ข้อเสนอให้ กสทช. ใช้อํานาจไม่อนุญาตการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด (AWN) ในเครือ AIS และบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จํากัด (มหาชน) (3BB)

สถานการณ์

ตามที่ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ประธาน กสทช.) ได้ทําหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(คณะกรรมการ กสทช.) นัดพิเศษ ในวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เพื่อนําวาระการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด (AWN) ในเครือ AIS และบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จํากัด (มหาชน) (3BB) เข้าพิจารณา

ต่อมาได้ปรากฏข่าวการให้ ความเห็นของ ประธาน กสทช. ว่า การดําเนินงานของ กสทช. เรื่องการควบรวมธุรกิจเป็นไปตามประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 และยึดหลักคําพิพากษา ของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่ กสทช. ไม่ควรใช้อํานาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกําหนด หากฝ่าฝืน เท่ากับเป็นการกระทําที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย กสทช. จึงควรยึดคําพิพากษาทําหน้าที่ของ กสทช. ให้ดีที่สุด ด้วยการออกมาตรการป้องกันและกํากับดูแลเพื่อประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด นั้น


การดำเนินงาน

สภาองค์กรของผู้บริโภค ในฐานะเป็นตัวแทนผู้บริโภคที่มีอํานาจคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในทุกด้าน เห็นว่าการให้ความเห็นของประธาน กสทช. ดังกล่าว เป็นการแสดงความเห็นที่ไม่เป็นกลางและชี้นําการ ประชุมที่จะมาถึงให้คณะกรรมการ มีมติ “รับทราบ” เหมือนเช่นกรณีการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) หรือทรู และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่ให้มีการกําหนด มาตรการป้องกันและเงื่อนไขเฉพาะหลังการควบรวมเช่นเดียวกัน กรณีที่ประธาน กสทช. ได้ให้ข่าวเพื่อชี้นําให้คณะกรรมการมีมติรับทราบ โดยอ้างว่า กสทช. ไม่มี อํานาจอนุญาตตามกฎหมายนั้น

จึงถือว่าเป็นการให้ความเห็นก่อนที่จะได้รับข้อเท็จจริงครบถ้วน และรอบด้านจากที่ ประชุมคณะกรรมการ และการวินิจฉัยอํานาจตามกฎหมายในกรณีนี้ ที่เป็นอํานาจของคณะกรรมการ มิใช่อํานาจของ ประธาน กสทช. หากประธานรวบรัดมิให้ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาและลงมติในประเด็นอํานาจการพิจารณา คําขอรวมธุรกิจในครั้งนี้ ย่อมกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้


ข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค

สภาองค์กรของผู้บริโภค ในฐานะตัวแทนของผู้บริโภคทั้งปวงขอใช้สิทธิ์คัดค้านการใช้อํานาจของ ประธานในการรวบรัดพิจารณาทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าเป็นกรณีที่ประธานมีสภาพร้ายแรงอันอาจทํา ให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง และขอให้คณะกรรมการดําเนินการพิจารณาเหตุคัดค้านนี้ตามกฎหมายวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครองอย่างเคร่งครัดต่อไป

อนึ่ง นอกเหนือประเด็นการชี้นําและความไม่เป็นกลางของประธานกสทช. สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ติดตามการบังคับใช้มาตรการป้องกันและเงื่อนไขที่ กสทช. เป็นผู้กําหนดไว้ในการควบรวม ทรู-ดีแทค ในเดือนตุลาคม 2565 พบว่า การบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมีความย่อหย่อนไร้ประสิทธิภาพ ทําให้ผู้ใช้บริการโทรคมนาคมจํานวนมากของบริษัทใหม่ในนาม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ที่เกิดขึ้นหลังการ ควบรวมยังไม่ได้รับความคุ้มครองหรือประโยชน์ตามข้อกําหนดในมาตรการป้องกันและเงื่อนไขเฉพาะแต่อย่างใด เวลาจะล่วงเลยมากว่า 8 เดือน (กว่า 240 วัน โดยประมาณ) หลังบริษัทเปิดดําเนินกิจการ อาทิ ไม่ปรากฏผลชัดเจน ของหนึ่งในมาตรการเฉพาะที่กําหนดให้มีการลดราคาค่าบริการร้อยละ 12 ภายใน 90 วัน อีกทั้งยังพบข้อร้องเรียน ของผู้บริโภคในช่องทางต่าง ๆ ว่า บริษัทได้มีการฉวยโอกาสเปลี่ยนแปลงแพคเกจให้ผู้บริโภคโดยไม่สมัครใจ ทําให้ราคาแพงขึ้นรายละ 100 บาท ซึ่งเป็นการสร้างภาระให้ผู้บริโภคที่ต้องนําเรื่องเข้าร้องเรียนโดยไม่มีความจําเป็น มีการลดคุณภาพระบบอินเทอร์เน็ตลงจนเป็นปัญหาการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ส่งไลน์และข้อมูล และมีปัญหาการย่อหย่อนของคุณภาพบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

ในการนี้ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ทําการศึกษาผลกระทบต่อผู้บริโภคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ ควบรวมระหว่าง AWN ในเครือ AIS และ 3BB แล้วพบว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นหลายประการ อาทิ ผลกระทบต่อผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตบ้านจะแตกต่างกันตามพื้นที่ โดยผู้บริโภคอาจต้องจ่ายแพงขึ้นราว 9.5% – 22.9% ในพื้นที่ อีกทั้งบริษัท แข่งขันทับซ้อนกันและมีคู่แข่งน้อยราย ผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีแนวโน้มพ่วงบริการอินเทอร์เน็ตบ้านกับโทรศัพท์ มือถือมากขึ้น ซึ่งเมื่อคู่แข่งในตลาดมือถือลดลงเหลือแค่ 2 ค่ายใหญ่ที่มีสัดส่วนในตลาดและศักยภาพในการแข่งขันสูง จะทําคู่แข่งรายเล็กอื่น ๆ ในตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านจะถูกลดความสามารถในการแข่งขันลง จึงเป็นที่คาดเดาได้ว่า อนาคตตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านอาจเหลือคู่แข่งขันหลักเพียง 2 รายที่เป็นไปในแนวทางเดียวกับค่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

จากการขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ของมาตรการและเงื่อนไขเฉพาะของ กสทช. หลังการควบ รวมทรู-ดีแทค จึงคาดเดาได้ว่าผลกระทบด้านลบจะเกิดขึ้นหาก กสทช. ละเว้นการใช้อํานาจตนเองในการ “ไม่อนุญาต” แต่ลงมติ “รับทราบ” เปิดให้มีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมในกรณี AWN ในเครือ AIS และ 3BB แล้วจะกําหนดให้ มีการกําหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะ จะทําให้เกิดผลกระทบรุนแรงซ้ํารอยกรณี ทรู-ดีแทค และก่อให้เกิดผลเสียต่อ ผู้บริโภคเกือบทั้งหมดของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาองค์กรของผู้บริโภคขอคัดค้านต่อการลงมติใด ๆ ที่เป็นการ เปิดทางให้มีการควบรวมธุรกิจ AWN ในเครือ AIS และ 3BB สําเร็จ

ด้วยความเคารพต่อเกียรติและศักดิ์ศรีของกรรมการ กสทช. ทุกท่าน สภาองค์กรของผู้บริโภค ขอให้คณะกรรมการ กสทช. พิจารณากรณีดังกล่าว และใช้อํานาจตามที่ได้รับมอบหมายด้วยใจเป็นธรรมโดยไม่อนุญาตให้ถือครองธุรกิจประเภทเดียวกันหรือไม่อนุญาตให้เกิดการควบรวมเพื่อรักษาประโยชน์สูงสุดของสาธารณะ


ความคืบหน้า

10 พฤศจิกายน 2566 – สภาองค์กรของผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรียกร้อง กสทช. ใช้อำนาจตัดสินกรณีควบรวม AIS – 3BB โดยยึดประโยชน์ผู้บริโภคเป็นหลัก

11 พฤศจิกายน 2566 – สภาองค์กรของผู้บริโภค ออกแถลงการณ์ ผิดหวังมติ กสทช. อนุญาตควบรวม AIS – 3BB หลังจากกสทช. มีมติเสียงข้างมากอนุญาตการรวมธุรกิจระหว่าง AWN และ TTTBB พร้อมกำหนดเงื่อนไข/มาตรการเฉพาะ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมการแข่งขันและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม

17 พฤศจิกายน 2566 – สภาองค์กรของผู้บริโภค ออกแถลงการณ์ เตรียมยื่น ป.ป.ช. ให้ถอดถอน กสทช. ทั้งคณะ จากการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่สามารถ กำกับกิจการโทรคมนาคม เกิดการผูกขาด ละเมิดสิทธิผู้บริโภค พร้อมยื่นกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ การคุ้มครองผู้บริโภคสภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา ให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ด้วย