ทำงานวันแรงงาน ต้องได้หยุดชดเชยในวันอื่น หรือได้ค่าแรงเพิ่มไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่า

ทำงานวันแรงงาน ต้องได้หยุดชดเชยในวันอื่น หรือได้ค่าแรงเพิ่มไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่า

ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน ปี 2541 มาตรา 29 นายจ้างต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ดังนั้นแปลว่าลูกจ้างต้องได้หยุดในวันแรงงานแห่งชาติและได้เงินค่าจ้างเท่ากับวันทำงาน

กรณีที่ไม่สามารถหยุดในวันแรงงานได้ เนื่องจากลักษณะงานที่จำเป็นต้องทำติดต่อกัน หากหยุดอาจจะเสียหาย เช่น งานในกิจการโรงแรม ร้านขายอาหาร สถานพยาบาล เป็นต้น ต้องตกลงกับลูกจ้างว่าจะให้หยุดชดเชยวันอื่นแทนหรือจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง โดยต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ และหากต้องทำงานล่วงเวลาต้องจ่ายในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน

หากลูกจ้างโดนไม่ให้หยุดงานในวันแรงงาน สามารถร้องเรียนหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1546 หรือ 1506 กด 3 เว็บไซต์ https://www.labour.go.th เฟซบุ๊ก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือติดต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทั้ง 10 พื้นที่ ทั้งนี้ หากพบว่ามีความผิดจริงนายจ้างจะมีโทษจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

#ผู้บริโภค #สภาองค์กรของผู้บริโภค #สภาผู้บริโภค