สิทธิผู้บริโภคสากล ฉบับสภาผู้บริโภค

คำแนะนำสำหรับผู้เรียนก่อนเริ่มเรียนหลักสูตรระยะสั้น “สิทธิผู้บริโภคสากล ฉบับสภาผู้บริโภค” จำนวน 12 ชั่วโมง

ชื่อหลักสูตร

สิทธิผู้บริโภคสากล ฉบับสภาผู้บริโภค

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สภาผู้บริโภค และวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

รายละเอียดหลักสูตร

ส่งเสริมแนวคิดการคุ้มครองผู้บริโภค การเข้าใจสิทธิผู้บริโภค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคขั้นพื้นฐาน สิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights) หน่วยงานดูแลคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริม พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างเจตคติที่ดีในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค แก่บุคลากรขององค์กรผู้บริโภคทั้งในส่วนภาครัฐ ทางวิชาการและประชาสังคม เพื่อยกระดับมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค รวมถึงการพัฒนาศักยภาพทางด้านการสื่อสารเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อความเข้าใจและเรียนรู้แนวคิดการคุ้มครองผู้บริโภค การเข้าใจสิทธิผู้บริโภค
  2. เพื่อความเข้าใจและเรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคขั้นพื้นฐาน
  3. เพื่อความเข้าใจและเรียนรู้สิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights)
  4. เพื่อรู้จักหน่วยงานดูแลคุ้มครองผู้บริโภค
  5. เพื่อนำความรู้และความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการบริโภค ทั้งของส่วนตนและส่วนรวม

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ประชาชนที่สนใจในสิทธิของผู้บริโภค

กลุ่มเป้าหมายรอง คือ ผู้ที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคจากหน่วยงานภาครัฐ ทางวิชาการ และประชาคมสังคม

ความรู้และทักษะที่ผู้เรียนจะได้รับ

  1. ผู้เรียนมีความเข้าใจและรู้แนวคิดการคุ้มครองผู้บริโภค การเข้าใจสิทธิผู้บริโภค
  2. ผู้เรียนมีความเข้าใจและรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคขั้นพื้นฐาน
  3. ผู้เรียนมีความเข้าใจและรู้สิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights)
  4. ผู้เรียนรู้จักหน่วยงานดูแลคุ้มครองผู้บริโภค
  5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้และความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการบริโภค ทั้งของส่วนตนและส่วนรวม

เครื่องมือการวัดและการประเมินผล

ผู้เรียนจะต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) จำนวน 30 ข้อ

การวัดและการประเมินผลหลักสูตร

  • สามารถเข้าใจแนวคิดการคุ้มครองผู้บริโภค การเข้าใจสิทธิผู้บริโภค 25%
  • สามารถเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคขั้นพื้นฐาน 25%
  • สามารถเข้าใจสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights) 25%
  • สามารถรู้จักหน่วยงานดูแลคุ้มครองผู้บริโภค 25%
  • รวม 100 %

เกณฑ์การประเมินวัดผลผ่านการเรียนหลักสูตรสิทธิผู้บริโภคสากล ฉบับสภาผู้บริโภค

ผู้เรียนจะต้องทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) ต้องตอบถูกต้องเกิน 80 % = 24 ข้อ จึงจะผ่านได้รับเกียรติบัตรผ่านหลักสูตร


รายละเอียดหัวข้อและวิทยากร หลักสูตร : สิทธิผู้บริโภคสากล ฉบับสภาผู้บริโภค

ลำดับเรื่องชื่อหัวข้อชื่อวิทยากร
01ทำไมต้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค-แนวคิดการคุ้มครองผู้บริโภคของไทยโดย บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาผู้บริโภค
02ทำไมต้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค-สิทธิผู้บริโภคไทยโดย สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค
03รู้จักสภาผู้บริโภค-ความแตกต่างระหว่างสภาผู้บริโภค/สคบ.โดย โสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค
04รู้จักสภาผู้บริโภค-เครือข่ายผู้บริโภค (หน่วยงานประจำจังหวัด-เขตพื้นที่)โดย สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค
05การประกันภัยกับการคุ้มครองผู้บริโภคโดย จิณณะ แย้มอ่วม อนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร สภาผู้บริโภค
06กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค-ทำไมต้องแก้กฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคโดย ชัยรัตน์ แสงอรุณ คณะทำงานผลักดันแก้ไข ปรับปรุง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคของสภาผู้บริโภค
07กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค-ผลักดันกฎหมาย Lemon Lawโดย อาจารย์เอมผกา เตชะอภัยคุณ ประธานคณะทำงานจัดทำ(ร่าง) พระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. …. ของสภาผู้บริโภค ใหม่
08พ.ร.บ.อาหาร-ทำไมแก้กฎหมาย พ.ร.บ.อาหารโดย ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร คณะทำงานผลักดันแก้ไข ปรับปรุง พระราชบัญญัติอาหารของสภาผู้บริโภค
09ด้านการเงินและการธนาคาร-สิทธิผู้ใช้บริการทางการเงิน / สัญญากู้ยืมเงินต้องดูอะไรบ้าง / ดอกเบี้ยของสินเชื่อแต่ละประเภทโดย โชติวิทย์ เกิดสนองพงษ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาผู้บริโภค
10ด้านการเงินและการธนาคาร-กฎหมายทวงถามหนี้ + เรื่องการเช่าซื้อรถยนต์ ค่าผิดนัดชำระหนี้ ค่ายึดรถ ตาม พ.ร.บ.ทวงถามหนี้โดย สุระกิจ สิงหะพล เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค
11ด้านขนส่งและยานพาหนะ-สิทธิผู้โดยสารรถโดยสาธารณะโดย คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาผู้บริโภค
12ด้านขนส่งและยานพาหนะ-สิทธิผู้โดยสารที่ใช้เครื่องบินโดย คงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาผู้บริโภค
13ด้านสินค้าและบริการทั่วไป-แพลตฟอร์มออนไลน์ และ มาตรการส่งดี เก็บเงินปลายทาง (COD)โดย ปาลิตา วารีศรี เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค
14ด้านสินค้าและบริการทั่วไป-สินค้ามีมาตรฐาน มอก.โดย นิสรา แก้วสุข เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาผู้บริโภค
15ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย-สิทธิผู้เช่าห้องพัก, ที่อยู่อาศัยโดย พรพรหม โอกุชิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาผู้บริโภค
16ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย-สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรมโดย โสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค
17ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ-การละเมิดสิทธิด้วยการโฆษณาในผลิตภัณฑ์สุขภาพโดย มลฤดี โพธิ์อินทร์ รองหัวหน้าฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาผู้บริโภค
18ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ-ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ-ฉลากโดย มลฤดี โพธิ์อินทร์ รองหัวหน้าฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาผู้บริโภค
19ด้านบริการสุขภาพ-สิทธิผู้บริโภคตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ (UCEP) (ใช้ภายใต้ 3 กองทุนสุขภาพ)โดย สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค
20ด้านบริการสุขภาพ-ถูกเรียกเก็บเงินโดยไม่มีสิทธิ (พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)โดย สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค
21ด้านสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ-คำประกาศสิทธิผู้ใช้บริการโทรคมนาคมโดย ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคม
22ด้านสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ-ประกาศเอาเปรียบผู้บริโภค (SMS ราคาแพ็กเกจ)โดย  ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคม
23ด้านบริการสาธารณะ พลังงาน สิ่งแวดล้อม-สิทธิผู้ใช้ไฟฟ้า/ประปาโดย อิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค
24ด้านบริการสาธารณะ พลังงาน สิ่งแวดล้อม-ข้อปัญหา และให้ความรู้เรื่องโครงสร้างกิจการพลังงาน ไฟฟ้า น้ำมันไม่เป็นธรรมพลังงานโดย อิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค
25การศึกษา-สิทธิผู้เรียนโดย ศุภโชค ปิยะสันติ์ อนุกรรมการด้านการศึกษา สภาผู้บริโภค
26การศึกษา-ติวเตอร์/หลักสูตรไม่ตรงปกโดย ศุภโชค ปิยะสันติ์ อนุกรรมการด้านการศึกษา สภาผู้บริโภค