ข้อเสนอนโยบายด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

          มีหลายประเด็นสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นอาหารไม่ปลอดภัย อาหารปนเปื้อน มาตรฐานความปลอดภัยของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ การยกเลิก แบนสารเคมี หรืออาหารดัดแปลงพันธุกรรม GMOs ที่มีการถกเถียงกันอย่างแพร่หลายในเรื่องของความปลอดภัยและผลกระทบในระยะยาว สภาผู้บริโภค จึงพยายามผลักดันให้มีการติดฉลากสำหรับอาหารที่ผลิตด้วยการดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารที่ผลิตด้วยวิธีดังกล่าว นอกจากนั้น ยังมีประเด็นเรื่องของโครงการวิจัยวัคซีนในเด็ก ในส่วนของรายละเอียดการได้รับอนุมัติให้วิจัยในมนุษย์ยังคงเป็นที่สงสัยว่าสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ และการคุ้มครองสิทธิของเด็กที่ได้รับวัคซีนว่ามีค่าตอบแทนหรือรับผิดชอบในกรณีที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างไร ทั้งยังมีประเด็น CPTPP ว่าด้วยผลประโยชน์สำหรับการเข้าร่วมของประเทศไทย จากประเด็นสำคัญข้างต้น สภาผู้บริโภคยื่นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดเวทีเสวนาเพื่อนำเสนอข้อมูลแก่ผู้บริโภค


ข้อเสนอต่อการทำความตกลงเข้าร่วม CPTPP ของรัฐบาล

CPTPP มีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership หรือความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก อ่านต่อ


ข้อเสนอต่อการนำเข้าสับปะรดสีชมพู สับปะรด GMOs ต้องห้าม

จากการเฝ้าระวังในสื่อสังคมออนไลน์ของ สภาผู้บริโภคในช่วงเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook อาทิเพจ KCH Freshfruit, Veryfruits ผลไม้เดลิเวอรี่, FRESH Fruiteries, Durian_Mai_Ja, Freshfruit By Gift, Feel’in Fruit ผลไม้นำเข้าพรีเมียม อ่านต่อ


ข้อเสนอต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ตามโครงการ “VACC 2 School” ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

โครงการ “VACC 2 School” เป็นโครงการที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกาศนำร่องฉีดวัคซีนบริจาค “ซิโนฟาร์ม” ให้กับอาสาสมัครเด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 10-18 ปี เพื่อศึกษาความปลอดภัยภายหลังการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม BBIBP-CorV (Sinopharm) ขณะที่ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ออกคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อ่านต่อ


ข้อเสนอต่อปัญหาสารไกลโคแอลคาลอยด์ (glycoalkaloids) สูงกว่าปกติในมันฝรั่งทอดกรอบ

จากกรณีเฟซบุ๊ก “ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น” โพสต์แจ้งข่าวว่าบริษัท Frito-Lay ญี่ปุ่น เรียกคืนขนมมันฝรั่งทอดกรอบแบบแผ่น ยี่ห้อ เลย์ ออริจินัล ที่นำเข้าจากไทย หลังตรวจพบสารไกลโคแอลคาลอย์ ในปริมาณสูงกว่าปกติ และให้ผู้บริโภคสามารถส่งสินค้ากลับเพื่อขอเงินคืนได้นั้น ทั้งนี้ สารไกลโคแอลคาลอยด์ (glycoalkaloids) เป็นกลุ่มของสารพิษ อ่านต่อ


ข้อเสนอต่อการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ ไม่แสดงฉลากภาษาไทย

จากการแจ้งเบาะแสของผู้บริโภคว่า พบร้านขายอาหารต่างประเทศที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ขายสินค้าไม่แสดงฉลากภาษาไทย ร้านค้าประเภทนี้เป็นที่นิยมมากในกลุ่มสายชอปปิ้ง สายแฟชั่น สายติ่ง รวมไปถึงคนรักเมนูอาหารเกาหลี จีน ญี่ปุ่น โดยเบื้องต้นพบใน 2 ร้านชื่อดัง คือ อ่านต่อ

ข้อเสนอต่อการพัฒนาระบบ Post-Market : กรณีความไม่ปลอดภัยของไส้กรอกผสมสารกันเสีย

จากกรณีที่เป็นข่าวในช่วงต้นปี 2564 โดยเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘Ramathibodi Poison Center’ ให้ข้อมูลเตือนภัยผู้บริโภค ระบุว่ามีเด็กป่วยด้วยภาวะเมทฮีโมโกลบินนีเมีย (Methemoglobinemia) จำนวน 6 ราย ใน 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบุรี สระบุรี ตรัง และกาญจนบุรี ซึ่งเด็กทั้งหมดมีประวัติรับประทานไส้กรอกไม่มียี่ห้อ อ่านต่อ