโครงการวีซ่าเกษตรออสเตรเลียกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกันเมื่อช่วงกลางปี 2564 เป็นต้นมา โดยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม การแปรรูปเนื้อสัตว์ อุตสาหกรรมประมงและป่าไม้ในออสเตรเลีย ซึ่งประเทศไทยได้จัดประชุมหารือร่วมกับประเทศออสเตรเลียในประเด็นต่าง ๆ แต่จากที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลออสเตรเลียชุดใหม่ ทางการออสเตรเลียจึงยกเลิกข้อเสนอที่จะดำเนินโครงการดังกล่าวกับประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายน 2565

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : โชค(ร้าย) 3 ชั้น

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยถ้าเฉลียวสักนิด ทำไมจะคิดไม่ทัน ว่าเกมส์ทั้งหลายที่ระบาดอยู่ตอนนี้ คือ มิจฉาชีพ ที่ดักเอาเงินคุณทั้งนั้น

เกมส์ต่างๆ ที่แสนจะง่าย เพื่อล่อแมงเม่าไปเข้ากองไฟ หวังเอารางวัลเงินหลักพัน

#โชค (ร้าย) ชั้นที่ 1

หากหลงบินเข้าไป เขาก็จะบอกให้โอนค่าธรรมเนียม เสียภาษี ณ ที่จ่าย หรือมุกอะไรแล้วแต่ เพื่อให้คุณ #โอนให้เขาก่อน ย้ำ ว่า #โอนให้เขาก่อน แล้วคุณก็นั่งรอไปเถอะ รางวัลของคุณ มันไม่โอนกลับมาหรอก

#โชค (ร้าย) ชั้นที่ 2

หลอกให้คุณกรอกแบบฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร เลขบัญชี แล้วเขาก็เอาข้อมูลเหล่านี้ ไปเป็นฐานในการส่งอะไรมาหลอกคุณแล้วคุณเล่า

#โชค (ร้าย) ชั้นที่ 3หลอกคุณเข้าเวบพนันออนไลน์ ที่คุณจะเล่นยังไงก็ไม่มีวันชนะ เพราะเขียนโปรแกรมเอาไว้แล้วว่า เจ้าต้องได้ตังค์หลอกคุณเข้าเวบพนันออนไลน์เจอพวกนี้ กดรีพอร์ตรัวๆ ใครไปทำงานพวกนี้ จับได้อย่ามาบอกนะว่าโดนหลอกมา

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์ PCT Police


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 7 กันยายน 2565

ระวัง : อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพอ้างขายเมล็ดพันธุ์กัญชาคัดพิเศษ

กรณีที่มีข่าวแอบอ้างว่ามีเมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์กัญชาพันธุ์หางกระรอกภูพานเอสที 1 และพันธุ์กัญชาชนิดอื่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ออกจำหน่าย นั้น

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันว่า ยังไม่มีการจำหน่ายหรือแจกจ่ายเมล็ดและกิ่งพันธุ์แต่อย่างใด ซึ่งเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ขณะนี้ไว้สำหรับการศึกษาวิจัย สำหรับการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์นั้น จะดำเนินการแจกจ่ายได้เมื่อมีการขึ้นรับรองพันธุ์พืชให้เรียบร้อยก่อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเมล็ดพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์ ที่ส่งมอบให้กับพี่น้องประชาชน หรือหน่วยงานที่สนใจในการปลูกกัญชาได้รับเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ

กรมวิทย์ฯ ยืนยันว่า ยังไม่ได้มีการจำหน่ายจ่ายแจกเมล็ดพันธ์ดังกล่าวต่อประชาชน จึงเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อการชักชวนจากมิจฉาชีพ

ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข้อแนะนำ : ดูแลสุขภาพ เท้าเมื่อต้องลุยฝน

กรมอนามัยแนะนำ 4 ข้อ ดูแลสุขภาพเท้าเมื่อต้องลุยฝน

1.ตัดเล็บเท้าให้สั้น ทำความสะอาดซอกเล็บทุกวันป้องกันแบคทีเรีย
2.เปลี่ยนถุงเท้าคู่ใหม่ทุกวัน และหากรองเท้าเปียกชื้น ควรนำไปผึ่งให้แห้งก่อนสวม
3.สวมรองเท้าแบบเปิด ไม่ใส่รองเท้าที่คับเกินไป เลือกรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี
4.ถ้าย่ำน้ำขังให้ล้างเท้าทันที นำรองเท้าเปียกไปทำความสะอาด ตากแดดจัด เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://multimedia.anamai.moph.go.th/infog…/info_footcare

ที่มา : กรมอนามัย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 6 กันยายน 2565

4 เรื่องต้องรู้ หลังกฎหมายจราจรใหม่ มีผลบังคับใช้ 5 ก.ย. นี้


1) เพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ
• กระทำผิดครั้งแรก มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
• หากทำผิดซ้ำภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กระทำความผิดครั้งแรก เพิ่มอัตราโทษ เป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000 – 100,000 บาท และศาลจะลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ (ม.160 ตรี/1 และ 160 ตรี/3)

2) เพิ่มอัตราโทษที่เป็นปัจจัยต่อการเกิดอุบัติเหตุ เป็นปัจจัยเสี่ยง ในการสูญเสียของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทาง
2.1 เพิ่มอัตราโทษปรับ เช่น
• ขับรถเร็วเกินกำหนด ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
• ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
• ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
• ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
• ไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
• ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
2.2 เพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น
• เพิ่มอัตราโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3) กำหนดความผิดเกี่ยวกับการแข่งรถในทาง เพิ่มเติม ดังนี้
3.1 ความผิดฐานพยายามแข่งรถ กำหนดเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ร่วมกลุ่มหรือมั่วสุมในทางหรือสาธารณสถานใกล้ทาง ด้วยรถตั้งแต่ 5 คันขึ้นไป ถือว่า “พยายามแข่งรถในทาง” หากมีเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
• นัดหมายเพื่อแข่งรถกันมาก่อน หรือ
• รถดัดแปลง /ปรับแต่ง มีสภาพไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ
• มีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดอันแสดงให้เห็นว่าจะทำการแข่งรถในทาง
มีโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง (การแข่งรถในทาง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
3.2 ผู้จัด ผู้โฆษณา ประกาศ ชักชวน ให้มีการแข่งรถ
• มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 10,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.3 ร้านรับแต่งรถ เมื่อรถนั้นถูกนำไปใช้แข่งรถในทาง
• ต้องรับโทษในฐานะผู้สนับสนุน มีโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง (การแข่งรถในทาง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับตั้งแต่ 5,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

4) กำหนดเรื่องการรัดเข็มขัดนิรภัย
4.1 รถที่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถตู้
4.2 รถกระบะ ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยในที่นั่งตอนหน้า กรณีเป็นรถกระบะสองตอนผู้โดยสารตอนหลัง ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยด้วย
หากฝ่าฝืนไม่รัดเข็มขัด ตามข้อ 4.1 และ 4.2 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง

เรียนรู้จากคดี : แก๊งคอลเซนเตอร์ปลอมเป็นตำรวจขู่พัวพันฟอกเงิน

สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.2560 ผู้เสียหายถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรศัพท์ติดต่อมาหา อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทขนส่ง แจ้งว่ามีพัสดุถูกตีกลับอยู่ที่ด่านศุลกากร ภายในกล่องเป็นของผิดกฎหมาย และหลังจากนั้นจะให้พูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้โทรศัพท์ติดต่อเข้ามาอีกสาย อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี แจ้งให้ผู้เสียหายลงบันทึกประจำวันผ่านทางไลน์ โดยขอให้ยืนยันตัวตนโดยการให้บอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ-นามสกุล, เลขบัตรประจำตัวประชาชน หลังจากนั้นได้ข่มขู่ผู้เสียหาย ว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการฟอกเงิน ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ผู้เสียหายแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร, เลขบัตร ATM, รหัส PIN และ ยอดเงินคงเหลือ มาให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ สูญเงินไปจำนวน 200,000 บาท

จากการตรวจสอบของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำไปสู่การจับกุมวัยรุ่นหนึ่งคน ที่เปิดบัญชีม้าให้แก๊งคอลเซนเตอร์ ซึ่งคดีนี้สอนให้รู้ถึงกลลวงแก๊งคอลเซนเตอร์ และเตือนใจประชาชน อย่ายอมรับจ้างเปิดบัญชีม้าให้ใคร เพราะท้ายที่สุดอาจติดคุกคนเดียว

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)

เตือนภัย : มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์

ล่าสุด แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้วิธีหลอกเหยื่อ โดยเริ่มจากระบบตอบรับอัตโนมัติ แจ้งว่า “เบอร์โทรมีปัญหา หมายเลขของคุณกำลังจะถูกตัดการใช้งาน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ให้ กด 0”

หากได้รับการติดต่อในลักษณะนี้ ขอให้ท่านกดวางสายได้ทันที เพราะหากเป็นสายจากผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์จริง พนักงานจะแจ้ง ชื่อ-นามสกุล หมายเลขพนักงาน ก่อนแจ้งรายละเอียดการบริการที่ท่านจะได้รับต่อไป

อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจ ท่านสามารถติดต่อสอบถามไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์นั้นๆ ว่าข้อมูลที่ได้รับมาเป็นความจริงหรือไม่ และไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวหรือทำการโอนเงินโดยที่ไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดให้ดีเสียก่อน

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 5 กันยายน 2565

ระวัง : “คนผ่อน (รถ) ไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ผ่อน”

ผู้ที่ต้องการขายรถที่ยังติดไฟแนนซ์อยู่ หรือที่เรียกกันว่า “ขายดาวน์รถ” สำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือนว่าตามกฎหมายแล้วจะไม่สามารถทำได้ เพราะกรรมสิทธิ์รถยังเป็นของไฟแนนซ์อยู่ ผู้ขายดาวน์อาจเสียทั้งรถ เสียทั้งทรัพย์

ปัจจุบันมีผู้ครอบครองรถบางราย นำรถที่ติดไฟแนนซ์ไปขายดาวน์ให้กับผู้อื่น ซึ่งปัญหาที่จะตามมาในภายหลังที่พบบ่อยที่สุดก็คือ ผู้ที่ซื้อรถต่อ ไม่ยอมผ่อนชำระค่างวดรถ ทำให้ผู้ครอบครองรถต้องแบกรับภาระผ่อนค่างวดกับทางไฟแนนซ์ตามสัญญาเดิมที่ทำไว้ก่อนหน้า

ตำรวจสอบสวนกลาง จึงแนะนำว่า หากเจ้าของรถปิดยอดรถกับทางไฟแนนซ์ไม่ได้ แต่จำเป็นที่จะต้องขายดาวน์รถให้ผู้อื่น สิ่งแรกที่ควรจะทำคือเจ้าของรถควรขอเปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อกับทางไฟแนนซ์เป็นชื่อผู้รับซื้อดาวน์รถให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันปัญหา “คนผ่อนไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ผ่อน”

ที่มา : เพจตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)

ข่าวปลอม : เคี้ยวเม็ดมะละกอสุก รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน

ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีคลิปวิดีโอแนะนำข้อมูลสุขภาพโดยระบุว่าเคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าจากข้อมูลวิชาการ ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าการรับประทานเมล็ดมะละกอสุกช่วยรักษามะเร็งระยะสุดท้ายในคนได้

อย่างไรก็ตาม เมล็ดมะละกอประกอบไปด้วยสารต่าง ๆ เช่น กรดไขมัน โปรตีน และใยอาหาร เป็นต้น เมล็ดมะละกอถูกนำมาใช้ปรุงอาหารหรือทำเป็นยารักษาโรคตามภูมิปัญหาพื้นบ้านในบางประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยที่พบสารสำคัญของเมล็ดมะละกอ เช่น สารเบนซิลกลูโคซิโนเลต (benzyl glucosinolate) ซึ่งจะถูกไฮโดรไลท์ไปเป็นสารเบนซิลไอโซไทโอไซยาเนท (benzyl Isothiocyanate) ที่มีผลการศึกษาว่าสามารถช่วยยับยั้งการแบ่งตัวเซลล์มะเร็ง แต่การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เป็นเพียงการศึกษาที่อยู่ในระดับหลอดทดลองเท่านั้น และยังไม่มีการศึกษาในระดับสัตว์ทดลองหรือในมนุษย์ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายขั้นตอน

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ หรือ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (nci.go.th) หรือโทร. 02 2026800

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

เตือนภัย : ใช้บัตรไม่ระวัง โดนเอาไปฟอกเงินผ่านเว็บไซต์พนัน

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือนประชาชนระมัดระวังการใช้บัตรเครดิตซื้อของออนไลน์ ควรซื้อกับร้านค้าที่ใช้รหัสโอทีพี (OTP) และ ติดตั้งการรับข้อความเตือนจากธนาคาร (SMS Alert) ทุกครั้งที่มีการใช้บัตรเครดิต เพื่อป้องกันมิจฉาชีพโจรกรรมข้อมูลบัตร

สืบเนื่องจากการที่ธนาคารได้แจ้งเบาะแสตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บัตรเครดิต โดนนำไปใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ จึงนำไปสู่การจับกุมแก๊งอาชญากร

โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ที่จะใช้เงินสกุลดิจิทัล ซื้อข้อมูลบัตรเครดิตผู้อื่นจากดาร์กเว็บ (Darkweb) แล้วนำข้อมูลไปตระเวนเปิดโรงแรมและสั่งอาหารโดยชำระผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะใช้ห้องพักของโรงแรมดังกล่าวเป็นสถานที่กรอกข้อมูลบัตรเครดิตของผู้อื่น ผ่านเว็บไซต์ให้บริการเติมเงินออนไลน์

ตำรวจสอบสวนกลางจึงเตือนภัยประชาชนให้ระมัดระวังในการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ในการทำธุรกรรม เช็คความน่าเชื่อถือของร้านค้าออนไลน์ และควรทำธุรกรรมกับร้านค้าที่ใช้ OTP และตั้ง SMS Alert เมื่อมีการใช้บัตร

ที่มา : เพจตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)

บทเรียนจากคดี : หลอกรัก หลอกตุ๋น สุดท้ายสูญเกือบล้านกับพัสดุทิพย์

เรียนรู้จากคดี ความผิดทางคอมพิวเตอร์ เรื่องนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2563 คนร้ายแก๊งโรแมนซ์สแกม (หลอกรัก หลอกตุ๋น)

ได้อ้างตัวเป็นชาวต่างชาติ ติดต่อมาพูดคุยกับผู้เสียหายผ่านเฟซบุ๊ก หลังจากนั้นได้อ้างว่าจะจัดส่งพัสดุที่มีเงินสดหนึ่งล้านห้าแสนดอลล่าร์สหรัฐมาให้ผู้เสียหายเพื่อซื้อบ้านพัก และทําบุญช่วยเหลือเด็กกําพร้า โดยระหว่างนั้น แก๊งคนร้ายได้มีการอ้างตัวเป็นบริษัทขนส่ง แจ้งให้ผู้เสียหายเสียค่าภาษี ค่าทําเอกสาร และค่าดําเนินการในการจัดส่งพัสดุดังกล่าวเป็นเงินกว่า 874,000 บาท ซึ่งเมื่อผู้เสียหายโอนเงินไปแล้ว ภายหลังกลับไม่ได้รับทรัพย์สินตามที่กล่าวอ้าง จึงเชื่อว่าถูกหลอก จึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์

อย่างไรก็ตาม ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการประทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ได้จับกุมคนร้ายแล้ว แต่การหลอกลวงในลักษณะเดียวกันก็ยังคงเกิดขึ้นได้ ยกเว้นว่าประชาชนจะรู้เท่าทันอย่างทั่วถึง

ที่มา : เพจตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 4 กันยายน 2565

เตือนภัย : หลอกให้รักแล้วชวนซื้อคริปโต ท้ายสุดสูญเงินล้าน

เรื่องนี้เป็นการร้องเรียนต่อตำรวจไซเบอร์ ของชายอายุ 70 ปีที่โดนผู้หญิงหลอกให้รักแล้ว ชวนลงทุนในการซื้อขายเงินคริปโต เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งลุงท่านนี้ มีหญิงสาวสวยทักเข้ามาในเฟซบุ๊ก และต่อมาได้แอดไลน์กัน ผู้หญิงบอกตนเองเป็นนักธุรกิจอยู่ที่เชียงใหม่ และเริ่มสนิทสนมด้านชู้สาวโดยใช้คำเรียกว่า “ที่รัก” และเริ่มมีใจให้กัน ฝ่ายหญิงจึงเริ่มชวนคุณลุงลงทุนอ้างว่า “เราจะรวยไปด้วยกัน” และส่งแอปพลิเคชั่นให้คุณดาวน์โหลด

อ้างว่าเป็นแอปฯ ซื้อขาย คริปโทเคอร์เรนซี คุณลุงอยากทดลองลงทุนจึงโอนเงินไปงวดแรก 18,000 บาท ปรากฏว่าคุณลุงได้กำไร 20% อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็เริ่มโอนเพิ่มไปเป็น 300,000 บาท ได้กำไรมา 17,000 บาท และมีการโอนหลายครั้ง ลุงจึงบอกว่าต้องการจะหยุด แต่โดนหว่านล้อมจนใจอ่อนยอมโอนเงินเพิ่มไปเรื่อย ๆ

โดยที่ผู้หญิงอ้างว่าให้เพิ่มอีกนิดเดียวก็จะกำไร ห้าสิบล้านบาท แล้วค่อยเลิก และเอาเงินมาแบ่งกัน จนคุณลุงหลงเชื่อโอนไปอีก ล้านสอง และอีกหนึ่งล้าน จนยอดโอนรวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง มียอดรวมสูงถึง สี่ล้านแปดแสนเก้าหมื่นแปดพันบาท คุณลุงจึงแจ้งว่าจะถอนแล้ว เพราะเงินหมดแล้ว แต่ผู้หญิงก็อ้างว่า ต้องโอนเงินค่าภาษีจากกำไรที่ได้ เป็นจำนวน 8 ล้านบาท คุณลุงจึงเริ่มหารู้สึกว่าตนเองอาจตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

การหลอกลวงนี้ตำรวจไซเบอร์เรียกว่า “ไฮบริค” ที่เริ่มมาจากการหลอกให้รักแล้วอ้างเรื่องราวให้มีการโอนเงินไปให้ แต่ “ไฮบริคสแกม” (hybrid scam) หรือการรวมการหลอกสองประเภท คือ หลอกให้รัก (roman scam) และหลอกให้ลงทุน

ลักษณะของ “ไฮบริคสแกม” คือจะรักหรือไม่รักก็ได้ แต่จากการสนิทสนมก็จะชวนลงทุน

รูปแบบของการหลอกลวง คือ หลังจากที่มิจฉาชีพชวนลงทุนซื้อเงินคริปโตก็จะแอปฯที่เป็นกระดานซื้อขายปลอม เมื่อมียอดโอนเงินเข้ามาผ่านบัญชีม้า ตัวเลขในแอปฯ ปลอมก็ขึ้นเป็นกราฟที่ดูเหมือนของจริง ซึ่งแอปฯ เถื่อนเหล่านี้ สามารถหลุดผ่านระบบของโทรศัพท์มือถือเข้ามาได้ 

โดยตำรวจไซเบอร์ ชี้ว่าเหยื่อทุกคนจะพลาดที่จุดเดียวคือกำไรที่มากเกินไป จึงติดกับดัก และยอมลงทุนต่อเนื่อง จนสุดท้ายเสียเงินไปเป็นจำนวนมากอย่างเช่น ชายอายุ 70 ปี คนนี้

จึงเตือนให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อว่าการชักชวนลงทุนที่ได้กำไรเกินจริง อาจตกเป็นเหยื่ออันโอชะของมิจฉาชีพ

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์ PCT Police

เตือนภัย : ธนาคารออมสิน เปิดสินเชื่อเงินกู้ด่วย ผ่านช่องทาง ไลน์ Official Sawika Saengsuwan

ตามที่มีกระแสข่าวการเงินการธนาคารเกี่ยวกับเรื่อง ธนาคารออมสินจับมือร่วมกับไลน์ Official Sawika Saengsuwan เปิดให้ประชาชนกู้สินเชื่อ มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ธนาคารออมสิน ระบุว่า ธนาคารไม่มีนโยบายจับมือปล่ยสินเชื่อเงินกู้ส่วนบุคคลร่วมกับไลน์ Official Sawika Saengsuwan

ออมสิน ย้ำ ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลของธนาคารได้ที่ www.gsb.or.th โทร. 1115

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://lkjhddfde

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : ยาสีฟัน OK Clear รักษาฟันโยก ฟันผุ เห็นผลภายใน 2 นาที

ตามที่มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเรื่องยาสีฟัน OK Clear รักษาฟันโยก ฟันผุ เห็นผลภายใน 2 นาที นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ยาสีฟัน โอเค เคลียร์ (OK Clear) มีเลขที่ใบรับจดแจ้งจริง เลขที่ 40-1-630-003-834-7 แต่ไม่ได้มีการยืนขอสรรพคุณรักษาฟันผุ และฟันโยก ฟันคลอน ภายใน 2 นาที

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://loortrleeerde

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 3 กันยายน 2565

เตือนภัย : ระวัง 5 ข้อความเอสเอ็มเอสหลอกลวง

หลายท่านอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ที่อยู่ดี ๆ ก็มีข้อความเข้ามาทางโทรศัพท์ จากแหล่งที่เราไม่ได้สมัคร และเราก็ไม่รู้จักกับคนที่ส่งมา เข้ามามากมาย จากการตรวจสอบพบว่าในปัจจุบันการหลอกลวงผ่านข้อความ SMS มิจฉาชีพได้ส่ง SMS หลอกลวงโดยจะใช้คำกล่าวอ้าง มีดังนี้

1. อ้างว่าเป็นตัวแทนของ Shopee หรือ Lazada เชิญชวนให้มาทำงานสร้างยอดซื้อขายสินค้า

2. อ้างว่าเป็นธนาคาร ติดต่อมาแจ้งสิทธิ์ในการกู้เงิน

3. อ้างว่าได้รับโบนัสเงินฟรี ชักชวนให้เล่นพนันออนไลน์

4. อ้างว่าท่านได้รับเงินช่วยเหลือ โดยให้กดลิงก์เพื่อสมัครสมาชิก

5. อ้างว่าท่านเป็นผู้ใช้ TikTok ที่มีประวัติดี เชิญชวนมาทำงานออนไลน์

อย่าหลงกลโจร หยุดคิดก่อนตอบรับ

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์  PCT POLIC

เตือนภัย : อ้างดูดวงจากบัตรเอทีเอ็ม กลายเป็นหลอกดูข้อมูลหลังบัตร

หลังจากที่มีการโพสต์ รับดูดวงจากรหัสบัตร ATM โดยอ้างว่าสามารถทำนายดวงชะตาได้ ดูได้ว่าจะรวยถาวรหรือล้มละลายจากรหัสบัตร ATM แล้วยังรับออกแบบรหัสบัตร ATM ให้ผู้ที่สนใจอีกด้วย

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอเตือนสาย “มูเตลู” ทุกท่านว่า การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงในโลกออนไลน์ อย่างเช่น รหัส เลขหน้าบัตรหรือหลังบัตร เดือนปีหมดอายุของบัตร ATM หรือบัตรเครดิต อาจทำให้เราตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ เพราะมิจฉาชีพอาจนำข้อมูลเหล่านี้ไปรวมกับข้อมูลส่วนตัวของเรา จนสามารถเข้าถึงเงินในบัญชีธนาคารของเราได้ในที่สุด

ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง

ผู้บริโภคต้องรู้ มิจฉาชีพเอาชื่อ ที่อยู่มาจากไหน

  1. ทำเว็บไซต์หลอก เช่น เปิดรับสมัครงานโดยให้ใส่ชื่อ-นามสกุล, เลขบัตรประชาชน, ที่อยู่, อายุ, วันเดือนปีเกิด, เบอร์โทร เลขที่บัญชีธนาคาร เป็นต้น
  2. เอาข้อมูลส่วนตัวในคอมเมนต์ของเพจที่มีการให้พรีออเดอร์สินค้าหรือทำการดึงข้อมูลส่วนตัวมาจากภาพกล่องพัสดุที่ร้านค้าออนไลน์โพสต์ลงในหน้าเพจเพื่อแจ้งการส่งสินค้า โดยไม่มีการเซนเซอร์ข้อมูลชื่อและที่อยู่ของลูกค้า
  3. เอาจากบนกล่องพัสดุที่ถูกทิ้งโดยไม่ได้มีการนำข้อมูลชื่อและที่อยู่ออกจากกล่องพัสดุก่อน
  4. ข้อมูลส่วนตัวอย่างชื่อและที่อยู่รวมถึงเบอร์โทรศัพท์อาจมีการรั่วไหลจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทที่เกี่ยวกับการค้าขายหรือบริษัทด้านการขนส่ง ที่อาจมีการลักลอบนำข้อมูลลูกค้าออกไป

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 2 กันยายน 2565

เตือนภัย : หลอกว่าได้รางวัล ท้ายสุดเสียเงินก้อนโต

ตำรวจไซเบอร์เตือน ประชาชน อย่าหลงเชื่อการชักชวนร่วมสนุกตอบคำถามชิงรางวัล ที่คุณอาจจะไม่ใช่ผู้โชคดี แต่อาจเป็นคนโชคร้ายก็เป็นได้‼️

หากหลงเชื่อร่วมกิจกรรม และตอบถูกต้อง

มิจฉาชีพจะส่งข้อความมาพูดคุยกับเรา เพื่อหลอกให้โอนเงินค่าภาษี หรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปให้โดยมักจะอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ เช่น

1. อ้างว่าต้องจ่ายค่าภาษี หรือค่าธรรมเนียมก่อนรับรางวัล หากหลงเชื่อโอนเงินไปแล้วจะถูกบล็อกไม่สามารถติดต่อได้ในทันทันที

2. อ้างว่าต้องส่งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลบัญชีธนาคาร เพื่อดำเนินการตรวจสอบก่อนรับรางวัล ซึ่งอาจจบด้วยการโดนล้วงเงินออกจากธนาคาร

3.จะมอบเงินรางวัลในรูปแบบของเครดิตในเว็บไซต์พนันออนไลน์ เพื่อหลอกล่อให้สมัครเข้าเล่นพนันออนไลน์ในเว็บไซต์ของมิจฉาชีพ

ขอให้ทุกท่านระมัดระวังโพสต์ หรือข้อความที่ชักชวนให้เล่นกิจกรรมลุ้นรับของรางวัล ควรดูความน่าเชื่อถือของผู้จัดกิจกรรมก่อนทุกครั้ง เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ที่มา : ตำรวจไซเบอร์  PCT POLICE

ข่าวเตือนภัย : แอปพลิเคชัน SPELL หั่นราคา แชร์ลูกโซ่มิติใหม่

ตามที่มีกระบนโลกออนไลน์มากมายเกี่ยวกับประเด็น เรื่อง แอปพลิเคชัน SPELL หั่นราคาสินค้าราคาถูกมีคุณภาพ เงื่อนไข ง่ายๆ ผู้ซื้อสินค้าจะต้องหาสมาชิกร่วมลงทุนหั่นราคาจะได้รับสินค้าและค่าปันผลร้อยละ 10 – 20 % นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ระบุว่า แอปพลิเคชัน SPELL หั่นราคา เป็นการแชร์ลูกโซ่มิติใหม่ ขอให้นักช้อประมัดระวัง เนื่องจากมีนักช้อปหลายคนตกเป็นเหยื่อ

โดยแอปพลิเคชัน SPELL ใช้กลโกงแอบอ้างว่าเป็นแอปฯ ขายสินค้ามีคุณภาพ ราคาถูกกว่าที่อื่น แต่มีเงื่อนไขว่านักช้อปต้องดำเนินการหาสมาชิกที่จะลงทุนในการหั่นราคา โดยอ้างว่าสมาชิกที่ลงเงินหั่นราคา เท่าราคาสินค้าของผู้ซื้อ (ผู้ลงทุน) จะได้เงินปันผลร้อยละ 10-20 เท่าราคาสินค่าเมื่อครบระยะเวลที่กำหนด

ที่มา : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)

ผู้บริโภค ต้องรู้ ซื้อใบขับขี่ออนไลน์ น่ากลัวกว่าที่คิ

มิจฉาชีพมีมุกใหม่อยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ขนส่ง ใช้มุกทำใบขับขี่ออนไลน์ ห่างไกลวิด 19 มาดูวิธีโกงของมิจฉาชีพทำใบขับขี่ 3 แบบกันดีกว่า

  1. มิจฉาชีพมักหลอกให้ผู้บริโภคโอนเงินเพื่อให้ได้ใบขับขี่ แต่ความเป็นจริงไม่ได้อะไร
  2. มิจฉาชีพหลอกให้ผู้บริโภคโอนเงิน และส่งใบขับขี่ปลอม
  3. มิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน แต่กลับไม่ได้อะไร แทบโดนขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

ที่มา : กระทรวงยุติธรรม


ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 1 กันยายน 2565

เตือนภัย : รัฐบาลแจกเงินสดให้ประชาชนใช้จ่าย 1,000 – 5,000 บาท

จากกรณีบนโลกออนไลน์ได้แชร์นโยบายรัฐบาลใหม่แจกเงินสดให้ประชาชนใช้จ่าย 1,000 – 5,000 บาท นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กรมบัญชีกลาง ระบุว่า รัฐบาลไม่ได้มีนโยบายแจกเงินสดให้กับประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้าง และให้ประชาชนต้องระมัดระวังข่าวนี้ด้วย เนื่องจากมีผู้ไม่หวังดีปล่อยข่าวที่ไม่ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://loklldfde

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ภัยร้ายออนไลน์ที่ผู้บริโภคประสบปัญหามากที่สุด

  1. หลอกให้ลงทุนทิพย์
  2. หลอกให้กู้เงินออนไลน์ ดอกเบี้ยสูง
  3. พนันออนไลน์ เล่นครั้งเดียวหมดตัว
  4. หลอกสมัครงาน มีค่ามัดจำ
  5. ลิงก์ปลอมขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

ที่มา : สำนักงานข่าวไทย

เตือนภัย : ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และบริษัท สินเชื่อเงินด่วนออนไลน์ เปิดกู้สินเชื่อส่วนบุคคลผ่านช่องทางไลน์ส่วนตัว

ตามที่มีกระแสบนช่องทางออนไลน์เกี่ยวกับเรื่อง ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และบริษัท สินเชื่อเงินด่วนออนไลน์ เปิดกู้สินเชื่อส่วนบุคคลผ่านช่องทางไลน์ส่วนตัว นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ธนาคารไม่นโยบายปล่อยกู้สินเชื่อร่วมกันตามที่มีการกล่าวอาจ และไม่มีนโยบายให้ประชาชนกู้สินเชื่อผ่านช่องทางไลน์ส่วนบุคคล

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://llfkjikpo

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย

ข่าวปลอม : รายชื่อยา 6 ชนิด ควรมีไว้รักษาโควิด 19

ตามที่มีข้อความบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องข้อมูลน่าสนใจยา 6 ชนิด ที่ควรซื้อติดบ้านไว้รักษาโควิด 19 ด้วยตัวเอง ได้แก่ พาราเซตามอล ยาขับเสมหะ แอมบรอกซอล แนคลอง เดกซ์โทรเมทร์แฟน ฟ้าทลายโจร วิตามินซี นั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรมการแพทย์ ได้ระบุว่า ข้อมูลที่แชร์ดังกล่าวมีความไม่ถูกต้อง เนื่องผู้ป่วยโควิด 19 ไม่ควรรักษาอาการด้วยการซื้อยาทานเอง ผู้ป่วยควรลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ Home isolation (การแยกกักตัวที่บ้าน) จากสถานพยาบาล เพื่อได้รับยารักษาอาการได้อย่างถูกต้อง

ที่มา : กรมการแพทย์


#สภาองค์กรของผู้บริโภค #ผู้บริโภค