หน่วยงานประจำจังหวัด

“หน่วยงานประจำจังหวัด” ตามความหมายในระเบียบสภาองค์กรของผู้บริโภค ฉบับที่ 4 ว่าด้วยการจัดตั้งหน่วยงานประจำจังหวัด กลไกเขตพื้นที่ สมาชิก และองค์กรของผู้บริโภคของสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562 หมายความว่า สมาชิกที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการให้เป็นหน่วยงานประจำจังหวัด ซึ่งถูกกำหนดไว้ใน มาตรา 12 (4) แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562 ว่า โครงสร้างขององค์กรซึ่งอย่างน้อยต้องมีสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคและหน่วยงานประจำจังหวัด ซึ่งอาจมีทุกจังหวัดหรือบางจังหวัดตามที่เห็นสมควร ตลอดทั้งวิธีการบริหารงานของสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นหัวหน้าสำนักงาน และวิธีการบริหารงานในหน่วยงานประจำจังหวัด รวมตลอดทั้งผู้มีอำนาจกระทำการแทนสภาองค์กรของผู้บริโภค

“หน่วยงานประจำจังหวัด” ก่อเกิดมาพร้อมกับการมีสภาผู้บริโภค ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของสภาผู้บริโภค เป็นนวัตกรรมของระบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน่วยงานประจำจังหวัดกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวแทนของผู้บริโภคทุกด้าน สามารถดำเนินงานคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว เท่าทันสถานการณ์ และความต้องการ

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานประจำจังหวัด

(1) เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อหน่วยของรัฐในระดับจังหวัด 
(2) สนับสนุนและดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการ แจ้งหรือโฆษณาข่าวสาร เตือนภัยเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้บริโภคในระดับจังหวัด โดยจะระบุชื่อสินค้า บริการ หรือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจด้วยก็ได้ 
(3) รายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคไปยังหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบในระดับจังหวัด และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ 
(4) สนับสนุนการรวมตัวและช่วยเหลือองค์กรของผู้บริโภคภายในจังหวัด เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้บริโภค
(5) ร่วมกับสมาชิกและองค์กรของผู้บริโภคอื่นในจังหวัด “จัดให้มีสภาจังหวัด” โดยให้หน่วยงานประจำจังหวัดทำหน้าที่เป็นเลขานุการ 
(6) รับเรื่องร้องเรียน ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมยอมความข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
(7) ดำเนินคดีในนามของสภาได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาจังหวัด ตามที่กำหนดในหมวดว่าด้วยการฟ้องคดี เว้นแต่หน่วยงานประจำจังหวัดนั้น เป็นองค์กรที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคได้
(8) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนงบประมาณรายปี และราย 6 เดือน
(9) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานเสนอต่อสำนักงานเป็นประจำทุก 6 เดือน โดยอย่างน้อยรายงานต้องมีเนื้อหาครอบคลุมผลงานที่เป็นความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ 
(10) ดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณและจัดทำรายงานการเงินและบัญชีให้เป็นไปตามระเบียบ สภาผู้บริโภคว่าด้วยการงบประมาณ การบัญชี การเงิน และการสอบบัญชีของ สภาผู้บริโภค และ
(11) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย 

ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 1 มีนาคม 2567) สภาผู้บริโภคแต่งตั้งองค์กรสมาชิก ยกระดับขึ้นเป็นหน่วยงานประจำจังหวัด ทำหน้าที่คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในจังหวัด รับเรื่องร้องเรียน ไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมยอมความข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และสามารถดำเนินคดีในนามของสภาฯ ได้ตลอดจนดำเนินการอื่นใดตามที่สภาผู้บริโภคกำหนด จำนวน 19 หน่วย ประกอบด้วย

1. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
(หน่วยงานประจําจังหวัดเชียงใหม่)
2. สมาคมประชาสังคมเพื่อการพัฒนาจังหวัดเชียงราย
(หน่วยงานประจําจังหวัดเชียงราย)
3. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา
(หน่วยงานประจําจังหวัดพะเยา)
4. ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดลําปาง
(หน่วยงานประจําจังหวัดลําปาง)
5. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลําพูน
(หน่วยงานประจําจังหวัดลําพูน)
6. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด
(หน่วยงานประจําจังหวัดร้อยเอ็ด)
7. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
(หน่วยงานประจําจังหวัดกรุงเทพมหานคร)
8. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(หน่วยงานประจําจังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
9. สมาคมผู้บริโภคสงขลา
(หน่วยงานประจําจังหวัดสงขลา)
10. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสตูล
(หน่วยงานประจําจังหวัดสตูล)

11. โครงการบริโภคสร้างสรรค์สุราษฎร์ธานี
(หน่วยงานประจําจังหวัดสุราษฎร์ธานี)
12. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคกาญจนบุรี
(หน่วยงานประจำจังหวัดกาญจนบุรี)
13. สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม
(หน่วยงานประจำจังหวัดสมุทรสงคราม)
14. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จังหวัดขอนแก่น
(หน่วยงานประจำจังหวัดขอนแก่น)
15. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(หน่วยงานประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
16. องค์กรเครือข่ายเพื่อนกาฬสินธุ์
(หน่วยงานประจำจังหวัดกาฬสินธุ์)
17. สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี
(หน่วยงานประจำจังหวัดปัตตานี)
18. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนอำเภอเมืองสุรินทร์
(หน่วยงานประจำจังหวัดสุรินทร์)
19. องค์กรศูนย์เรียนรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน
(หน่วยงานประจำจังหวัดน่าน)

ค้นหากลไกเขตพื้นที่และหน่วยงานประจำจังหวัด สภาผู้บริโภค

ที่ตั้ง