Getting your Trinity Audio player ready... |

ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 31 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย: หลอกพัสดุตกค้าง สุดท้ายเงินหมดบัญชี
ตำรวจไซเบอร์ PCT Police เตือนภัย ล่าสุดมิจฉาชีพนำเรื่องเกี่ยวกับการมีพัสดุตกค้าง และการเข้าไปมีส่วนในคดีฟอกเงินมารวมกัน อ้างว่าได้ส่งพัสดุไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงิน
ทำให้เหยื่อรู้สึกกลัวและกังวล จากนั้นก็โอนสายให้คุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปลอม เพื่อดำเนินการแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ ให้แอดไลน์คุย จนสุดท้ายจะให้โอนเงิน
วิธีรับมือเบื้องต้น
- ไม่หลงเชื่อข้อมูลทางโทรศัพท์ทางเดียว ให้ติดต่อกลับ หน่วยงานราชการที่ได้รับการอ้างถึงเพื่อตรวจสอบ
- ข้อมูลทางการเงินเป็นความลับ ต้องไม่ให้ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการทำธุรกรรม Online รหัส OTP ที่ได้รับผ่าน SMS เด็ดขาด
- ห้ามโอนเงินตามคำบอกเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจะตกเป็นเหยื่อแน่นอน
ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ
- เมื่อมิจฉาชีพติดต่อเข้ามาในลักษณะข้างต้น ควรติดต่อหน่วยงานราชการด้วยตนเองอีกครั้ง หรือปรึกษาหารือกับคนในครอบครัว ไม่ควรเชื่อข้อมูลจากบุคคลในโทรศัพท์
- แนะนำให้ติดตั้งแอปพลิเคชชันไว้ใช้แจ้งเตือนก่อนรับสายโทรศัพท์ เช่น Who’s call
- ไม่ลงแอปฯ ที่ไม่น่าไว้ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโทรศัพท์ที่แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ
ที่มา: PCT POLICE
ข่าวปลอม อย่าแชร์ “ไทยพบผู้ป่วยฝีดาษวานรที่รับเชื้อจากชาวไนจีเรีย”
กรมควบคุมโรค ตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ อย่าแชร์
กรมควบคุมโรค ลงพื้นที่ใน กทม.ตรวจพบชายไทย อายุ 47 ปี ติดเชื้อโรคฝีดาษวานร ประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายต่างชาติไม่ทราบสัญชาติ ซึ่งถือว่าเป็นคนไทยรายแรกที่ได้พบเชื้อนี้ และเป็นรายที่ 2 ที่พบในประเทศไทย แต่ผู้ป่วยคนนี้ไม่มีประวัติเดินทางหรือพบกับผู้ป่วยชาวไนจีเรียรายแรกแต่อย่างใด
ดังนั้นข่าวที่แชร์ในโชเซียลมีเดียว่าผู้ป่วยรายดังกล่าวติดเชื้อมาจากชาวไนจีเรียจึงเป็นข่าวปลอม อย่าแชร์
ที่มา : กรมควบคุมโรค
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 30 กรกฎาคม 2565
รวม 10 เบอร์ ที่ผู้บริโภคควรรู้ไว้
1. 191 เหตุด่วน เหตุร้าย
2. 1155 ตำรวจท่องเที่ยว
3. 1192 แจ้งรถหาย
4. 1193 ตำรวจทางหลวง
5. 1543 สายตรงทางด่วน
6. 1669 เจ็บป่วยฉุกเฉิน
7. 199 ดับเพลิง
8. 1197 ข้อมูลการจราจร
9. 1554 หน่วยกู้ชีพ วชิรพยาบาล
10. 1146 กรมทางหลวงชนบท
ที่มา : กองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข่าวปลอม : สำลีชุบแอลกอฮอล์วางบนสะดือ รักษาโรคหวัดได้
แชร์จนเป็นกระแสในสังคมออนไลน์ ว่าโรคหวัด รักษาได้ง่าย ๆ โดยการนำสำลีมาแช่ หรือชุบลงในแอลกอฮอล์ 50 % แล้วนำวางลงบนสะดือ จะช่วยรักษาโรคหวัด เป็นไข้ ตัวร้อน อาการไอ อาการปวดท้อง และอาการปวดท้องประจำเดือนได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แจ้งเตือนผู้บริโภคอย่าเชื่อข่าวโคมลอยที่ไม่มีมูลความจริง
โรคหวัดเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสก่อโรค ร่วมกับการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ในการรักษาเบื้องต้นนั้น อาจใช้ยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาพาราเซตามอล สำหรับลดไข้ ยาคลอเฟนิรามีน สำหรับลดน้ำมูก รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่น ๆ เช็ดตัว และดื่มน้ำมาก ๆ แต่หากมีอาการร่วมมากขึ้น หรือมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูงลอย ไอมาก หอบเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
อย. สรุปว่า การนำสำลีชุบลงในแอลกอฮอล์ 50% แล้ววางลงบนสะดือนั้น ไม่สามารถรักษาโรคหวัดได้เลย
ที่มา : เพจ อย. FDA Thai
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 29 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : หมอกระเป๋า สวยราคาถูก แต่เสี่ยงถึงชีวิต
จากกรณีมีแก๊งมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นหมอความงาม หรือหมอกระเป๋าหลอกลวงผู้บริโภค ประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อให้ฉีดสารเสริมความงาม เช่น โบท็อก ฟิลเลอร์ถึงประตูหน้าบ้าน ราคาถูก สวยไว
แต่ผู้บริโภคหารู้ไม่ ว่าการฉีดสารเสริมความงามกับหมอกระเป๋าเป็นอันตรายกว่าที่คิด เนื่องจากหมอกระเป๋าไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านเวชกรรม การทำหัตกรรม การฉีดสารความงาม หากผู้บริโภคฉีดไปมีแต่ความเสี่ยง ทั้งเสี่ยงทำให้เนื้อตาย ตาบอด หรือหากแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ที่มา : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ผู้บริโภคต้องรู้ หากปล่อยให้ทรู-ดีแทค ควบรวมกิจการ อาจทำให้ค่าบริการสูงขึ้นเป็นเท่าตัว
ตามที่มีกระแสข่าวดังของวงการโทรคมนาคม เรื่อง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เตรียมฟันธงว่า การควบรวมกิจการทรู-ดีแทค ขัดกฎหมายหรือไม่นั้น
สภาองค์กรของผู้บริโภคขออาสาเป็นตัวกลางนำเสนอปัญหาหากทรู-ดีแทค ควบรวมกิจการจะเกิดอะไรขึ้น ดังนี้
- ทำให้ค่าบริการแพงขึ้น ถึง 66 – 120%
- อาจทำให้เกิดอำนาจเหนือตลาด เพราะหากควบรวมกิจการสำเร็จสำเร็จจะทำให้บริษัทที่อยู่ใต้การควบรวมมีส่วนแบ่งตลาดถึง 52%
- ทำให้เสี่ยงต่อการผูกขาดโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 28 กรกฎาคม 2565
ข่าวปลอม : ห้ามใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันจากของทอด เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง
ตามที่มีกระแสแชร์ข้อมูลประเด็นร้อนเรื่องใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันจากของทอด เป็นอันตรายต่อร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็งนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า กระดาษทิชชูซับน้ำมันจากของทอดยังไม่มีหลักฐานข้อมูลทางวิชาการยืนยันว่าสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/wF7IZ
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวปลอม : ขายข้าวต้องผ่านรัฐเท่านั้น ไม่เช่นนั้นติดคุกหัวโต
จากที่มีกระแสข่าวออกมาแพร่หลายเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง เกษตรกรที่ต้องการซื้อ-ขายข้าว จะต้องดำเนินการผ่านรัฐ หากฝ่าฝืนจะมีโทษถึงติดคุกและเสียเงินค่าปรับนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมายืนยันว่า เกษตรกรสามารถขาย-ซื้อข้าวได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องผ่านรัฐ และข้อมูลดังกล่าวทำให้ประชาชนสับสน และไม่เป็นความจริง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/UowrV
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 27 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : 13 แอปพลิเคชัน อันตรายต้องลบทิ้งทันที
จากกรณีชาวเน็ตเปิดเผยข้อมูลแอปพลิเคชันอันตราย ที่หากเผลอติดตั้งไปแล้วอาจโดนดูดเงิน ล้วงข้อมูลส่วนบุคคลได้
เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ได้ปลอดภัย ข่าวจริงประเทศไทย จึงแนะนำแอปพลิเคชันอันตรายที่ต้องลบทิ้งทันที 13 แอปฯ ดังนี้
1. Battery Charging Animations Battery Wallpaper
2. Classic Emoji Keyboard
3. Battery Charging Animations Bubble -Effects
4. Easy PDF Scanner
5. Dazzling Keyboard
6. Halloween Coloring
7. EmojiOne Keyboard
8. Smart TV remote
9. Flashlight Flash Alert On Call
10. Volume Booster Hearing Aid
11. Now QRcode Scan
12. Volume Booster Louder Sound Equalizer
13. Super Hero-Effect
ที่มา : ข่าวจริงประเทศไทย
เตือนภัย : มิจฉาชีพอ้างตัวเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เชิญชวนผู้บริโภคลงทุนกับบริษัทหุ้น เพียงเงินแค่ 2,900 บาท
ตามที่มีกระแสโด่งดังบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นการเงินการลงทุนเรื่อง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เชิญชวนผู้บริโภคลงทุนกับบริษัทหุ้นระดับโลกนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน ระบุว่า ปตท. ไม่ได้เปิดให้ลงทุนหุ้นกับบริษัทหุ้นระดับโลกตามที่มีการแอบอ้างในราคา 2,900 บาท
ปตท. ย้ำ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ https://www.pttplc.com/th/Home.aspx หรือโทร 1365 Contact Center
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://king;th
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 26 กรกฎาคม 2565
จริงหรือ : รับประทานไข่ต้มที่ต้มนานเกินไปเสี่ยงมะเร็ง ?
กรณีนี้ที่มีการแชร์ข้อมูลว่าไข่ที่ต้มเป็นระยะเวลายาวนานเกินไป จะทำให้บริเวณที่เป็นไข่แดงเปลี่ยนเป็นสีเทาอมเขียว ซึ่งเป็นสารอันตราย ก่อให้เกิดมะเร็งได้นั้น สำนักงานอาหารและยา (อย.) ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากสีของไข่แดงที่เปลี่ยนไปเป็นเพียงกระบวนการทางเคมีตามธรรมชาติ โดยโปรตีนไข่ขาวที่มีธาตุซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ เปลี่ยนแปลงไปด้วยความร้อน จนเกิดสารที่ชื่อว่า ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) ขึ้น และหากต้มเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ไฮโดรเจนซัลไฟด์นี้ไปทำปฏิกิริยากับธาตุเหล็กในไข่แดง เกิดเฟอรัสซัลไฟด์ (ferrous sulfide) ขึ้น ซึ่งเป็นสารสีเขียวที่ไม่ใช่สารอันตราย หรือสารก่อมะเร็ง วิธีการหลีกเลี่ยงการเกิดสารสีนี้ คือ การต้มไข่ไม่ให้นานเกินไป และให้ไปแช่น้ำเย็นทันที จะหยุดการเกิดปฏิกิริยาได้
อย่างไรก็ตาม การรับประทานไข่อาจจะแฝงอันตรายได้หากรับประทานไข่ในรูปแบบสุก ๆ ดิบ ๆ เพราะนอกจากจะย่อยยากแล้วอาจได้รับเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินอาหาร หรือเชื้อไข้หวัดนกได้อีกด้วย ดังนั้นทางที่ดีควรล้างทำความสะอาดก่อนนำไปปรุงอาหาร และปรุงไข่ให้สุกก่อนรับประทาน จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
เตือนภัย : ธนาคารกรุงไทย ใจป้ำส่ง SMS ให้กู้สูงถึง 188,000 บาท
ชาวเน็ตดีใจกันยกใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ใจป้ำส่ง SMS ปล่อยให้ประชาชนกู้สูงถึง 188,000 บาท ง่าย ๆ เพื่อกดลิงก์ใน SMS นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ธนาคารไม่มีนโยบายในการส่งข้อมูลการปล่อยสินเชื่อให้กู้สูงถึง 188,000 บาท ในรูปแบบ SMS ตามที่มีการแอบอ้าง
ธนาคารกรุงไทย ย้ำขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://sho5656
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 25 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : มิจฉาชีพปลอมเฟซบุ๊กกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ตามที่มีกระแสข่าวบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็น เพจเฟซบุ๊กกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เปิดรับสมัครงานนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่า การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว ไม่ใช่เพจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่สร้างขึ้น เป็นเพียงการแอบอ้างใช้ชื่อและสัญลักษณ์เท่านั้น
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ย้ำ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สามารถติดตามข้อมูลได้อีกช่องทางที่เว็บไซต์ https://www.dsd.go.th/ หรือโทร. 0 2245 1707-8
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/TQ5Lj
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวปลอม : แชมพูสมุนไพรจีนห่อสิ่วโอว Ruzai สามารถแก้ไขปัญหาเส้นผมไม่ให้มีหงอกได้
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่ผู้บริโภคร่วมใจกันแชร์ข้อมูลแชมพูสมุนไพรจีนห่อสิ่วโอว Ruzai แก้ปัญหาเส้นผมไม่มีผมหงอกได้ นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า แชมพูสมุนไพรจีนห่อสิ่วโอว Ruzai อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง และที่สำคัญไม่พบเลขทะเบียนจดแจ้งผลิตภัณฑ์กับทาง อย.
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://short.asia/TQ5Lj
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 24 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : มิจฉาชีพอ้างเป็นสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยเลขลับ ประจำงวดวันที่ 1 สิงหาคม 2565
ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์ถูกใจผู้บริโภคคอหวยประเด็นเรื่อง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เผยเลขลับเฉพาะ ประจำงวดวันที่ 1 สิงหาคม 2565 นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทรวงการคลัง ระบุว่า ไม่มีผู้ใดสามารถทราบผลรางวัลล่วงหน้าได้ตามที่มีกระแสแอบอ้าง
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ย้ำ ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/JFbp5
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวปลอม : น้ำชีวจิต สามารถรักษามะเร็งได้
จากที่มีการเปิดเผยข้อมูลวิธีการรักษามะเร็งโดยสูตรน้ำชีวจิต หรือน้ำอาร์ซี สามารถรักษาโรคมะเร็งได้นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า น้ำชีวจิตหรือน้ำอาร์ซี (Rejuvenating Concoction, RC) เป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของธัญพืช 9 ชนิด ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ลูกเดือย ลูกบัว ข้าวฟ่าง ข้าวมันปู ข้าวซ้อมมือ และข้าวเหนียวกล้อง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย
อย่างไรก็ตาม น้ำชีวจิต ในปัจจุบันไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/Yj48e
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 23 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : มิจฉาชีพอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กองสลากส่งจดหมายเชิญชวนให้ประชาชนสมัครเข้าร่วมโครงการทลายเจ้ามือหวยเถื่อน พร้อมเปิดรับสมาชิกรับเลขล็อกจากภายใน
ตามที่มีกระแสดังข้ามคืนเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง เจ้าหน้าที่กองสลากส่งจดหมายเชิญชวนให้ประชาชนสมัครเข้าร่วมโครงการทลายเจ้ามือหวยเถื่อนให้กับประชาชน พร้อมเปิดรับสมาชิกรับเลขล็อกจากภายในนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ระบุว่า ข้อมูลที่ประชาชนได้รับเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เป็นจดหมายหลอกลวงของมิจฉาชีพ เนื่องจากไม่มีผู้ใดสามารถรู้หมายเลขที่ออกรางวัลได้ล่วงหน้า
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/JFbp5
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวปลอม : มังคุดนึ่งมีสรรพคุณพิเศษรักษาโรคมะเร็งได้
ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์ที่แชร์ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับการบริโภคมังคุดนึ่งสามารถรักษาโรคมะเร็งได้นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การบริโภคมังคุดนึ่งไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/JFbp5
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 22 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : กรุงไทยเปิดกู้รอบใหม่ วงเงินสูงสุด 10,000 บาท ผ่อน 300 ต่อเดือน ผ่านช่องทางไลน์ @318trdcf
ประเด็นร้อนทั่วช่องทางออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นการเงินการธนาคารเรื่อง ธนาคารกรุงไทยปล่อยให้ประชาชนกู้รอบใหม่ วงเงินสูงสุด 10,000 บาท ผ่อน 300 บาทต่อเดือน ผ่านไลน์ @318trdcf นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ธนาคารไม่มีนโยบายปล่อยกู้สินเชื่อผ่านช่องทางไลน์ส่วนบุคคล และมีผู้ไม่หวังดีแอบอ้างใช้ตราสัญลักษณ์ธนาคารกรุงไทย
กรุงไทย ย้ำ หากพบ SMS อีเมล หรือ LINE ที่มีลิงก์แอบอ้างเป็นธนาคาร หรือพบเหตุผิดปกติ สามารถแจ้งผ่าน Facebook Fanpage Krungthai Care และ Krungthai Contact Center โทร 02-111-1111 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/Yj48e
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวปลอม : ต้นดีปลาช่อน สามารถรักษาโรคมะเร็งได้
ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์อ้างว่าต้นดีปลาช่อน สามารถรักษาโรคมะเร็งได้นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ต้นดีปลาช่อนไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/Yj48e
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 21 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : มิจฉาชีพหลอกให้ดาวน์โหลดแอปฯป้องกันการฉ้อโกงของ DSI
ตำรวจไซเบอร์ PCT Police เตือนภัย อย่าเชื่อเมื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอบอ้างเป็นกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI แนะนำให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ซึ่งอ้างว่า แอปพลิเคชันป้องกันการโกงได้ทุกรูปแบบ หรือสามารถล็อกข้อมูลการโกงต่าง ๆ ได้
หากประชาชนหลงเชื่ออาจถูกเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ เช่น ข้อมูลบัญชีผู้ใช้ ข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลบัญชีธนาคาร
ที่มา : เพจตำรวจไซเบอร์ PCT Police
ข่าวปลอม : เครื่องตรวจวัดออกซิเจนเลือดปลายนิ้ว สามารถตรวจโควิด-19 ได้
ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องเครื่องตรวจวัดออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้ว ใช้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในร่างกายได้นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ระบุ เครื่องตรวจวัดออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้ว ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 แต่ใช้ตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดของร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อประเมินสภาวะผิดปกติของร่างกาย หรือติดตามอาการของผู้ป่วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/Yj48e
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 20 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : ‘สลิปทิพย์’ ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย รับสลิปปลอมไม่มีเงิน
แม่ค้า พ่อค้าออนไลน์ ต้องไม่พลาดคลิปนี้ ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย พ่อค้าแม่ค้าอย่าเพิ่งไว้ใจลูกค้า ที่แกล้งส่งสลิปมา แต่ที่ไหนได้ เป็น #สลิปปลอม #สลิปทิพย์
สลิปไหน ๆ ก็หน้าตาคล้าย ๆ กัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า อันไหนจริง อันไหนปลอม ก็ใช้วิธีตามพี่โจรบอกเลย พี่โจรบอกว่า ถ้าลูกค้าเปิดสลิปโอนเงินทางแอปฯ ธนาคารให้ดูโดยใช้มือถือ ก็ให้พ่อค้าแม่ค้า เปิดแอปฯ ธนาคารของตนเองในโทรศัพท์ ซึ่งจะเป็นธนาคารไหนก็ได้ แล้วกดสแกน QR code ของสลิปที่ปรากฏบนจอของลูกค้า ถ้าข้อมูลตรงกันก็ถือว่าเป็นสลิปจริง
อีกวิธีหนึ่งคือ เมื่อส่งสลิปทางไลน์ ก็ให้โหลดภาพสลิปลงในอัลบั้ม แล้วเปิดแอปฯ ธนาคาร แล้วสแกนภาพสลิปนั้น ถ้าออกมาตรงกันก็หมายถึงว่ามีการโอนจริง ส่วนใครที่มียอดขายเยอะ ๆ แนะนำให้ใช้บริการธนาคารตนเอง แจ้งเตือนเอสเอ็มเอสเวลามีเงินเข้าออกบัญชี
แจ้งความ/เบาะแสตำรวจไซเบอร์ PCT Police
สายด่วน (Smartphone) 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com
ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)
ข่าวปลอม : ต้นมะแว้งนก รักษาโรคมะเร็งปากมดลูกได้
ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นร้อนด้านสุขภาพเรื่อง ต้นมะแว้งนกช่วยรักษามะเร็งปากมดลูก เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่ใช้ผลมะแว้งนกรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในมนุษย์ และควรศึกษารายละเอียดสรรพคุณทางยาของพืช และนำมาใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ย้ำ หากพบว่าผู้บริโภคเป็นมะเร็งควรพบแพทย์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/DiPay
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 19 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : โดนหลอกยืมเงิน ด้วยการปลอมโปรไฟล์ ปลอมไลน์เพื่อน ต้องตรวจสอบก่อนโอน
จากเหตุการณ์ที่มีการหลอกยืมเงินโดยการปลอมโปรไฟล์ หรือปลอมไลน์ ตำรวจไซเบอร์ PCT Police แนะวิธีตรวจสอบว่าคนที่ทักแชทมาขอยืมเงินเรานั้นเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม สามารถทำได้ ดังนี้
1. ให้ตรวจสอบโปรไฟล์ หรือประวัติการสนทนา เพราะหากเป็นคนที่เรารู้จัก และเคยพูดคุยด้วยย่อมมีประวัติอยู่ หรือบางครั้งตรวจสอบโปรไฟล์และประวัติสนทนาแล้วไม่แน่ใจ ให้ลองค้นหาชื่อเพื่อนของเราในระบบดูว่ามี Account ซ้ำกันหรือเปล่า เพราะอาจจะมีบางอันเป็นของจริงและบางอันเป็นของปลอมได้
2. ต้องยืนยันตัวตน โดยก่อนที่เราจะโอนเงินให้เพื่อนก็ต้องแน่ใจว่าเป็นเพื่อนเราจริง ด้วยการโทรศัพท์หาผ่านเบอร์โทร หรือการเปิดกล้องดูหน้าตาเพื่อนเสียก่อน ซึ่งหากคนที่ทักมาขอยืมเงินเป็นเพื่อนเราจริง ก็ต้องยินยอมให้ยืนยันตัวตน
3. เบอร์บัญชีธนาคารที่ให้มา ถ้าไม่ได้เป็นบัญชีของเพื่อนเรา หรือคนที่ทักมาหาเรา ก็ยิ่งต้องตรวจสอบ อย่าเพิ่งรีบโอน
❌ความผิด❌ กรณีการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น แล้วส่งข้อความเพื่อหลอกยืมเงิน จะมีความผิด ดังนี้
- ฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 140,000 บาท
😱 แต่ถ้าหากเผลอโอนเงินไปให้กับมิจฉาชีพแล้ว ให้เก็บหลักฐานการโอนเงิน รวมถึงข้อความสนทนาดังกล่าวรีบไปแจ้งความกับตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ติดต่อได้ที่ สายด่วน (smartphone) 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com
ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)
เตือนภัย : โดนล่อโอนเงินเพื่อได้งาน จาก ‘tiktok’ ปลอม
ขณะนี้มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อโอนเงินเพื่อได้งานจากติ๊กต๊อกปลอมเป็นจำนวนมาก เพจตำรวจไซเบอร์ ชวนมาดูขั้นตอนการหลอกของมิจฉาชีพกลุ่มนี้ว่าใช้วิธีไหนบ้าง โดยที่ผู้เสียหายจำนวนมากถูกหลอกให้ทำภารกิจจากข้อความที่อ้างว่าส่งมาจาก Tiktok หรือ Tiktok ปลอม !
1. ส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถืออ้างว่าจากแอป TikTok
บอกว่าได้รับเลือกให้มีรายได้กับทางแอปฯ
2. ให้แอดไลน์ไปและสมัครตามในลิ้งก์ที่ส่งมา อ้างว่าทำงานโดยกดติดตาม และกดหัวใจจะได้ลิงก์ละ 20 บาท เมื่อทำครบก็ได้เงินจริง
3. จากนั้นแอดมินแนะนำให้โหลดแอปชื่อ “TT” และเข้าเช็กอินเพื่อทำภารกิจต่อ ซึ่งภารกิจนี้ต้องโอนเงินไปสำรองก่อน จากนั้นทางแอปฯ โอนเงินคืนพร้อมกำไร
4. ทำภารกิจเรื่อย ๆ จนสุดท้ายให้โอนเงินหลักหมื่นบาท แต่ไม่สามารถถอนคืนได้แล้ว และหลอกให้โอนไปเรื่อย ๆ อ้างว่าบัญชีมีปัญหา จนผู้เสียหายรู้ตัว
ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)
แนะนำ : ต้องศีกษากฎหมายเกี่ยวกับกัญชาก่อนนำติดตัว
จากการที่มีการขายผลิตภัณฑ์ผสมกัญชา/กัญชงที่หลากหลาย อาจจะมีผู้เดินทางบางคนหรือเพื่อนชาวต่างประเทศนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นติดตัวไป
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แนะนำว่าให้ผู้เดินทางศึกษาข้อมูลด้านกฏระเบียบ และกฏหมายการครอบครองผลิตภัณฑ์เหล่านี้ของแต่ประเทศ ก่อนตัดสินใจนำผลิตภัณฑ์กัญชา กัญชง หรือสารสกัดกัญชา กัญชง หรือส่วนของกัญชา กัญชง ติดตัวไปต่างประเทศ ก่อนเดินทาง
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 18 กรกฎาคม 2565
ข่าวปลอม : ประชาชนที่ไม่ได้ฉีควัคซีนโควิด-19 เข็ม 3 ไม่สามารถพบแพทย์ได้
ตามที่มีกระแสจากชาวเน็ตเกี่ยวกับประเด็นปัญหาของประชาชนที่ไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไม่สามารถเข้าพบแพทย์ได้นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ระบุ กระทรวงสาธารณสุขไม่มีนโยบายข้อกำหนดประชาชนที่ไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไม่สามารถเข้าพบแพทย์ได้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากทางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.moph.go.th หรือโทร 02-590-1000
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/Yj48e
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวปลอม : ดื่มน้ำมะนาวสามารถรักษาอาการเมากัญชาได้
ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์มากมายเกี่ยกับประเด็นการดื่มน้ำมะนาวสามารถรักษาอาการเมากัญชาได้นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การดื่มน้ำมะนาวไม่สามารถแก้อาการเมากัญชาได้ อีกทั้งกัญชาไม่มียาถอนพิษ หรือยาแก้เมา แต่สามารถลดพิษได้โดยการดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/SHXZA
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 17 กรกฎาคม 2565
ข่าวปลอม : ไม่ดื่มน้ำเปล่าหลายปีเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์
ตามที่มีกระแสบนโลกออนไลน์มากมายเกี่ยวกับประเด็นการไม่ดื่มน้ำติดต่อกันหลายปีเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์นั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุ การไม่ดื่มน้ำเปล่าติดต่อกันเป็นเวลานาน และดื่มน้ำอัดลมแทนน้ำเปล่า ซึ่งน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ มีความหวานแล้วแต่เครื่องดื่ม อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ไม่ได้มีความเสี่ยงในการเป็นอัมพฤกษ์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/3ndbM
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวปลอม : ผลิตภัณฑ์ Viagron เพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายได้
จากกระแสบนโลกออนไลน์แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องผลิตภัณฑ์ Viagron เพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายโดยไม่ต้องผ่าตัด และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปัสสาวะเป็นผู้ผลิต เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ Viagron ไม่ปรากฏข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์ และไม่สามารถเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายได้ หากพบมีการโฆษณาชวนเชื่อประเด็นดังกล่าวสามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/qwLOh
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 16 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทรขอเลขที่บัญชี เพื่อโอนเงินให้สูงสุด 2,000 บาท
จากกระแสบนโลกออนไลน์ได้มีข้อมูลการเงินการธนาคารเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โทรสอบถามเลขบัญชี เพื่อโอนเงินให้ 2,000 บาท เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ ธอส. กระทรวงการคลัง ระบุว่าทาง ธอส. ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ของ ธอส. โทรสอบถามเลขบัญชีเพื่อโอนช่วยเหลือให้จำนวน 2,000 บาท ตามที่มีการกล่าวอ้างบนโลกออนไลน์
ธอส. ย้ำ หากสงสัยหรืออยากรู้ข้อมูลที่ถูกต้องสามารถติดต่อได้ที่ เว็บไซต์ www.ghbank.co.th หรือโทร Call Center 02 6459000
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/3ndbM
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวปลอม : โรงพยาบาลพญาไท 2 แจ้งวิธีค้นพบแก้ปัญหาอาการปวดกระดูกและข้อ
ตามที่มีกระแสเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพเรื่องโรงพยาบาลพญาไท 2 พบวิธีแก้ปัญหาอาการปวดกระดูกและข้อ ใช้เวลา 10 วันรักษาที่บ้านโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ โรงพยาบาลพญาไท 2 ระบุว่า มีผู้ไม่หวังดีให้ข้อมูลดังกล่าวที่ไม่เป็นความจริงและใช้ชื่อของทางโรงพยาบาล ทั้งนี้ โรงพยาบาลได้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ไม่หวังดีและปล่อยข่าวเท็จเรียบร้อยแล้ว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/3ndbM
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 15 กรกฎาคม 2565
รู้ไว้ : วิธีสังเกตร้านค้าว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ?่
ตำรวจไซเบอร์มีข้อแนะนำให้แก่นักชอปสินค้าออนไลน์ให้หลีกเลี่ยงเหล่ามิจฉาชีพแฝงตัวมาในช่องทางที่หลากหลาย ไม่เว้นแม้แต่ร้านค้าออนไลน์ ด้วยวิธีการป้องกันตัวเองและสังเกตร้านก่อนชอปปิ้งออนไลน์
✅วิธีสังเกตเบื้องต้น ดังนี้
1. มีเพจ หรือหน้าร้านชัดเจน ตรวจสอบได้ ร้านค้าที่ได้มาตรฐาน ขายสินค้าที่มีคุณภาพ มักมีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อสินค้าอยู่เป็นประจำ และมีจำนวนผู้ติดตามเพจค่อนข้างมาก
2. มีช่องทางการชำระเงินหลากหลาย ให้ลูกค้าเลือกวิธีชำระเงินตามที่ลูกค้าสะดวก เช่น โอนเงินเข้าบัญชี ให้ชำระเงินปลายทาง และการจ่ายผ่านบัตรเครดิต
3. มีเจ้าหน้าที่คอยตอบข้อซักถาม ควรมีเจ้าหน้าที่แอดมินของทางร้านเข้ามาดูแลให้คำตอบโดยเร็ว โดยสามารถให้ข้อมูลอย่างละเอียดกับลูกค้าได้
4. สินค้ามีราคาสมเหตุสมผล ของที่ราคาถูกมาก ๆ จนผิดปกติ แนะนำให้เปรียบเทียบราคาของสินค้าในลักษณะเดียวกันกับร้านอื่น ๆ ด้วย
5. มีนโยบายคืนเงิน คืนสินค้า ร้านที่มีนโยบายคืนเงิน คืนสินค้า ผู้ซื้อควรอ่านรายละเอียดให้เข้าใจ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง
6. มีการรีวิวที่น่าเชื่อถือจากลูกค้าอื่น ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า ลองมองหารีวิวจากลูกค้าคนอื่น ๆ ด้วย ว่ามีการพูดถึงสินค้าอย่างไร รีวิวที่ดีควรมีภาพประกอบ และอธิบายความรู้สึกที่มีต่อสินค้านั้น ๆ
ที่มา : เพจตำรวจไซเบอร์ PCT POLICE
ข่าวปลอม : ผู้หญิงปัสสาวะบ่อยเป็นโรคลูกต่ำระยะแรก
ตามที่มีกระแสข่าวบนโลกออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพเรื่องผู้หญิงท่านใดปัสสาวะบ่อยจะเป็นโรคมดลูกต่ำระยะแรกนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สอบถามข้อเท็จจริงกับ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าการปัสสาวะบ่อยเพียงอย่างแรกยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคมดลูกต่ำระยะแรกตามที่มีการกล่าวอ้าง
โรงพยาบาลราชวิถี ย้ำ ผู้ที่ปัสสาวะบ่อยควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://shorturl.asia/rQO6A
ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 14 กรกฎาคม 2565
เตือนภัย : ขายยาออนไลน์ผิดกฎหมาย ซื้อยาออนไลน์เสี่ยงตาย
สำหรับใครที่กำลังซื้อ หรือขายยาทางอินเทอร์เน็ตควรรู้ว่า การขายยาทางอินเทอร์เน็ตนั้นผิดกฎหมาย ส่วนผู้บริโภคยาที่ซื้อผ่านระบบออนไลน์อาจได้รับยาหมดอายุ ยาเสื่อมคุณภาพ ยาปลอมที่อาจเสี่ยงต่อสุขภาพจนถึงชีวิตได้
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แจ้งเตือนผู้ขายยาทางอินเทอร์เน็ต และผู้บริโภคดังนี้
1. ห้ามขายยาทางอินเทอร์เน็ต ห้ามขายยานอกสถานที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต
2. ห้ามขายทั้งยาแผนปัจจุบัน และยาจากสมุนไพร
3. ไม่ควรซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต เสี่ยงอันตราย อาจได้ยาปลอม
4. ยาเสื่อมคุณภาพ และผลข้างเคียงจากยา อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
5. มีข้อยกเว้นในกรณีที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาดม หรือ ยาธาตุน้ำแดง เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
เตือนภัย : อย. เตือนอย่าซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ผ่านช่องทางออนไลน์
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตือนประชาชนอย่าซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ผ่านช่องทางออนไลน์ทุกช่องทาง และดำเนินการสั่งระงับโฆษณาและดำเนินคดีโฆษณาขายยาผ่านสื่อโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มตลาดร้านค้าออนไลน์ (E-marketplace) เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางที่ใช้ส่งต่อยาผิดกฎหมายให้ผู้บริโภค และจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ที่ลักลอบขายในทุกช่องทาง
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ข่าวเตือนภัยผู้บริโภค วันที่ 13 กรกฎาคม 2565
How To : วิธีตรวจสอบคนที่ทักแชทมาขอยืมเงินเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม
ตำรวจไซเบอร์ (PCT Police) แนะนำวิธีตรวจสอบคนที่ทักแชทมาขอยืมเงินเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม
1. ให้ตรวจสอบโปรไฟล์ หรือประวัติการสนทนา เพราะหากเป็นคนที่เรารู้จัก และเคยพูดคุยด้วยย่อมมีประวัติอยู่ หรือบางครั้งตรวจสอบโปรไฟล์และประวัติสนทนาแล้วไม่แน่ใจ ให้ลองค้นหาชื่อเพื่อนของเราในระบบดูว่ามี Account ซ้ำกันหรือเปล่า เพราะอาจจะมีบางอันเป็นของจริงและบางอันเป็นของปลอมได้
2. ต้องยืนยันตัวตน โดยก่อนที่เราจะโอนเงินให้เพื่อนก็ต้องแน่ใจว่าเป็นเพื่อนเราจริง ด้วยการโทรศัพท์หาผ่านเบอร์โทร หรือการเปิดกล้องดูหน้าตาเพื่อนเสียก่อน ซึ่งหากคนที่ทักมาขอยืมเงินเป็นเพื่อนเราจริง ก็ต้องยินยอมให้ยืนยันตัวตน
3. เบอร์บัญชีธนาคารที่ให้มา ถ้าไม่ได้เป็นบัญชีของเพื่อนเรา หรือคนที่ทักมาหาเรา ก็ยิ่งต้องตรวจสอบ อย่าเพิ่งรีบโอน
😟แต่ถ้าหาเผลอโอนเงินไปให้กับมิจฉาชีพแล้ว ให้เก็บหลักฐานการโอนเงิน รวมถึงข้อความสนทนาดังกล่าวไปแจ้งความกับตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
👉วิธีสังเกต โจรตีเนียน สร้างไลน์ปลอม เฟซบุ๊กปลอม หลอกโอนเงิน ยืมเงินเรา
ที่มา : เพจตำรวจไซเบอร์ PCT POLICE
จริงหรือไม่ ? ขวดพลาสติกเพท (PET) มีสารเคมีปนเปื้อนนำกลับมาใช้ใหม่
จากที่มีข่าวแชร์เกี่ยวกับขวดพลาสติกเพท (PET) หรือโพลีเอธิลีน เทเรฟทาลเลต ที่นิยมนำมาใช้ใส่น้ำดื่มหรือเครื่องดื่มต่าง ๆ นั้น ว่าเป็นขวดที่ใช้ได้ครั้งเดียว และอาจมีสารอะซิทอลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาเป็นอันตรายได้
ความจริงแล้วขวดพลาสติกเพท (PET) ถูกออกแบบมาให้ใช้เพียงครั้งเดียว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงการแพร่กระจายของภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากพลาสติกอยู่แล้ว ดังนั้น ปัญหาของการนำขวดมาใช้ซ้ำ ไม่ใช่เรื่องสารเคมีที่ปนออกมา แต่เป็นความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในขวดน้ำมากกว่า ถ้าล้างไม่ดีพอก่อนที่จะบรรจุซ้ำใหม่
สรุปว่า ขวดพลาสติกเพท (PET) เป็นขวดที่ไม่ควรใช้ซ้ำ ๆ แต่ไม่ใช่เพราะเรื่องสารเคมี แต่เป็นเรื่องเชื้อโรคที่อาจเกิดการปนเปื้อนมากกว่า
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)