แบบสำรวจ 4 มิติ ความรุนแรงในโรงเรียน

Getting your Trinity Audio player ready...

ความรุนแรงในโรงเรียนคือประสบการณ์ที่ทิ้งร่องรอยลึกและส่งผลยาวนาน เพื่อให้เข้าใจปัญหาอย่างรอบด้าน สภาผู้บริโภคจึงรวบรวมเสียงของผู้ที่เผชิญหรือพบเห็นความรุนแรงในโรงเรียน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม

ข้อมูลสำรวจระหว่างวันที่ 8–22 เมษายน 2568
ผู้ตอบแบบสอบถาม: 798 คน มี 337 คน (42%) เคยมีประสบการณ์หรือพบเห็นความรุนแรงในโรงเรียน

ผลจากการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (55.9%) รองลงมาคือ เพศชาย (42.6%) สำหรับผู้ตอบที่ระบุอัตลักษณ์ทางเพศอื่น ๆ เช่น LGBTQ Queer ทอม Transgender ฯลฯ มีสัดส่วนรวมกันประมาณ 1.5%

ส่วนระดับชั้น ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (39.6%) รองลงมาคือ นักเรียนระดับประถมศึกษา (36.7%) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (21.3%) ตามลำดับ สำหรับผู้ตอบจากระดับการศึกษาอื่น ๆ ได้แก่ ระดับชั้นอนุบาล หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปริญญาตรี ปริญญาโท และวัยทำงาน มีสัดส่วนรวมกันประมาณ 2.4%

สำหรับผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับประสบการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนจากผู้ตอบที่เคยมีประสบการณ์หรือพบเห็นจำนวน 337 คน โดยจะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบหลัก ได้แก่

ความรุนแรงไม่ได้มีแค่ทางกายภาพ

3 อันดับแรก ความรุนแรงที่พบมากสุด (ผู้ตอบแบบสำรวจเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)

1. ความรุนแรงทางร่างกาย (337 คน)

  • ถูกตี — 62.6%
  • ถูกต่อย — 52.8%
  • ถูกเตะ — 37.7%

2. ความรุนแรงทางวาจา (335 คน)

  • คำพูดทำร้ายจิตใจ — 68.7%
  • ถูกนินทา/เสียดสี — 63.3%
  • ล้อเลียนรูปร่าง/บุคลิก — 52.8%

3. ความรุนแรงทางสังคม (337 คน)

  • ล้อเลียนต่อหน้าคนหมู่มาก — 50.1%
  • ปล่อยข่าวลือ/พูดลับหลัง — 50.1%
  • กีดกันจากกลุ่ม — 31.8%

4. การรังแกในโลกไซเบอร์ (326 คน)

  • ถูกโพสต์ด่าทอ/ดูถูก — 27.6%
  • ข่าวโคมลอย — 13.5%
  • การถูกกีดกันจากสังคมออนไลน์ – 12.9%

ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหา

  • สร้างสภาพแวดล้อมปลอดภัยขึ้น
  • มีระบบดูแลและแจ้งปัญหา
  • ส่งเสริมให้ครูและผู้ใหญ่ “ฟัง” เด็กมากขึ้น
  • สร้างความตระหนักรู้เรื่องความรุนแรง ให้ทุกฝ่ายในโรงเรียน
  • อบรมคุณครูให้เข้าใจพฤติกรรมเด็กและรับมือความรุนแรงอย่างเหมาะสม