เร่งบูรณาการทุกภาคส่วน สร้างความเข้มแข็งผู้บริโภค ดึงแนวร่วมผู้เชี่ยวชาญ คือทิศทางสภาองค์กรของผู้บริโภค

ตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ทั้งนักวิชาการ หน่วยงานรัฐ พรรคการเมือง ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน และภาคประชาสังคมจำนวน 27 คน ประกาศร่วมสานพลังสนับสนุนงานสภาองค์กรของผู้บริโภคเพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคที่มากขึ้นทั้งจำนวนและความซับซ้อน พร้อมหนุนสภาองค์กรผู้บริโภคเร่งสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภครู้เท่าทันเพื่อแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง และเสนอให้ดึงผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาเข้ามาร่วมให้ความเห็นเพื่อผลักดันให้เกิดการเสนอนโยบายและความเห็นที่เป็นประโยชน์

จากการจัดเวทีระดมความคิดเห็นประเด็น “ทิศทางการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค” ที่มีผู้แทนจากหลายภาคส่วนต่างเห็นพ้องว่า การเกิดขึ้นของสภาองค์กรของผู้บริโภคมีความสำคัญ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้บริโภคทั่วประเทศกำลังโดนคุกคามอย่างหนักที่เกิดจากการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี การโดนเอารัดเอาเปรียบจากการค้าผูกขาด ระบบที่ไม่เป็นธรรม ไปจนถึงจากมิจฉาชีพที่มีเจตนาฉ้อโกงผู้บริโภค การบูรณาการประสานความร่วมมือกันขับเคลื่อนทุกองค์คาพยพจึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภคที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี

สภาองค์กรของผู้บริโภค ต้องแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงจากคู่ขัดแย้ง ต้องสร้างการรู้เท่าทันให้กับประชาชนให้เร็ว และเป็นไปอย่างทั่วถึงที่สุด ต้องระดมผู้เชียวชาญร่วมเป็นอาสาสมัคร์ สร้างฐานข้อมูล แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาล

ความเห็นจากเวที “ทิศทางของสภาองค์กรของผู้บริโภค” จากนักวิชาการ นักการเมือง นักธุรกิจ นักสื่อสารมวลชน และนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมมีรายละเอียด ดังนี้


ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

“ความท้าทายในการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน คือเรื่องความซับซ้อนของสินค้าและบริการ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตมาก เช่น เรื่องการเงินการธนาคาร มีคริปโตเคอร์เรนซี มีสินเชื่อรูปแบบใหม่ออกมามากมาย เช่น บริการสุขภาพ เวชศาสตร์ฟื้นฟู สินค้าเสริมความงาม เครื่องสําอางต่าง ๆ ก็มีความซับซ้อนมากขึ้นจนแม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน นักวิชาการ จะทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ

ดังนั้น การคุ้มครองผู้บริโภคจะสำเร็จได้ ทุกภาคส่วนต้องตระหนักว่า การคุ้มครองผู้บริโภคมีความสําคัญ รวมถึงผู้บริโภคก็ต้องช่วยกันแสดงพลังเพื่อให้ภาคธุรกิจได้รับแรงกดดันจากผู้บริโภค และดําเนินแนวทางการทําธุรกิจอย่างยั่งยืน ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเหล่านี้มีชื่อเสียงที่ดีได้รับความนิยม ที่สําคัญที่สุดในการแก้ปัญหาผู้บริโภคคือการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายนิติบัญญัติ ในการแก้กฎหมายต่าง ๆ ที่ติดขัดและสนับสนุนงบประมาณให้กับองค์กรที่ทํางานเรื่องผู้บริโภค”

สำหรับความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน คือการควบรวมกิจการในระดับโลกที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงที่เป็นธุรกิจแพลตฟอร์ม บริษัทยักษ์ใหญ่มีการควบรวมกันแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีความได้เปรียบจากการใช้ข้อมูล นั่นเป็นความได้เปรียบทางเทคโนโลยี่ ซึ่งรัฐบาลต่างประเทศควบคุมอำนาจผูกขาดของบริษัทเหล่านี้

มองย้อนกลับมาในประเทศไทย เรามีความเสี่ยงจากการผูกขาดระดับโลกที่ให้บริการในประเทศไทย เราก็มีความเสี่ยงกับการผูกขาดในประเทศไทยที่เกิดขึ้นแล้วที่เป็นกิจการเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านโทรคมนาคม หรือธุรกิจค้าปลีก ซึ่งการต้องเผชิญกับการผูกขาดทั้งในและนอกประเทศ ทําให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ ขณะเดียวกันก็ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อยไม่สามารถแข่งขันได้

นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการโดยใช้ค่าแรงและต้นทุนต่ำ ไปแข่งขันต่อไป ดังนั้นชื่อเสียงของประเทศไทยในการผลิตสินค้าบริการจะดีได้ ก็ต้องมีคุณภาพสินค้าบริการที่ดีในราคาที่เหมาะสม ซึ่งการจะเกิดสิ่งนี้ได้แปลว่าตลาดในประเทศต้องมีแรงผลักดันทําให้เกิดสินค้าบริการที่ดี และไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ดังนั้น พลังของผู้บริโภคจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยยกระดับธุรกิจไทย นอกจากนี้ พลังของผู้บริโภคยังมีประโยชน์ในแง่การเมือง เป็นหมือนเก้าอี้ขาที่สามที่ทําให้การพัฒนาประเทศสมดุลโดยขาที่หนึ่งก็คือภาครัฐที่มีความเข้มแข็ง ขาที่สองคือภาคธุรกิจที่มีนวัตกรรม และขาที่สามคือพลังผู้บริโภค

การที่มีสภาองค์กรผู้บริโภคถือเป็นก้าวใหญ่ในกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย หลังจากผลักดันมาเป็นเวลากว่ายี่สิบปี ภาครัฐต้องยอมรับว่า นอกจากภาครัฐซึ่งเป็นองค์กรที่ชอบธรรม มีองค์กรธุรกิจ อย่างเช่นสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าที่เป็นองค์กรตัวแทน ภาคธุรกิจแล้ว สังคมยังมีอีกขาหนึ่งก็คือ ผู้บริโภค ซึ่งสภาองค์กรผู้บริโภคได้รับการยอมรับและถูกกำหนดให้เป็นตัวแทนของผู้บริโภคอย่างเป็นทางการ เมื่อเกิดกรณีที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ภาครัฐจึงต้องฟังเสียงของสภาองค์กรของผู้บริโภคด้วย

อีกเรื่องหนึ่งที่สําคัญและขาดไม่ได้คือ ภาครัฐต้องสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้สภาองค์กรของผู้บริโภคทําหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย หากรัฐบาลให้เฉพาะเงินตั้งต้นประมาณสามร้อยกว่าล้านบาท และคาดหวังให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคที่ประสบความสําเร็จ นั่นเป็นความฝันที่เป็นไปไม่ได้ เพราะปัญหาผู้บริโภคมีจำนวนมาก ดังนั้น วิธีที่ทําให้การคุ้มครองผู้บริโภคประสบความสําเร็จคือ ภาครัฐ


ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ พรรคชาติไทยพัฒนา

คาดหวังสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นตัวกลางที่เชื่อมระหว่างกลไกรัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคให้สัมพันธ์กัน ถ้าทำได้ก็จะส่งผลดีต่อสินค้าและบริการของภาคเอกชน รวมถึงบริการสาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลของรัฐ ซึ่งต้องมีสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นตัวผลักดันให้เกิดคุณภาพและความเป็นธรรม ทั้งนี้ ความเป็นอิสระขององค์กรเป็นหัวใจสำคัญที่สภาองค์กรของผู้บริโภคต้องรักษาไว้ให้ได้

สำหรับสิ่งที่สภาองค์กรของผู้บริโภคต้องสร้างให้เกิดขึ้น คือ 1) ทำให้เกิด “การรู้จัก” โดยต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในภาครัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เข้าใจในตัวสินค้าสาธารณะ สินค้าและบริการของเอกชน โดยสภาฯ จะเข้ามาช่วยทำให้เห็นว่าทั้งหมดนี้สัมพันธ์กันอย่างไร 2) ทำให้เกิดความเชื่อถือต่อกัน เพราะความเชื่อถือซึ่งกันและกันเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความเชื่อถือเป็นปัญหา เมื่อสภาฯ เสนอนโยบายอะไรไปให้รัฐบาล และรัฐบาลไม่รับไปพิจารณาเพราะขาดความเชื่อถือ และ 3) ความไว้วางใจระหว่างกัน ตามที่สภาฯ ถูกกล่าวหาว่าเกิดการเข้าข้างบริษัทนี้หรืออีกบริษัทหนึ่งแสดงถึงความไม่ไว้วางใจกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องการรู้จักกันเชื่อถือกันและไว้วางใจซึ่งกันและกันบนความเป็นอิสระของสภาองค์กรของผู้บริโภค  หากสภาฯ สร้างทั้ง 3 สิ่งนี้ได้ ก็จะทำให้ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงผู้บริโภคเกิดความเคารพและซื่อสัตย์ซึ่งกันและกัน

ประเด็นเรื่องความท้าทาย มี 2 เรื่อง ได้แก่ 1) ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้นว่า กฎหมาย หรือระเบียบต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น กรณีการควบรวมทรู – ดีแทค ที่มีหลายภาคส่วนออกมาคัดค้าน แต่สุดท้ายก็ไม่อาจสู้ต่อกฏหมายที่ออกมาแล้ว หรือการไม่มีอำนาจเรื่องการวางตัวคนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการพิจารณา ตีความกฎหมายต่าง ๆ ที่ลึกเกินกว่าที่จะแก้ได้ และ 2) การสร้างความเชื่อมั่น สภาฯ ต้องแก้ไขเรื่องสําคัญที่กระทบผู้บริโภคจํานวนมากเพื่อทำให้คนเกิดความเชื่อมั่นว่าสภาฯ สามารถเข้ามาช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคได้จริง

ส่วนสิ่งที่จะทำร่วมกัน มองว่าพรรคชาติพัฒนาสามารถทำร่วมกันสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ คือ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคฯ ให้ความสําคัญมาก โดยปัญหาหนึ่งที่เห็นว่าควรเร่งจัดการ คือ เรื่องการเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติอย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง

เพราะทุกวันนี้ประเทศไทยมีภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้นมากมาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมาติเกิดการเยียวยาที่ล้าช้า เช่นกรณีภัยพิบัติที่ผ่านมากว่าหนึ่งปีแล้ว ก็ยังไม่ได้รับการชดเชยเยียวยา ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวกับปัญหาเชิงโครงสร้างด้วย หากเราไม่กระจายอํานาจไปสู่ท้องถิ่น การยียวยาผู้เสียหายก็จะล่าช้าดังเช่นที่เคยเป็นมา

อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องภาวะโลกร้อน และการรับมือกับภัยพิบัติของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เพราะจากการสำรวจและเปรียบเทียบข้อมูลในช่วงปี 2543- 2553 และปี 2553 – 2563 พบว่าสภาพอากาศในประเทศเปลี่ยนไปมาก จากเดิมที่เคยมีพายุพัดเข้ามาที่ประเทศไทยเฉลี่ยปีละประมาณ 14 ลูก แต่ปัจจุบันเฉลี่ยปีละเกือบละ 19 ลูก ประมาณน้ำก็เปลี่ยนแปลง มีจำนวนมากขึ้น ฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องแก้ไขและทํางานร่วมกัน

เรื่องสุดท้ายคือ เรื่องคาร์บอนเครดิต สภาองค์กรของผู้บริโภคควรจะตรวจสอบ หรือเสนอเรื่องเกณฑ์ต่าง ๆ ว่าจะวัดปริมาณคาร์บอนเครดิตอย่างไร ประเมินอย่างไร หรือซื้อขายกันอย่างไร เพราะหากเรื่องดังกล่าวมีการจัดการที่ดีผลประโยชน์ก็จะกลับไปสู่ประชาชน แต่ถ้าจัดการไม่ดีประโยชน์ก็กลับไปที่ผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ทั้งนี้ พรรคชาติไทยพัฒนาได้ศึกษาและมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมากพอสมควร จึงมองว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ร่วมมือกันได้อย่างดี

ส่วนสิ่งที่จะทำร่วมกัน มองว่าพรรคชาติพัฒนาสามารถทำร่วมกันสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ คือ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคฯ ให้ความสําคัญมาก โดยปัญหาหนึ่งที่เห็นว่าควรเร่งจัดการ คือ เรื่องการเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติอย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง เพราะทุกวันนี้ประเทศไทยมีภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้นมากมาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมาติเกิดการเยียวยาที่ล้าช้า เช่นกรณีภัยพิบัติที่ผ่านมากว่าหนึ่งปีแล้ว ก็ยังไม่ได้รับการชดเชยเยียวยา ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวกับปัญหาเชิงโครงสร้างด้วย หากเราไม่กระจายอํานาจไปสู่ท้องถิ่น การยียวยาผู้เสียหายก็จะล่าช้าดังเช่นที่เคยเป็นมา

อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องภาวะโลกร้อน และการรับมือกับภัยพิบัติของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เพราะจากการสำรวจและเปรียบเทียบข้อมูลในช่วงปี 2543- 2553 และปี 2553 – 2563 พบว่าสภาพอากาศในประเทศเปลี่ยนไปมาก จากเดิมที่เคยมีพายุพัดเข้ามาที่ประเทศไทยเฉลี่ยปีละประมาณ 14 ลูก แต่ปัจจุบันเฉลี่ยปีละเกือบละ 19 ลูก ประมาณน้ำก็เปลี่ยนแปลง มีจำนวนมากขึ้น ฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องแก้ไขและทํางานร่วมกัน

เรื่องสุดท้ายคือ เรื่องคาร์บอนเครดิต สภาองค์กรของผู้บริโภคควรจะตรวจสอบ หรือเสนอเรื่องเกณฑ์ต่าง ๆ ว่าจะวัดปริมาณคาร์บอนเครดิตอย่างไร ประเมินอย่างไร หรือซื้อขายกันอย่างไร เพราะหากเรื่องดังกล่าวมีการจัดการที่ดีผลประโยชน์ก็จะกลับไปสู่ประชาชน แต่ถ้าจัดการไม่ดีประโยชน์ก็กลับไปที่ผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ทั้งนี้ พรรคชาติไทยพัฒนาได้ศึกษาและมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมากพอสมควร จึงมองว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ร่วมมือกันได้อย่างดี


ดร.สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์พรรคภูมิใจไทย

ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา มองว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคดำเนินการในบทบาทที่ควรจะทำ แม้ว่าจะมีบางเรื่องที่เห็นไม่ตรงกัน เช่น กรณีที่สภาองค์กรของผู้บริโภคส่งหนังสือมาถึงกระทรวงคมนาคมหลายเรื่อง ก็มีบางเรื่องที่สามารถทำได้และดำเนินการไปแล้ว บางเรื่องกำลังดำเนินการ แต่บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการตามข้อเสนอได้ อย่างไรก็ตาม มองว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่สภาฯ ต้องยึดถึงในการทำงาน คือความเป็นกลาง และต้องทำให้สังคมเห็นว่าวันนี้สิงที่สภาองค์กรของผู้บริโภคกำลังดำเนินการทำไปเพื่ออะไร สู้เพื่อใคร

สำหรับสิ่งที่คาดหวังในอนาคต คืออยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภคส่งเสริมให้เกิดความมีอิสระในการแสดงออกที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค แม้ว่าบางเรื่องการคัดค้านหรือแสดงความเห็นของเราอาจไม่ถูกใจ และถูกวิพากษ์วิจารณ์แต่หากยึดหลักการว่าสิ่งที่เราทำเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับประชาชนรวมถึงสภาองค์กรของผู้บริโภคด้วย

อีกเรื่องหนึ่งที่กำลังดำเนินการอยู่คือ เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ไปปาฐกถา โดยมีแนวคิดที่จะปรับราคารถไฟฟ้าทุกสายให้อยู่ที่ไม่เกิน 40 บาทตลอดสาย ซึ่งก็เป็นแนวคิดที่มาจากสภาองค์กรของผู้บริโภค และประยุกต์ใช้เท่าที่กฎหมายจะเอื้ออํานวยได้ ซึ่งก็หวังว่าจะได้ทำความร่วมมือในเรื่องดังกล่าวกันต่อไป

สำหรับสิ่งที่คาดหวังในอนาคต คืออยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภคส่งเสริมให้เกิดความมีอิสระในการแสดงออกที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค แม้ว่าบางเรื่องการคัดค้านหรือแสดงความเห็นของเราอาจไม่ถูกใจ และถูกวิพากษ์วิจารณ์แต่หากยึดหลักการว่าสิ่งที่เราทำเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับประชาชนรวมถึงสภาองค์กรของผู้บริโภคด้วย อีกเรื่องหนึ่งที่กำลังดำเนินการอยู่คือ เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ไปปาฐกถา โดยมีแนวคิดที่จะปรับราคารถไฟฟ้าทุกสายให้อยู่ที่ไม่เกิน 40 บาทตลอดสาย ซึ่งก็เป็นแนวคิดที่มาจากสภาองค์กรของผู้บริโภค และประยุกต์ใช้เท่าที่กฎหมายจะเอื้ออํานวยได้ ซึ่งก็หวังว่าจะได้ทำความร่วมมือในเรื่องดังกล่าวกันต่อไป


ออรัศ คงพานิช เภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

แม้ว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคจะเพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน แต่มีองค์กรสมาชิกและคนทำงานที่มากประสบการณ์ด้านการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค จึงทำให้เราในฐานะผู้บริโภคสามารถพึ่งพาได้ จึงอยากให้องค์กรทำงานอย่างเข้มแข็งต่อไป

ส่วนประเด็นท้าทายในปัจจุบัน เป็นปัญหาด้านอาหารและยา เครื่องสําอาง วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์ รวมถึงผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีความซับซ้อนมากขึ้น มีกลวิธีใหม่ ๆ มาหลอกลวงผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึงความรวดเร็วของเทคโนโลยีก็ทำให้จัดการปัญหาได้ยากขึ้น และจัดตัวผู้กระทำความผิดได้ยากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน อย.กําลังเฝ้าระวังเรื่องการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพทางออนไลน์ จึงต้องการความร่วมมือจากสภาองค์กรของผู้บริโภคในการช่วยเฝ้าระวัง และเตือนภัยร่วมกันเพื่อให้สังคมได้รับรู้ ซึ่งอาจต้องทำแผนร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และประหยัดงบประมาณ

นอกจากนี้ อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภคเข้ามาร่วมพัฒนากฎระเบียบของ อย.ให้มากขึ้น เพราะอาจอนุญาตผลิตภัณฑ์หรือกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ สำหรับผู้ประกอบการ2 นอกจากจะต้องสะดวก รวดเร็วแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย


ทรงศิริ จุมพล เลขานุการกรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

อยากเห็นบทบาทการทํางานในเชิงที่แบ่งเบาภารกิจของรัฐ เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าทุกวันนี้ปัญหาผู้บริโภคมีมากมาย มีความซับซ้อน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐมีภารกิจค่อนข้างเยอะ จึงอาจทำให้การแก้ไขปัญหาและติดตามตัวไม่รวดเร็วเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม หากเราวางแผนการทำงานร่วมกัน ก็จะช่วยแบ่งเบาภารกิจ และทำให้การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งคือ สภาองค์กรของผู้บริโภค สามารถสื่อสารหรือให้ข้อมูลกับผู้บริโภคได้ค่อนข้างดีและรวดเร็ว หากร่วมมือกับในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ก็อาจทำให้จำนวนผู้บริโภคที่ถูกหลอกลวงมีน้อยลง เมื่อเป็นอย่างนั้น หน่วยงานรัฐทั้ง สคบ. อย.รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ก็อาจจะไปทําภารกิจในเชิงวิชาการที่จะมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนสภาองค์กรของผู้บริโภคได้มากขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งที่คิดว่าสำคัญ คือ เรื่องนโยบายต่าง ๆ ที่กระทบกับตัวผู้บริโภค ซึ่งหน่วยงานรัฐก็จะมีข้อจํากัดในการให้ข้อมูลกับผู้บริโภค หรือการไปรวมตัว คัดค้าน แสดงความเห็นด้วยต่าง ๆ ก็เป็นไปได้ค่อนข้างยาก แต่สภาองค์กรก็สามารถที่จะทําได้ อีกทั้งมีนักวิชาการที่ทำงานเฉพาะในแต่ละด้าน ทำให้สามารถให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่รัฐได้ เช่น ประเด็นเรื่องเสรีกัญชา ที่สภาฯ ออกมาบอกว่าไม่คุ้มที่จะทำเรื่องดังกล่าว

สำหรับเรื่องความท้าทาย มองว่าการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้เขารู้เท่าทันสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ยกตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลียกับสิงคโปร์ สมาคมผู้บริโภคของเขาทํางานได้ค่อนข้างเข้มแข็ง มีการสื่อสารผ่านนิตยสาร คล้ายกับนิตยสาร “ฉลาดซื้อ” ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้บริโภคก็จะให้ความสนใจแล้วก็สมัครเป็นสมาชิก โดยข้อมูลในนิตยสารก็จะมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก มีประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้บริโภค มีการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคให้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อจำกัดที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถทำได้ แต่จากผลงานที่ผ่านมามองว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคสามารถทำหน้าที่ในแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่ผู้บริโภคได้ดี จึงคาดหวังให้สภาฯ ทำหน้าที่นี้ต่อ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภค


อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ที่ปรึกษาพิเศษ บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด

ในช่วงประมาณหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา เห็นบทบาทของสภาองค์กรของผู้บริโภคก็รู้สึกดีใจ แต่ยังไม่พอใจเท่าที่ควร ดีใจที่มีองค์กรที่เป็นตัวแทนของผู้บริโภคอย่างแท้จริงเกิดขึ้น มีบทบาทอย่างชัดเจน ส่วนที่บอกยังไม่ได้พอใจ เพราะเท่าที่ติดตามการทํางาน มองว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคยังวิ่งไล่ปัญหา เพราะปัญหาที่เกี่ยวกับผู้บริโภคมีเยอะ แต่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเก่า ซึ่งองค์กรผู้บริโภคน่าจะทราบปัญหาอยู่แล้วว่าปัญหามีอะไรบ้าง

แต่สาเหตุที่ปัญหาดูเหมือนมีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก ผู้บริโภคมีเครื่องมือ มีช่องทางในการสื่อสารความเดือดร้อนของตัวเองออกมาได้มากขึ้น ทั้งนี้ คาดหวงให้สภาองค์กรของผู้บริโภคทำหน้าที่ในการสร้างความเข้มแข้งให้ผู้บริโภค ให้เขาสามารถปกป้องและคุ้มครองสิทธิของตัวเองได้

ยกตัวอย่างเช่น กรณีการควบรวมทรู – ดีแทค สิ่งที่สภาองค์กรของผู้บริโภคออกมาเคลื่อนไหวเป็นเหมือนปลายทางแล้ว เพราะหากพูดถึงเรื่องการบริการทางด้านโทรคมนาคม น่าจะเห็นตั้งแต่การประมูลแล้วว่า การกำหนดทิศทางของสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แล้ว ว่ามีผู้เล่นน้อยลง แทนที่จะส่งเสริมให้มีผู้เล่นมากขึ้น ดังนั้น องค์กรของผู้บริโภคควรจะออกมาเตือน หรือแนะนำ กสทช. ตั้งแต่ก่อนเริ่มประมูล

นั่นจึงเป็นสาเหตุที่บอกว่าดีใจ แต่ยังไม่พอใจ เพราะมองว่าในเมื่อมีงบประมาณน่าจะทำได้มากกว่าในปัจจุบัน ส่วนความท้าทาย มองว่า สภาฯ ต้องทำให้ผู้บริโภครู้สิทธิของตัวเองมากขึ้น รู้เท่าทันปัญหาและกลลวงต่าง ๆ ของผู้ไม่หวังดี รวมทั้งสามารถแสดงพลังของตัวเอง และพึ่งพาสภาฯ ให้น้อยลง


ศาสตราจารย์พิเศษชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม อดีตประธานตรวจเงินแผ่นดิน

ตามพระราชบัญญัดการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562 ในมาตรา 14 กำหนดภารกิจของสภาองค์กรของผู้บริโภคไว้หลายประการ โดยภารกิจที่สำคัญที่สุดคือการให้ความคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ซึ่งถึงแม้ว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคจะดำเนินงานมาได้ประมาณ 2 ปี แต่มีบทบาทในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้พอสมควร ซึ่งส่วนตัวค่อนข้างพอใจและชื่นชม แต่กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานบางหน่วยงาน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง

ยกตัวอย่างกรณีการควบรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทคกับทรู ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ติดตามมาตั้งแต่เริ่มมีกระแสเรื่องควบรวม แต่เมื่อ กสทช. มีมติรับทราบการควบรวม สภาองค์กรของผู้บริโภคก็ได้นําคดีไปฟ้องต่อศาลปกครอง โดยชี้แจงว่าตามกฎหมายแล้วการควบรวมกิจการโทรมาคมต้องรับความเห็นชอบจาก กสทช. การลงมติรับทราบจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลกลับตัดสินว่ามติ กสทช. นั้นชอบแล้ว นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้มองว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้นทำตามบทบาทอย่างเต็มที่แล้ว เพียงคิดว่าศาลน่าจะวินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากกฏหมายหรือไม่

ตัวอย่างที่สอง คือเรื่องสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าภายในประเทศ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของกิจการผลิตไฟฟ้าเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่ได้ แต่ปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กลับปล่อยให้เอกชนครอบครองสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อเรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ แทนที่ศาบจะวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ศาลกลับวินิจฉัยตรงข้ามกับรัฐธรรมนูญ นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้มองว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคทำหน้าที่เต็มที่แล้ว

ในส่วนสื่อมวลชน มองว่าสื่อมวลชนไม่ได้ทำหน้าที่แทนประชาชนในการวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ การกระทำของ กฟผ. ก็ดี กสทช.ก็ดี หรือแม้แต่การกระทำของศาลนั้น ขอบด้วยกฏหมายหรือไม่ ยังไม่เห็นสื่อมวลชนสำนักไหนออกมาพูด

ในมาตรา 14(2) ของพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค มีการกำหนดหน้าที่สภาฯในการตรวจสอบสื่อมวลชนด้วย จึงเสนอว่าต่อไป สภาฯ ควรมีการตรวจสอบสื่อมวลชนด้วย เพราะสื่อมวลชนถือเป็นบริการอย่างหนึ่ง และสภาฯ มีหน้าที่คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค


นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ที่ปรึกษา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

สภาองค์กรของผู้บริโภค ในช่วงวัยนี้ถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นองค์กร ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำในขณะนี้คือสร้างผลงาน สร้างการรับรู้ ขยายองค์กรเครือข่าย ขยายพันธมิตร รวมถึงทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นและไว้ใจสภาองค์กรของผู้บริโภค โดยเน้นไปที่ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะจะเป็นกลุ่มที่ตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากกว่าคนที่ไม่เคยประสบปัญหา

นอกจากนี้ หากต้องการให้เกิดการยอมรับ สภาฯ อาจจะต้องคิดเรื่องการวางสถานะขององค์กร ว่าจะวางสถานะอย่างไรกับองค์กรคุ้มครองโภคระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในอาเซียน หรือในระดับโลก จะวางสถานะกับองค์กรหรือหน่วยงานในประเทศ สคบ. อย. หรือ ปปช. ก็ตาม หรือแม้แต่เครือข่ายประชาสังคมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงผู้ประกอบการที่มีหลายภาคส่วนว่าจะทำอย่างไร เช่น การเป็นกึ่งตัวแทนของผู้บริโภคที่มีความเป็นคู่กรณีกับผู้ประกอบการ

และในขณะเดียวกัน จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะสามารถหาความร่วมมือในการสร้างนโยบายเชิงบวกกับภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสภาอุตสาหกรรม หอการค้า หรือสภาดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งอาจทำหน้าที่สองด้าน ด้านหนึ่งคือผู้ต่อรองผลประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภค และอีกด้านหนึ่งคือผู้ที่ไปร่วมสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคในเชิงบวก

ปัจจุบันนี้มีบริการกลุ่มย่อยมากมายและหลากหลาย ในขณะที่เกิดปัญหามากมายมหาศาลที่มากับเทคโนโลยี่ที่เร็ว บริการใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน คำถามง่ายๆ คือ ในข้อจำกัดของบุคคลาการและทรัพยากร เราจะรับมือกับปัญหาที่ขยายตัวอย่างทวีคูณได้อย่างไร

สิ่งหนึ่งที่ต้องทำ คือ ปรับวิธีการทำงาน โดยการจัดระดับความสําคัญระหว่างปัญหาเฉพาะหน้า กับปัญหาระยะยาว โดยปัญหาระยะยาวคือสิ่งที่เราสามารถคาดเดาได้ จากทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น การเป็นสังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยไซเบอร์ หรือแม้กระทั่งภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งทําให้เกิดสงครามจริง สงครามการค้า สงครามดิจิตอล

สิ่งเหล่านี้เราสามารถวิเคราะห์ออกมาได้ทั้งหมดว่าสิ่งที่จะกระทบผู้บริโภคคืออะไร และจะเตรียมรับมืออย่างไร แต่ต้องยอมรับว่าผู้บริโภคอาจไม่ได้ให้ความสำคัญหรือสนใจการจัดการปัญหาในระยะยาวมากนัก เพราะมันเป็นเรื่องอนาคต จึงเป็นสาเหตุที่สภาองค์กรของผู้บริโภคต้องการจัดการปัญหาเฉพาะหน้าด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดเรื่องบุคลากรและงบประมาณ จึงมองว่าการสร้างพันธมิตรเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งในวงนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ข้าราชการในแต่ละหน่วยงาน รวมถึงสื่อมวลชน ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วม มาให้ความเห็น โดยมีสภาฯ เป็นตัวกลางในการระดมความเห็น ในขณะเดียวกันก็ต้องมีคนช่วยเฝ้าระวังสถานการณ์เพื่อให้สภาฯ สามารถประเมินและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรของสภาฯ เองก็ต้องเพิ่มทักษะว่าจะระสานงานกับนักวาชาการ หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น ๆ ให้เข้ามาร่วมกันทำงานได้อย่างไร

สิ่งที่กล่าวมาอาจดูเป็นเรื่องง่าย แต่หากย้อนกลับไปดูตัวอย่างปัญหาที่ผ่านมา เช่น กรณีที่โรงงานสารเคมีระเบิด ซึ่งตอนนั้มีพรรคการเมืองที่ยื่นข้อเสนอในนามบุคคลว่า ควรมีระบบการส่งข้อความเตือนภัย (SMS Warning) ให้ประชาชนี่อยู่ในรัศมีภัยพิบัติได้รู้ เกิดอะไรขึ้น เขาควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร แต่เมื่อเสนอแนวทางดังกล่าวกับ กสทช. กลับได้คำตอบมาว่า มีระบบในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว นำไปสู่คำถามว่า ทำไมไม่เคยมีผู้ได้รับผลกระทบคนไหนที่ได้รับข้อความในลักษณะดังกล่าวเลย

ดังนั้น สิ่งที่สภาองค์กรของผู้บริโภคต้องทำ ไม่ใช่การผลิตหรือสร้างระบบเหล่านี้ขึ้นมา แต่ต้องเสนอแนะ กระตุ้น และผลักดันให้หน่วยงานของรัฐ สร้างและดูแลรับผิดชอบระบบที่เป็นประโยชน์ของผู้บริโภคขึ้นมา หลังจากนั้นสภาฯ จึงขยับไปผักดันเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นต่อไป


ดร.มโนชัย สุดจิตร อนุกรรมาธิการ การเงินการคลัง สมาชิกสภาผูแทนราษฎร และหัวหน้าทีมวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ พรรคประชาธิปปัตย์

ประเด็นสําคัญของการทําให้สภาองค์กรของผู้บริโภคมีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น คือต้องทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือว่าสภาฯ เป็นองค์กรของประชาชนอย่างแท้จริง นั่นแปลว่าองค์กรต้องมีผลงานมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นว่าสภาฯ ควรจะเป็นไปได้คือต้องยกฐานะตัวเอง จากสภาที่ให้คําปรึกษา เป็นสภาที่เป็นองค์กรของประชาชนในลักษณะที่เป็น Self-Regulatory Organization (SRO) หรือองค์กรที่สามารถกำกับดูแลตนเองได้ โดยการให้ สคบ. อย. หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับผู้บริโภค ผ่องถ่ายอํานาจบางส่วนที่เขาไม่สามารถดําเนินการได้ หรือดําเนินการแล้วต้องใช้คนใช้บุคลากรจํานวน ผ่องถ่ายอํานาจดังกล่าวให้ทางสภาฯ ดูแล

ขณะเดียวกันสภาองค์กรของผู้บริโภคก็ต้องทำให้ตัวเองมีภาพที่นูนขึ้น โดย 1) เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาระบบการคุ้มครองของผู้บริโภคให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแนวทาง มาตรฐาน รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้มีตัวแทนผู้บริโภคเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการคุ้มครองของผู้บริโภคอย่างแท้จริง 2) แก้ปัญหาช่องโหว่ของกฎหมาย ที่ทำให้เกิดารเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค โดยต้องทำในเชิงรุกมากขึ้น

และ 3) เข้าไปมีส่วนร่วม ในกฎเกณฑ์ กติกา ระบบระเบียบ รวมถึงมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ มองว่าหากสภาฯ ยกฐานะเป็นองค์กรกำกับดูแลนเองได้ ก็จะทำให้มีผลงานมากขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และได้รับการยอมรับมากขึ้น และจะส่งผลให้มีxระชาชนเข้ามาใช้บริการมากขึ้นด้วย

สำหรับความท้าทาย มีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1) ปัจจุบันสังคมมีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ความซับซ้อนของสินค้าและบริการสูงขึ้น ดังนั้น สภาฯ ในฐานะองค์กรที่ต้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน จะทำอย่างไรให้องค์กรสมาชิกในแต่ละจังหวัดสามารถเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ประชาชน เพื่อให้เขารู้เท่าทันสถานการณ์เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เกิดขึ้น และ 2) ทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ทั้งนี้ สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะร่วมมือในการทำงานกับสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ ซึ่งหลายพรรคการเมืองก็มีนโยบายที่คล้ายคลึงกัน คือ 1) เรื่องการปรับค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนให้เหมาะสม
2) การประกันรายได้เกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประเทศเราจะมีความมั่นคงทางอาหาร 3) จัดการปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รวมถึงการหลอกลวงต่าง ๆ บนออนไลน์ โดยเสนอว่าควรเพิ่มโทษเพื่อให้เกิดความเรงกลัวที่จะกระทำผิด 4) ผลักดันเรื่องบำนาญแห่งชาติ


พ.ต.อ.พิษณุ โกสิยวัฒน์ ผู้กำกับกลุ่มงานป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมฐานเทคโนโลยี (บช.สอท.)

ในช่วงระยะหลัง ๆ รูปแบบอาชญากรรมเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอาชญากรรมทางการเงินที่เปลี่ยนวิธีการไปใช้โทรศัพท์ การส่งข้อความ หรือย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้สามารถเข้าถึง ผู้เสียหายได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ทุกเพศ ทุกวัย จึงมีการจัดตั้ง บช.สอท. ขึ้นเพื่อจัดการปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะ

นอกจากนี้ ประมาณเดือนีนาคม 2565 ได้มีการสร้างช่องทางการรับแจ้งความทางออนไลน์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยให้ประชาชนสามารถแจ้งความผ่าน wwwthaipoliceonlinecom ได้อีกด้วย

ตลอดระยะเวลาประมาณ 11 เดือนที่ผ่านมา มีเรื่องที่ถูกแจ้งความเข้ามาทั้งหมดประมาณ 2 แสนเรื่อง โดยกว่าครึ่งเป็นเรื่อง ซื้อสินค้าไม่ได้สินค้า และสินค้าไม่ตรงปก ซึ่งเมื่อดูรายละเอียดแล้วบางเรื่องก็พบว่าไม่ซับซ้อน คือผู้ขายผู้ซื้อติดต่อกันโดยตรง รู้ตัวตน แต่เมื่อเรื่องมาถึงตำรวจ ก็ต้องมีการสอบปากคำ และมีระยะเวลาในการดำเนินงานตามขั้นตอน ทั้งที่ไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไรเมื่อเทียบกับกรณีที่ผู้ขายมีการปิดบังตัวตน ซึ่งตำรวจไซเบอร์ต้องจัดการอยู่แล้ว

กรณีความเสียหายที่ไม่ซับซ้อนเมื่อมาถึงตำรวจก็อาจเป็นการเพิ่มภาระงาน และผู้บริโภคอาจจะต้องรอนาน ดังนั้น หากสภาองค์กรของผู้บริโภคสามารถไกล่เกลี่ยกรณีการถูกหลอกลวงที่รู้ตัวตนอยู่แล้ว โดยอาจทำงานร่วมกับศาลแพ่งก็ได้ หากดำเนินการเรื่องนี้ได้ก็จะช่วยแบ่งเบาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาก


ภญ.ชโลม เกตุจินดา หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดสงขลา สภาองค์กรของผู้บริโภค

อยากเห็นบทบาทของสภาองค์กรของผู้บริโภคในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคต่อไป โดยอยากให้เน้นบทบาทในการสนับสนุนการทำงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในพื้นที่ โดยเฉพาะการทำงานกับผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ

ส่วนประเด็นเรื่องความท้าทายของการทำงาน อยากเห็นสภาฯ “มองโลกกว้าง สร้างสรรค์ท้องถิ่น” คือเมื่อผลักดันนโยบายในภาพรวมของประเทศแล้ว จะทำอย่างไรให้นโยบายดังกล่าวถูกนำมาขับเคลื่อนได้ในพื้นที่ต่างจังหวัดด้วย

อีกเรื่องหนึ่งที่มองว่าเป็นความท้าทาย คือ เรื่องการทำความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ อยากเห็นสภาองค์กรของผู้บริโภคออกมาแถลงร่วมกับหน่วยงานรัฐ เพื่อเตือนให้ประชาชนมีความเท่าทันสถานการณ์ปัญหาหรือภัยต่าง ๆ ดังเช่นกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย จับมือกันแถลงข่าวเรื่องสายชาร์จไฟดูดข้อมูล ว่าไม่เป็นความจริงและร่วมกันเตือนภัยผู้บริโภค

สําหรับประเด็นความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรของผู้บริโภคกับองค์กรสมาชิกนั้น มองว่าสภาฯ ต้องจับมือกับหน่วยงานในลักษณะของการสนับสนุนการทำงานของคนในพื้นที่ทํางานได้ อย่างเช่น ปัจจุบันสมาคมฯ ทําเรื่องขนส่งสาธารณะคือรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ว่าจะทำให้วิ่งเป็นรถโดยสารประจําทางได้ไหม โดยติดแอปพลิเคชันจีพีเอส สภาฯ จะสนับสนุนเรื่องเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ได้อย่างไร


สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

บทบาทที่สําคัญของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่อยากเห็นคือ บทบาทในการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค เพราะเชื่อว่าพลังของผู้บริโภคจะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ ทั้งนี้ อาจต้องแบ่งผู้บริโภคเป็นหลายกลุ่ม ผู้บริโภคบางกลุ่มสามารถปกป้องตัวเอง ดําเนินการได้เอง ยกตัวอย่างการรับเรื่องร้องเรียนของ กสม. พบว่าช่องทางที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือจดหมาย ไม่ใช่ช่องทางออนไลน์ ซึ่งสะท้อนว่าคนที่เดือดร้อนลำเค็ญมากเป็นคนฐานล่างกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี หรือใช้เทคโนโลยีอย่างมีข้อจํากัด

และเมื่อดูจากการแถลงผลงานหนึ่งปีที่ผ่านมาของสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่วนตัวมองว่าการมีหน่วยประจําจังหวัดของสภาองค์กรของผู้บริโภค น่าจะเป็นกลไกสําคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภค เพราะต่อให้มีกฎหมายดีแค่ไหน หากผู้บริโภคไม่เข้มแข็ง ก็ไม่มีทางจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งนี้น่าจะเป็นบทบาทที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดของสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ทําให้มีกฎสภาองค์กรของผู้บริโภคเกิดขึ้นด้วย

อีกบทบาทหนึ่งที่มองว่าสำคัญมากคือเรื่องการทำงานเชิงรุก และการขับเคลื่อนที่ต้องสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ เนื่องจากปัญหาผู้บริโภคมีจำนวนมาก และบางเรื่องที่ใหญ่อาจใช้เวลาดำเนินการนานกว่าจะเห็นผลงานเชิงประจักษ์ แต่มองว่าการเผยแพร่ผลการดำเนินงานเป็นระยะและถึงการเผยแพร่ผลสำเร็จในการคุ้มครองผู้บริโภคก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และทําให้สังคมได้รู้จักสภาองค์กรของผู้บริโภคมากขึ้น

และอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการสร้างให้ชื่อขององค์กรโดดเด่นกว่าตัวบุคคล เพราะการที่ทุกคนเชื่อมโยงภาพขององค์กรกับคุณสารีนั้นเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย เป็นทั้งจุดแข็งและเป็นทั้งจุดอ่อน โดยสภาองค์กรของผู้บริโภคต้องแก้โจทย์ว่าหากไม่มีคุณสารีแล้วภาพของสภาองค์กรของผู้บริโภคจะเป็นอย่างไร อยากให้ผู้บริโภคนึกถึงหรือจดจำเราในฐานะอะไร หรือรูปแบบใด

สำหรับความร่วมมือกับสภาองค์กรของผู้บริโภคที่อยากให้เกิดขึ้นในอนาคตนั้น เนื่องจากสิทธิผู้บริโภคก็เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง ดังนั้น กสม. จึงมีส่วนที่ทำเรื่องสิทธิผู้บริโภคด้วย เลยมองว่าน่าจะมีโอกาสทำงานร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภค ทั้งในเชิงการขับเคลื่อนกฎหมายนโยบายหรือมาตรการในการที่จะคุ้มครองผู้บริโภคให้มากขึ้น และคาดหวังอยากให้เกิดการทำงานร่วมกันในเชิงการสร้างนักปกป้องสิทธิผู้บริโภคให้เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น

ทั้งนี้ สภาองค์กรของผู้บริโภคโภคอาจต้องวางบทบาทของตัวเองให้ชัดเจน ว่าเรื่องใดที่สำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคจะดำเนินการ และเรื่องไหนเป็นหน้าที่ขององค์กรสมาชิก เช่น งานรับเรื่องร้องเรียนทั่วไปที่มีคนทํามากมาย อาจให้เป็นหน้าที่ขององค์กรสมาชิก ในขณะที่สภาองค์กรของผู้บริโภค ช่วยเข้าไปเติมเต็มเรื่องข้อมูล และปลัดกันให้เกิดนโยบายที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานผู้บริโภคทั้งในพื้นที่และภาพรวมทั้งประเทศ

สำหรับเรื่องความท้าทาย ก็ชัดเจนว่า เป็นเรื่องความไม่แน่นอนในเรื่องการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งบางครั้งการทํางานกับภาคนิติบัญญัติ หรือภาคบริหารที่จะช่วยให้เราได้รับงบประมาณก็อาจจะเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ควรจะต้องให้ความสําคัญ ซึ่ง กสม. ยินดีที่จะร่วมมือกับสภาองค์กรของผู้บริโภค ในการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยต่อไป

สภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นนวัตกรรมของสังคมไทยที่สําคัญ และเป็นก้าวกระโดดที่สําคัญของสังคมไทยในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมองว่าทุกคนในฐานะผู้บริโภคควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่วนตัวอยากเห็นภาพที่ผู้บริโภคคนหนึ่ง บริจาคเงินสิบบาทให้กับสภาองค์กรของผู้บริโภค

จริงอยู่ที่งบประมาณส่วนหนึ่งก็มาจากงบประมาณรัฐบาล แต่อีกแง่มุมหนึ่ง หากเราทําให้ผู้บริโภคเห็นว่า สภาองค์กรผู้บริโภคคือปากเสียง คือตัวแทนของทุกคน และร่วมกันจ่ายเงินสิบบาทต่อเดือน อาจจะน้อยหรือมากกว่านั้นเพื่อสนับสนุนการทำงาน ก็น่าจะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมให้กับประชาชนมากขึ้น


สัญญาภัชระ สามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ ผู้แทนสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

เนื่องจากสภาองค์กรของผู้บริโภค เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญได้ประมาณหนึ่งปีเศษ เพราะฉะนั้นการสร้างบทบาทตัวตนของสภาองค์กรของผู้บริโภคให้เป็นที่ยอมรับในสายตาผู้บริโภค และมองว่าสภาฯ สามารถเป็นที่พึ่งให้เขาได้ หากไม่สร้างความรู้สึกเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ผู้บริโภคก็อาจจะไม่กล้าเข้ามามาให้ขอความช่วยเหลือจากองค์กร

สิ่งที่คาดหวังมีอยู่ 2 เรื่อง คือ 1) อยากให้สภาฯ รวบรวมข้อมูล สถิติเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ไปวิเคราะห์ ศึกษา และเผยแพร่ให้ความรู้ในเชิงการป้องกันเฉพาะด้าน เพราะเรื่องร้องเรียนที่สภาทนายความฯ ให้คำปรึกษาในแต่ละวัน จำนวนไม่น้อยเป็นปัญหาผู้บริโภค ซึ่งการเก็บสถิติเหล่านี้จะนําไปสู่การให้ความรู้เฉพาะด้าน 2) อยากให้เกิดการเฝ้าระวังและตรวจสอบข้อมูลเพื่อรักษาประโยชน์ให้กับผู้บริโภค และแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับเรื่องที่จะเป็นความเสี่ยงกับผู้บริโภคในทุกด้าน และการเผยแพร่ความรู้

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะสร้างแหล่งข้อมูลในลักษณะเหมือนบิ๊กเดต้า (Big Data) หรือฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อการบริโภคสินค้าและบริการแต่ละประเภทอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ อยากให้มีการเผยแพรข้อมูลความรู้ ในลักษณะของเป็นคู่มือหรืออาจเป็นสื่ออื่น ที่ทำให้ผู้บริโภคได้รู้กระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ลักษณะของการหลอกลวง ลักษณะความเสียหาย วิธีป้องกัน ไปจนถึงวิธีการร้องเรียนหากเกิดปัญหา

สำหรับความร่วมมือกับสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้น มองว่าสภาทนายความฯ สามารถช่วยในเรื่องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การฟ้องคดีของผู้บริโภค การเผยแพร่ความรู้ และให้คําปรึกษาในคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งหากสภาองค์กรของผู้บริโภคมีความประสงค์ที่จะเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างองค์กรก็ยินดี


ไพศาล ลิ้มสถิตย์ นักวิชาการด้านกฎหมาย

อยากเห็นสภาองค์กรของผู้บริโภคผลักดันประเด็นเชิงนโยบายสาธารณะที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยอาจจะต้องมีการเน้นเรื่องการติดตามผล ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดําเนินการตามข้อเสนอแนะของสภาองค์กรของผู้บริโภคมากน้องเพียงใด และควรจะมีการเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรวมถึงสื่อมวลชนทราบด้วย จะได้ช่วยกันติดตามและตรวจสอบ ส่วนประเด็นท้าทายของสภาองค์กรของผู้บริโภคก็มีหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคลากร งบประมาณ หลายท่านอาจจะว่าทุนประเดิม 350 ล้านเป็นวงเงินที่เยอะ แต่จริง ๆ แล้วเงินจำนวนดังกล่าว ต้องใช้สองปีงบประมาณ ซึ่งสะท้อนว่าหน่วยงานภาครัฐอาจจะไม่ได้ให้ความสําคัญในเรื่องนี้มากนัก

หลายเรื่องที่สภาองค์กรของผู้บริโภคคัดค้าน หรือดำเนินการ อาจไปกระทบกับกลุ่มคน กลุ่มทุนขนาดใหญ่ กลุ่มทุนผูกขาด หรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์อะไรกับทางการเมือง ก็อาจจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทําให้ไม่ได้รับงบประมาณ สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงต้องพยายามส่งเสียงให้ประชาชนรับทราบว่า ความสำคัญของสภาฯ คืออะไร

ส่วนเรื่องความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ มองว่าหากสามารถทำเอ็มโอยู (MOU) หรือทำความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เช่น สคบ. อย. หรือกระทรวงดีอีเอส ก็จะสามารถแบ่งเบาภาระของหน่วยงานนั้น ๆ ได้ เพราะหน่วยงานราชการมีข้อจํากัดในการทํางานค่อนข้างมาก แต่องค์กรภาคประชาสังคมสามารถดำเนินการอย่างเป็นอิสระ และมีกรอบน้อยกว่า เช่น เรื่องของการร้องเรียน หรือฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น

อีกเรื่องหนึ่งก็คือที่น่า น่าสนใจคือเรื่องของระบบสมาชิก โดยมองว่า อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภคมีเครือข่ายสมาชิกที่ไม่ใช่เป็นองค์กรอย่างเดียว แต่มีสมาชิกที่เป็นประชาชนทั่วไป และสามารถเปิดให้เขาร่วมบริจาคเงิรรายปีเพื่อสนับสนุนการทำงาน ซึ่งจะทําให้เกิดความยั่งยืนขององค์กรในอนาคตด้วย


ลาภิศ ฤกษ์ดี หน่วยงานเขตพื้นที่ภาคเหนือ สภาองค์กรของผู้บริโภค

สิ่งที่คาดหวังในอนาคตคืออยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นสถาบันของการจัดการเรียนรู้ ในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และมองว่าการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน นักศึกษา เป็นแนวทางที่สามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีที่สุด

อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ บทบาทในการเป็นศูนย์กลาง การประสานงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เชื่อมความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในเรื่องการกํากับดูแล กฎหมาย หรือมาตรการต่าง ๆ เรื่องที่สาม มองว่าหน่วยงานองค์กรสมาชิกสภาองค์กรของผู้บริโภค คือหลักสําคัญที่จะทำให้สภาองค์กรของผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในพื้นที่ได้มากขึ้น

สำหรับเรื่องความท้าทาย คิดว่าประเด็นเรื่องการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเรื่องความปลอดภัยของสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย รวมไปเรื่องการช่วยเหลือและการเยียวยาผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายอย่างทั่วถึง เป็นความท้าทายที่ต้องทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง


ณัฐพร อาจหาญ ตัวแทนคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)

คิดว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคมีบทบาทสําคัญในการที่จะผลักดันและแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค จริง ๆ สิทธิผู้บริโภคเป็นเรื่องที่ก้าวหน้ามากแต่มักถูกมองข้าม ดังนั้น หากต้องการให้คนเข้าใจและเห็นความสำคัญเรื่องสิทธิผู้บริโภคมากขึ้น อาจต้องเชื่อมโยงให้เหห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิผู้บริโภค กับสิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิแรงงาน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้มุมมองเรื่องประเด็นสิทธิผู้บริโภคไม่ถูกจำกัดให้แคบลง

ทั้งนี้ ประเด็นเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 8 ด้าน ค่อนข้างครอบคลุมปัญหาผู้บริโภคเกือบทั้งหมด  แต่เป็นเรื่องยากที่คนจะเข้าใจประเด็นที่เครือข่ายผู้บริโภคเคยดำเนินงานมาทั้งหมด

จึงถือเป็นข้อท้าทายว่าจะทําอย่างไรให้คนเห็นและเข้าใจว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคกำลังขับเคลื่อนประเด็นอะไรบ้าง อีกความท้าทายหนึ่งคือระบบราชการ และโครงสร้างทางสัมคมที่ไม่ตรงไปตรงมา ดังนั้น แม้จะรู้ต้นตอของปัญหาและแนวทางการแก้ไข แต่ในทางปฏิบัติอาจต้องอาศยผู้ที่มีความเข้าใจและเชี่ยวชาญเพื่อไปต่อรองกับหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้น การสร้างและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายจึงมีความสำคัญมาก

ส่วนประเด็นเรื่องการเผยแพร่องค์ความรู้ ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถปกป้องสิทธิของตัวเองได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วบางกรณีก็อาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญและผลักดันประเด็นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ก็อาจนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่อาจกลายเป็นนโยบายในการคุ้มครองผู้บริโภคได้ในอนาคต


กัลยาพร เพิ่มพูน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

อยากให้สภาองค์กรของผู้บริโภค แสดงผลงาน แสดงบทบาทขององค์กรในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนรับรู้ว่าบทบาทหน้าที่ของสภาองค์กรของผู้บริโภคคืออะไร และองค์กรจะสามารถช่วยได้อย่างไรเมื่อเขาประสบปัญหา ทุกวันนี้เมื่อถามคนส่วนใหญ่เวลามีปัญหาเรื่องสินค้าและบริการมักจะนึกถึง สคบ. ดังนั้น จะประชาสัมพันธ์ตัวเองอย่างไรเพื่อที่เวลาผู้บริโภคมีปัญหา เขาจะนึกถึงชื่อของสภาองค์กรของผู้บริโภค

สำหรับเรื่องความท้าทาย เนื่องจากส่วนตัวเป็นทั้งผู้บริโภค เป็นตัวแทนของสภาอุตสาหกรรม และเป็นคณะกรรมการใน สคบ. ด้วย จึงอยากเห็น สคบ. กับสภาองค์กรผู้บริโภค ร่วมมือและทำงานคู่ขนานกันไป เนื่องจากว่าวิสัยทัศน์มันน่าจะไม่ได้ต่างกัน คือทำเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค ในขณะเดียวกัน ถ้าเป็นไปได้อยากเห็น สภาองค์กรผู้บริโภค เป็นกระบอกเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง โดยการเข้าไปเป็นตัวแทนในการทําประชาพิจารณ์ การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นต่าง ๆ

ส่วนประเด็นเรื่องความร่วมมือ ในฐานะองค์กรภาคธุรกิจ หากมีข้อมูลทางธุรกิจบางอย่างที่สามารถให้กับสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อไปต่อยอดในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคตามนโยบายที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเขียนไว้ ก็ยินดีให้ความช่วยเหลือ


รณน แก้วสุทธิ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์และสนับสนุนโครงการพิเศษ สมาคมธนาคารไทย

นับเป็นก้าวสําคัญขององค์กรผู้บริโภคที่มีการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งมองว่าการแบ่งบทบาทการทำงานกับ สคบ. เพื่อไม่ให้ซ้อนทับกันแต่ทำงานคู่ขนานกันไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงมีบทบาทค่อนขางมากในการเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้บริโภค เนื่องจาก สคบ. อาจจะมีข้อจํากัดในฐานะหน่วยงานรัฐ ในการรับฟังเสียงหรือผลตอบรับจากผู้บริโภค

ในทางกลับกันสภาองค์กรของผู้บริโภคซึ่งมีเครือข่ายอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ น่าจะช่วยรวบรวมความคิดเห็นของผู้บริโภคได้มากกว่า อีกทั้งเมื่อได้ความเห็นมาแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์และหยิบยกขึ้นมาผลักดันเชิงนโยบาย และทำความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงผู้ให้บริการเพื่อขับเคลื่อนประเด็นนั้น ๆ ได้อีกด้วย

ส่วนความท้าทายในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค น่าจะเป็นเรื่องความซับซ้อน เช่น หน่วยงานภาครัฐ โครงสร้างขององค์กรจะมีความซับซ้อนและมีขอบเขตการทำงานที่ค่อนข้างชัดเจน ทำให้บางปัญหาที่เกิดขึ้นไม่มีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง เช่น ปัญหาเรื่องการซื้อขายออนไลน์ ปัญหาเรื่องภัยทางการเงิน ซึ่งอาจจะยังไม่มีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลัก ปัญหาเหล่านี้จะถูกแก้ไขอย่างบูรณาการได้อย่างไร เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคต้องเดินทางไป 10 หน่วยงานเพื่อร้องเรียนและจัดการปัญหาหนึ่งเรื่อง ทั้งนี้ มองว่าเป็นบทบาทของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่ต้องดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เข้ามาทํางานร่วมกัน

ในส่วนของข้อเสนอแนะ คิดว่าเราต้องให้ความสำคัญเรื่องการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เพราะหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ผู้บริโภคก็หันมาทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือโมบายแบงก์กิ้ง มากขึ้น ซึ่งมีความสะดวกสบายมากกว่าการใช้เงินสด อย่างไรก็ตาม ความสะดวกสบายก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหรือถูกแฮ็กข้อมูล จึงอยากร่วมมือกับสภาองค์กรของผู้บริโภคผลิตสื่อต่างๆ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้บริโภค ทั้งในเชิงการป้องกัน การแก้ไขปัญหา รวมถึงการทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง


มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอรัปชัน

งานทางด้านต่อต้านคอรัปชั่น เราจะชนะได้ถ้าประชาชน มีความตื่นตัวที่จะรักษาสิทธิ์ของตัวเอง เพราะฉะนั้นโดยบทบาทแล้วองค์กต่อต้านคอรัปชันยินดีให้ความร่วมมือกับสภาองค์กรของผู้บริโภค ในการขับเคลื่อนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ส่วนเรื่องความท้าทายในการทํางาน มองว่าเป็นเรื่องการทำให้ผู้ประกอบการที่เป็นคนกลาง เช่น ภาคธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า จําหน่ายสินค้าปลีก – ส่ง เข้าไปมีส่วนร่วมรับผิดชอบในกระบวนการหลังการขายสินค้าและบริการด้วย

ประเด็นความท้าทายที่สอง คือ ประชาชนในฐานะผู้บริโภค  เป็นผู้ใช้บริการภาครัฐด้วย ในช่วงที่ผ่านมา มีการบริการภาครัฐหลายหลายอย่างที่เขาพยายามปรับปรุงภายใต้ พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 แต่สิ่งที่ได้สัมผัสกับการทํางานของภาครัฐ เห็นว่าเป็นการพัฒนาตามกฎหมายที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพ

พูดง่าย ๆ คือ ฉันได้ทําแล้วก็จบไป ทั้งที่หากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ ให้บริการประชาชนอย่างจริงจัง และทำให้บริการนั้น ๆ ใช้ได้จริง มันก็จะเกิดประโยชน์มากกว่านี้ ซึ่งส่วนตัวมองว่า หากผู้บริโภคไปสะท้อนปัญหาในการใช้บริการกับภาครัฐโดยตรง ก็อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้

อีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญ คือเรื่องกฎหมายป้องกันเรื่องการฟ้องปิดปาก ปัจจุบันองค์กรต่อต้านคอรัปชันพยายามผลักดันให้มีกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อกฎหมายถูกร่างโดยประชาชนขึ้นไป พอไปถึงกฤษฎีกา  แทนที่จะขยายกฎหมายให้มันเป็นประโยชน์มากขึ้น กฤษฎีกากลับตีตกกฎหมายไป โดยให้เหตุผลว่าการฟ้องปิดปากเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น เรื่อง มันไม่ควรมี ผิดกฎหมาย แต่ให้ไปแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 นั่นหมายความว่าการฟ้องปิดปากประชาชนในเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคอร์รัปชันก็จะยังคงเกิดขึ้น นี่เป็นประเด็นหนึ่งที่กำลังต่อสู้เรียกร้องกันอยู่ในปัจจุบัน


นฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

อยากเห็นสภาองค์กรของผู้บริโภคเข้าไปมีบทบาทในการมีส่วนร่วมกับองค์กรหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน ในการเป็นปากเป็นเสียงให้ประชาชน โดยเฉพาะการกำหนดกติกา ออกกฎหมายของภาครัฐ หรือกระบวนการจัดการปัญหาในระดับนโยบาย นอกจากนี้ ยังอยากเห็นการทํางานแบบที่ใช้ระบบข้อมูล เข้ามาจัดการปัญหาและพัฒนาเป็นนโยบาย รวมถึงการร่วมกันทำงานกับเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคนอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการส้รางความเข้มแข็ง และทำงานเชิงรุก เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถจัดการปัญหาด้วยตัวเองได้ อันนี้ก็เป็นการสร้างความเข้มแข็งที่ยังเห็นอยู่

ประเด็นความท้าทายในปัจจุบัน คือเราจะพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไรให้เท่าทันเทคโนโลยี  เพราะทุกวันนี้มิจฉาชีพก็พัฒนาไปสู่ระบบดิจิทัลหมดแล้ว จึงคาดหวังอยากให้ภาครัฐร่วมมือกับภาคประชาชน สร้างคลังข้อมูลกลาง หรือ Big Data big ร่วมกัน โดยที่องค์กรผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบได้บางส่วน เพื่อให้สามารถข้าไปตรวจสอบและช่วยผู้บริโภคในเบื้องต้นได้

อีกหนึ่งความท้าทายคือเรื่องการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับสภาองค์กรของผู้บริโภค ในเมื่อภาครัฐมีข้อจํากัด การร่วมมือกับองค์กรผู้บริโภคก็อาจสามารถลดข้อจํากัดของรัฐลงได้ และหากรัฐให้ความสําคัญกับเรื่องนี้ ก็จะทำให้เกิดกระบวนการวางแผนความร่วมมือร่วมกันซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเรากําลังวิ่งตามปัญหาอยู่ ดังนั้นการแก้ปัญหาในเชิงรุก การแก้ปัญหาในระดับนโยบาย จึงน่าจะป้องกันปัญหาได้ นอกจากนี้ ยังอยากเห็นการทำความร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดีขึ้น โดยที่ผู้บริโภคไม่ต้องไปร้องเรียน

ทั้งนี้ อยากให้ทุกภาคส่วนทั้งพรรคการเมือง หน่วยงานรัฐ รวมถึงภาคเอกชนต่าง ๆ  ให้ความสําคัญกับสภาองค์กรผู้บริโภค ในฐานะองค์กรที่เป็นปากเป็นเสียงให้ผู้บริโภคตามกฎหมาย รับฟังข้อเสนอแนะของสภาองค์กรของผู้บริโภค และร่วมมือกันทำงานอย่างเป็นรูปธรรม


ประภารัตน์ ไชยยศ เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ฝ่ายดูแลบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

จากการทํางานร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภคมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานอย่างต่อเนื่อง มองว่า จุดเด่นของสภาองค์กรของผู้บริโภค คือเป็นหน่วยงานที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่าย สื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ ได้อย่าง ได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น และเป็นการสื่อสารในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ซึ่งเป็นภารกิจที่ตรงกับ เอ๊ดด้า (ETDA) คือการให้ความรู้ สร้างความตระหนักกับประชาชนในเรื่องของปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาภัยทางออนไลน์ มีรูปแบบที่ซับซ้อน และเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ นอกจากภารกิจเรื่องของการสร้างความรับรู้เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อแล้ว เอ็ดด้ายังมีศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ ซึ่งดําเนินงานร่วมกันกับหลายหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เช่น สคบ. อย. กระทรวงพาณิชย์ ภาคเอกชน เช่น เฟซบุ๊ก รวมไปถึงภาคประชาชนอย่างสภาองค์กรของผู้บริโภคก็เป็นหน่วยงานที่เราให้ความสําคัญ ทั้งนี้ มองว่าการทํางานร่วมกับทุกภาคส่วนจะทําให้ เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยที่ไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เหมือนที่ผ่านมา


ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา

สภาองค์กรของผู้บริโภคได่รับงบประมาณ 350 ล้านบาทเป็นทุนประเดิม และอาจจะต้องใช้งบก้อนนี้ในการดำเนินงานตลอด 2 ปี แต่ทุกคนคาดหวังจะให้สภาองค์กรของผู้บริโภคแบกโลกไว้ทั้งใบ แล้วองค์กรอื่นในประเทศนี้ไม่ทํางานเลยหรือ แม้กระทั่งตัวเลขที่คุณตำรวจนำเสนอ เมื่อได้ฟังก็รู้สึกตกใจว่าในระยะเวลา 11 เดือนมีคนถูกหลอกเกือบหนึ่งแสนราย แล้วผู้ปฏิบัติงานที่ต้องแก้ไขปัญหาจะตามแก้ไขปัญหาทันได้อย่างไร

ดังนั้น สิ่งที่มองว่าเป็นความท้าทายที่สุดของสังคมไทย ก็การสร้างความรู้ และความเท่าทันให้เกิดขึ้นในตัวผู้บริโภคหรือประชาชนทุกคน นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากทําไม่ได้แล้วไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุก็ไม่มีทางจัดการได้ทัน

นอกจากความท้าทายเรื่องการเสริมพลังสร้างความรู้ให้กับผู้บริโภคแล้ว ประเด็นเรื่องการผลักดันเชิงนโยบายก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคจะผลักดันในเชิงนโยบายอย่างไรให้ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม เท่าที่ติดตามการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคพบว่ามีผลงานในหลายด้าน ซึ่งการจะทำให้คนหันมาสนใจในทุกเรื่องที่ทำก็คงไม่ง่ายนักดังนั้น สภาองค์กรของผู้บริโภคอาจจะต้องเลือกประเด็นสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่อีกขึ้นมาประชาสัมพันธ์ให้คนร่วมผลักดัน ส่วนประเด็นอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ตามปกติ และความท้าทายสุดท้ายคือ ทําอย่างไรให้ผู้อุปโภคบริโภคเป็นที่เชื่อถือของทุกคน

สำหรับความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรของผู้บรโภคและสื่อ ทุกวันนี้ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน การร่วมมือกับสื่อจึงไม่ใช่มองแค่ว่าจะทำความร่วมมือกับทีวีดิจิทัล หรือสื่อออนไลน์เท่านั้น แต่อินฟลูเอ็นเซอร์ก็ถือเป็นสื่อบุคคลอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นเรื่องสําคัญที่กระทบต่อผู้บริโภค เขาก็พร้อมจะช่วยประชาสัมพันธ์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องเนื้อหาที่จะสื่อสารก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากเนื้อหาเป็นประโยชน์กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสื่อหลัก สื่อบุคคล หรือสื่ออื่น ๆ เขาพร้อมที่จะช่วยเผยแพร่อยู่แล้ว


นิภาวรรณ แก้วรากมุกข์ เลขาธิการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ

เท่าที่พูดคุยกันให้กลุ่มสื่อหลัก พบว่า มีสื่อรู้จักสภาองค์กรของผู้บริโภคค่อนข้างน้อย และรู้จักเฉพาะในกลุ่มที่เป็นสายข่าวคุณภาพชีวิตหรือข่าวสังคม ทั้ง ๆ ที่ประเด็นที่สภาองค์กรของผู้บริโภคขับเคลื่อนนั้นเกี่ยวข้องกับทุกโต๊ะข่าว ทั้งสังคม อาชญากรรม รวมถึงการเมืองซึ่งเป็นเรื่องเชิงนโยบายที่สภาองค์กรของผู้บริโภคขับเคลื่อนอยู่

ดังนั้น ประเด็นท้าทายน่าจเป็นเรื่องความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรของผู้บริโภคกับสื่อ  ซึ่งหากมองภาพใหญ่ ๆ ก็จะมี 2 องค์กร คือ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์จะมีสมาชิกเป็นตัวบุคคล เป็นผู้สื่อข่าวทุกสาย

ขณะที่สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติก็จะมีองค์กรสื่อที่เป็นองค์กรสมาชิก ซึ่งทั้ง 2 องค์กรก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือเพราะการจัดการปัญหาผู้บริโภค จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อแก้ไขปัญหารวมทั้งสร้างการรับรู้ของประชาชน

ทุกวันนี้ เวลาที่มีปัญหาผู้บริโภคถูกโกง หรือเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ คนก็จะนึกถึง สคบ. และศาล เพราะฉะนั้นการร่วมมือกับสื่อมวลชนน่าจะช่วยทำให้ประชาชนได้รู้จักองค์กรมากขึ้น และได้รับรู้ว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคสามารถเป็นที่พึ่งของเขาได้ และเป็นองค์กรที่ให้ความรู้ประชาชน เพื่อป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ


นพ.ประพจน์ เภตรากาศ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

มีข้อเสนอในเรื่องการทำความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรผู้บริโภคกับหน่วยงานอื่น ๆ เนื่องจากบุคลากรของสภาองค์กรของผู้บริโภคมีไม่มาก แต่ปัญหาผู้บริโภคนั้นมีมากมาย และมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมองว่าการทำคาวมร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ สถาบันการสศึกษา นักวิชาการ ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่องค์กรผู้บริโภคด้วยกันเอง ก็จะทำให้สภาองค์กรของผู้บริโภคเหมือนมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่าง ๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนงาน และถือว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งร่วมกัน

ส่วนประเด็นเรื่องความท้าทายอย่างที่บอกว่าปัญหาผู้บริโภคมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และบางครั้งก็เป็นปัญหาใหม่ที่เราไม่เคยมีความรู้ ทำให้นึกถึงกลไกหนึ่ง ทางการแพทย์ในต่างประเทศซึ่งเขาทำงานในลักษณะขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือ เอ็นจีโอ (NGO) แต่เป็นเชิงวิชาการ โดยมีนักวิชาการทั่วโลกที่เป็นอาสาสมัคร เข้าไปช่วยรีวิวงานวิจัยในประเด็นต่าง ๆ

เช่น วัคซีนป้องกันโควิด – 19 ฉีดแล้วมีผลข้างเคียงอย่างไร ก็จะมีอาสาสมัครที่เป็นนักวิจัยเข้ามาช่วยรีวิวงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์แล้ว และมีความน่าเชื่อถือว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มากน้อยเพียงใด ถ้าให้เปรียบเทียบก็จะเหมือนกับ TDRI ที่จะไปรีวิวเอกสารว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมีประเด็นอะไรบ้างที่เชื่อถือได้ และไม่น่าเชื่อถือ

ทั้งนี้ เชื่อว่าหากสภาองค์กรของผู้บริโภคสร้างกลไกในลักษณะนี้ขึ้นมาได้ก็จะทำให้มีนักวิชาการที่เข้ามาช่วยตอบโจทย์ เพราะลำพังแค่สภาองค์กรของผู้บริโภคเพียงองค์กรเดียว คงไม่สามารถตอบโจทย์ทุกเรื่องได้ เพราะปัญหามีเยอะมาก และบางครั้งก็ต้องการข้อมูลที่ค่อนข้างข้ามสายความถนัดของวิชาชีพด้วย


รสนา โตสิตระกูล อนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค

บทบาทของสภาองค์กรของผู้บริโภคต่อสังคมไทย ถ้าพูดในเชิงของแนวความคิด มองว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคต้องทําให้ผู้บริโภคเข้มแข็งมากขึ้น เป็นพลเมืองที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้  ซึ่งการที่จะทำอย่างนั้นได้ต้องอาศัยการความร่วมมือจากหน่วยงานและเครือข่ายผู้บริโภค เพราะปัจจุบันปัญหาของผู้บริโภคมีเยอะมาก และอาจจะไม่ได้มีเพียงแค่ 8 ด้านตามที่สภาองค์กรของผู้บริโภคกําหนดเป็นคณะอนุกรรมการขึ้นมา

ดังนั้น การร่วมมือกับภาคส่วนอื่น ๆ จะทําให้เกิดการสนับสนุนกันและกันในการทํางาน เช่น กลุ่มคนที่สนใจประเด็นผังเมือง หรือสนใจเรื่องอากาศสะอาด ก็จะมีความรู้เชิงลึกลึกในแต่ละประเด็น หากว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคทำงานร่วมกับกลุ่มคนเหล่านี้ ก็น่าจะทําให้โครงข่ายกว้างขวางขึ้น

ประเด็นเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภค ทำให้นึกถึงเมื่อ 30 ปีก่อน ตอนที่เรื่องอาหารอินทรีย์ที่เพิ่งจะเป็นที่สนใจของสังคมไทย ตอนนั้นดิฉันมีโอกาสได้ไปดูร้านที่ขายอาหารอินทรีย์ที่ประเทศเยอรมนี และได้พูดคุยกับชาวต่างชาติที่มาซื้ออาหารอินทรีย์ ว่าทำไมเขาจึงเลือกซื้ออาหารเหล่านี้ทั้งที่มีราคาแพงกว่าอาหารทั่วไป ซึ่งเขาตอบว่า ‘คุณเลือกตั้ง 4 ปีครั้ง แต่ผู้บริโภคเลือกสังคมที่เราต้องการทุกวันผ่านกระเป๋าเงินของเราได้’ ซึ่งเป็นความคิดที่น่าสนใจมาก ดังนั้น จึงเชื่อว่าผู้บริโภคมีพลังในการสร้างสรรค์สังคมแบบที่ต้องการได้

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ดิฉันเคยไปดูงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ประเทศญี่ปุ่น พบว่าเขามีเครือข่ายองค์กร แม่บ้านที่ทําสหกรณ์ผู้ซื้อ ซึ่งทําให้เขาสามารถกําหนดประเภทและคุณภาพของอาหารได้ เช่น ไข่ไก่ ต้องเป็นไข่จากแม่ไก่ที่ไม่เลี้ยงโดยใช้สารเคมีหรือยาปฏิชีวนะ หรือผงซักฟอกต้องไม่มีส่วนผสมของสารที่ทําลายสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น และเมื่อกลุ่มสหกรณ์ของเขาใหญ่ขึ้น ในฐานะที่เป็นผู้ซื้อเขาสามารถกําหนดทิศทางการเมืองท้องถิ่นได้ด้วย จึงมองว่าการมีเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญที่จำสร้างพลังในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

นอกจากความร่วมมือในเชิงการสร้างความเปลี่ยนแปลงแล้ว การคุ้มครองและแก้ไขปัญหาผู้บริโภคก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกลวง หรือดูดเงินจากบัญชี กรณีนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคอาจจะต้องร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าจะร่วมกันทําระบบเพื่อป้องกันเรื่องนี้ได้อย่างไร นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า หากว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคจับมือกับภาคธุรกิจ สร้างระบบหรือกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคก็จะสามารถป้องกันปัญหาที่ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบได้

สำหรับข้อเสนอ มองว่านอกจากจะดึงนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยอย่างที่ นพ. ประพจน์ พูดแล้ว ส่วนตัวมองว่าว่านักกฎหมายก็สําคัญ สภาองค์กรของผู้บริโภคควรดึงคนเหล่านี้เข้ามา และให้บุคลากรของสภาฯ ได้ศึกษาจากนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญโดยมีประเด็นคดีต่าง ๆ เข้ามาเป็นต้นแบบในวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการดำเนินคดี ซึ่งถือเป็นการพัฒนาความสามารถของบุคลากรภายในองค์กรไปพร้อมพร้อมกัน


สุรางคณา วายุภาพ ผู้ก่อตั้ง บีเทค คอมพานี จำกัด

ประเด็นหนึ่งที่อยากพูดคือ ทุกวันนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นที่รับรู้พอสมควร แต่เป็นการรับรู้ที่เชื่อมกับคุณสารี ซึ่งถือเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนในเวลาเดียวกัน สำหรับภาพรวม ในฐานะที่เคยตั้งองค์กรมาก่อนจึงรู้ว่าลำบากมากกว่าจะสำเร็จ การที่รัฐบาลให้ทุนประเดิม 350 ล้านบาทก็ถือเป็นเรื่องโชคดี แต่เราก็ไม่รู้ว่าในอนาคตรัฐบาลจะอนุมัติงบให้ปีละเท่าไร พอเพียงกับภารกิจที่เกิดขึ้นหรือไม่

จึงขออนุญาตวิเคราะห์เป็น 3 ประเด็นหลัก 1) ถ้าดูในเชิงโครงสร้างการทํางาน มองว่าควรจะเน้นการทำงานเชิงรุก เพราะจะเป็นการแก้ปัญหาการผู้บริโภคที่ยั่งยืนที่สุด และลักษณะของสื่อที่เผยแพร่ ควรเป็นรูปแบบที่ทันสมัย น่าสนใจ และสั้นกระชับ ซึ่งก็เป็นโจทย์ของสภาองค์กรของผู้บริโภคว่าจะทำอย่างไรให้สื่อสารได้ในลักษณะนั้น

ประเด็นต่อมาคือ ทําอย่างไรให้สภาองค์กรของผู้บริโภคมีองค์ความรู้ที่พอเพียงกับภารกิจที่มีประเด็นหลากหลายและลึกมาก ยกตัวอย่างช่น กรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แม้สมาคมธนาคารไทยจะยินดีให้ความร่วมมือ แต่ในความเป็นจริงมันต้องมีกระบวนการวิเคราะห์ก่อนว่าต้นตอที่แท้จริงอยู่ตรงไหน และจะแก้ไขอย่างไร  หากแก้ปัญหาไม่ถูกต้องหรือข่าวรั่วออกไปก่อน ก็อาจเกิดความเสียหายต่อธนาคาร และอาจจะคิดเป็นมูลค่าความเสียหายที่มากเกินเยียวยา ซึ่งก็ต้องย้อนกลับไปในเรื่องความร่วมมือว่า หากสมาคมธนาคารไทย ไม่ร่วมมือกลับสภาองค์กรของผู้บริโภคในการทำงานเชิงรุก ก็จะเจอแต่ปัญหา เนื่องจากไม่มีกลไกการทํางานเชิงรุกที่เข้าไปสร้างความรู้ความเข้าจกับผู้บริโภคโดยตรง

อีกประเด็นหนึ่งคือ องค์กรใดก็ตามที่ตั้งขึ้นมาแล้วไม่มีอํานาจให้ใบอนุญาต ก็เสมือนว่าไม่มีอำนาจ จึงทําให้สภาองค์กรของผู้บริโภคซึ่งทําหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค และเป็นตัวแทนผู้บริโภคเข้าไปให้ความเห็นในการทำนโยบายต่าง ๆ ก็อาจจะมีความไม่เข้มแข็งไม่เท่ากับกลไกการทํางานในฝั่งหน่วยงานกำกับดูแลที่มีอำนาจในการลงโทษทางกฎหมายหรือสั่งพักใบอนุญาต ดังนั้น สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่าย ที่เข้ามาช่วยทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียน แก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภค และไกล่เกลี่ยเรื่องต่างๆ เพื่อให้สภาองค์กรของผู้บริโภคมีเวลาไปพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ไม่ว่าจะหน่วยงานรัฐหรือเอกชนก็มีปัญหาเรื่องการจัดการข้อมูล เพราะแต่ละหน่วยงานมีอำนาจในการจัดการแก้ไขปัญหาที่ไม่เบ็ดเสร็จ และมีความคาบเกี่ยวกัน เมื่อประชาชนเข้ามาร้องเรียนจึงรู้สึกผิดหวัง ว่าต้องไปร้องเรียนหลายหน่วยงาน และไม่สามารถแก้ปัญหาให้เขาได้อย่างทันท่วงที นี่คือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น


พัฒนะ จิรวงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์

ที่ผ่านมามองว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคทำตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ทั้งในเรื่องการคัดค้าน ผลักดันนโยบายต่าง ๆ และการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะมีกลุ่มคนที่มองการทำหน้าที่เหล่านี้ในทางที่ไม่ดีนัก เช่น มงว่าออกมาคัดค้านหลายเรื่อง หรือเป็นองค์กรที่ฟ้องร้องเก่ง

ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายว่า จะเปลี่ยนความคิดคนส่วนใหญ่ให้มองสภาองค์กรของผู้บริโภคด้วยความรู้สึกที่ดีขึ้นได้อย่างไร  เพื่อให้เขากล้าเข้ามาร้องเรียน หรือร่วมมือกับสภาองค์กรของผู้บริโภคให้มากขึ้น

ทั้งนี้ ส่วนตัวในฐานะสื่อมวลชนมองว่าน่าจะร่วมมือและช่วยพัฒนาเรื่องนี้ได้ ส่วนความท้าทายอื่น ๆ ส่วนรู้สึกว่า ในอนาคตอาจจะมีการเอาเปรียบผู้บริโภคในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น เทคโนโลยี่ที่พัฒนามากขึ้น ก็อาจเกิดระบบเอไอที่อาจทำให้เจ้าของกิจการสามารถเอาเปรียบผู้บริโภคได้มากขึ้น

นอกจากนี้ ในฐานะสื่อ มองว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคน่าจะมีบทบาทในการร่วมตรวจสอบสื่อด้วย เพราะหลายครั้งสื่อเป็นตัวแปรที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีให้กับผู้บริโภคโดยไม่รู้ตัว เช่น ภาพยนตร์ที่มีปัญหากับโรงภาพยนตร์ จนกระทั่งมีภาพยนตร์บางเรื่องที่มีรอบฉายแค่ช่วงเช้าวันธรรมดา ซึ่งถือเป็นการไม่ให้ทางเลือกกับผู้บริโภค จึงมองว่าเป็นความท้าทายหนึ่งที่ต้องต่อสู่เพื่อไม่ให้เกิดการเสียโอกาสของผู้บริโภคด้วย