เดินได้เดินดี : คู่มือการ ‘เดินให้ปลอดภัย’

การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง กิจกรรมทางกายส่วนหนึ่งเกิดขึ้นบนถนน ทั้งการเดินทางและการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน กิจกรรมทางกายบนถนนเหล่านี้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางถนนและส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้ถนนและครอบครัว รวมทั้งยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างรุนแรง

รายงาน Global Status Report on Road Safety 201 ขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุดในเอเชียที่ 32.7 รายต่อประชากร 1 แสนคน ระบบบูรณาการข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนแสดงว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยปีละ 17,200 คน โดยเป็นคนเดินเท้า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุร้อยละ 8 และเป็นผู้ใช้จักรยานยนต์ร้อยละ 3

คำแนะนำในการจัดการความปลอดภัยทางถนนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายฉบับนี้ เกิดจากการทวนวรรณกรรมด้านคำแนะนำหรือมาตรฐานความปลอดภัยทางถนนที่เกี่ยวข้องกับการเดินและการปั่นจักรยานทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่ปลอดภัยในประเทศไทย

ข้อมูลเผยแพร่จัดทำโดย สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

#ผู้บริโภค #สภาผู้บริโภค #สภาองค์กรของผู้บริโภค