โครงการ “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” ได้มากกว่าเสีย

โครงการ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ได้มากกว่าเสีย

วันที่ 1 ต.ค. 2568 รัฐบาลดีเดย์นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ระยะที่ 2 ครอบคลุม 13 เส้นทาง 194 สถานี รวมระยะทาง 279.84 กม.

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คุ้มค่าหรือไม่? เกิดประโยชน์กับใครบ้าง?

รัฐบาลเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ระยะที่ 2 ครอบคลุมรถไฟฟ้า 8 สาย ได้แก่ 1.สายสีแดง 2.สายสีม่วง 3.สายสีน้ำเงิน 4. แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 5.สายสีเขียว 6.สายสีทอง 7.สายสีเหลือง 8.สายสีชมพู

โดยมีเป้าหมาย: เพิ่มผู้ใช้บริการจาก 1.5 ล้าน 2 ล้านคน/เที่ยว/วัน

งบชดเชยที่รัฐต้องจ่ายต่อปี ประมาณการณ์อยู่ที่ 5,500 ล้านบาท

แต่ประโยชน์ที่ได้ (ปีงบ 69) รวมมูลค่า 10,049.73 ล้านบาท

  • 🏙️ ด้านเศรษฐกิจ: ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 7,360.43 ลบ.
  • 👨‍👩‍👧 ด้านสังคม: ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ และเพิ่มคุณภาพชีวิต 2,612.02 ลบ.
  • 🌱 ด้านสิ่งแวดล้อม: ลดการปล่อย CO 77.28 ลบ.
    (ที่มา: กระทรวงคมนาคม)

🫶 ประโยชน์ต่อประชาชน

  • ลดภาระค่าครองชีพ
  • สนับสนุนการใช้ระบบขนส่งมวลชน
  • เข้าถึงบริการขนส่งที่ สะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา
  • ลดอุบัติเหตุ และมลพิษในเมือง

📍ต้นทุน 5,000 ล้านบาท แลกประโยชน์ 10,000 ล้านบาท
รถไฟฟ้า 20 บาท คือ “การลงทุนเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน”


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รถไฟฟ้า 20 บาท ได้มากกว่าเสีย? | กันต์ เอี่ยมอินทรา

ผู้บริโภคเฮ! รถไฟฟ้า 20 บาท แต่กังวลบางกลุ่มถูกจำกัดสิทธิ